เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11.00 น.เครือข่ายญาติผู้เสียหาย องค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน ตัวแทนภาคประชาชน ได้ยื่นหนังสือ ต่อตัวแทนของ ฯพณฯ ประธานรัฐสภา นายชวน หลีกภัย เพื่อ ขอให้เร่งรัดการพิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…

Share

เนื่องในโอกาสวันรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหายสากล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563 นี้เครือข่ายญาติผู้เสียหาย องค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน ตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งเห็นว่า  ความล่าช้าในการตรา พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ….. จะทำให้ประชาชนไม่ได้การคุ้มครองและเจ้าหน้าที่จะยังกระทำผิดต่อไป  จึงกราบเรียน ฯพณฯ ประธานรัฐสภา ได้โปรดกรุณาเร่งรัดให้มีการบรรจุและพิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ….. ดังกล่าวในสมัยประชุมรัฐสภานี้ด้วย

การอุ้มหายมักจะถูกเจ้าหน้าที่ใช้เป็นเครื่องมือในเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความหวาดกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน ไม่เพียงครอบครัวและชุมชนเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการอุ้มหาย โดยเฉพาะสมาชิกผู้หาเลี้ยงครอบครัว จนทำให้เกิดการพังทลายของเศรษฐกิจครอบครัว และเกิดการแปลกแยกต่อสังคม แต่ยังส่งผลต่อสังคมในวงกว้างอีกด้วย  การจัดให้มีกฎหมายเพื่อคุ้มครองป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกทรมานและอุ้มหาย และมีการเยียวยาเหยื่ออาชญากรรมอุ้มหาย จึงเป็นมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วน

ขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ. อนุวัติการที่มีชื่อเดียวกันคือ (ร่าง) พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. …. ทั้งฉบับของรัฐบาลที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563  แต่กลับมีเหตุที่ต้องนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจทานอีกครั้ง ทั้งๆที่นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ร่างกฎหมายของรัฐบาลได้ผ่านการตรวจแก้ไขทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหลายรอบแล้วก็ตาม 

เครือข่ายญาติผู้เสียหายจากการทรมานและอุ้มหาย องค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน ตัวแทนภาคประชาชนทราบว่า ทางคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรได้นำ (ร่าง) พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ….. (ฉบับประชาชน) มาปรับปรุงรายมาตราสำเร็จเป็นร่างกฎหมายสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2562   และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองต่างๆ ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอต่อ ฯพณฯ ประธานรัฐสภาไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นพรรคการเมืองบางพรรค โดยสมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดเช่น พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาชาติ ก็ได้ยื่นร่างกฎหมายชื่อเดียวกันเข้าสู่การพิจาณาของรัฐสภาด้วยเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นฉันทามติของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนหนึ่งที่ต้องการให้ประเทศไทยมีกฎหมาย ที่ยืนยันสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ที่ทุกคนปลอดพ้นจากการทรมานและอุ้มหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ถือว่าการกระทำทรมานหรืออุ้มหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอาชญากรรม โดยจะกระทำต่อบุคคลใดๆมิได้ ไม่ว่าโดยข้ออ้าง เหตุผลหรือภายใต้สถานการณ์ใดๆ เช่นภาวะสงคราม กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งการเลือกปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ที่ห้ามผลักดันบุคคลใดๆออกออกราชอาณาจักรหากบุคคลนั้นอาจต้องเผชิญกับการทรมาน ที่ผู้บังคับบัญชาที่ละเลยหรือรู้เห็นเป็นใจจะต้องร่วมรับผิดต่อการกระทำผิดของผู้ใต้บังคับบัญชา ที่กำหนดมาตรการป้องกันการทรมานและอุ้มหายโดยให้มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ ให้สิทธิในการพบญาติ พบและปรึกษาทนายความ ที่ให้ศาลพลเรือนเท่านั้นมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการทรมานและการอุ้มหาย มีอำนาจตรวจสอบและสั่งระงับการกระทำผิด รวมทั้งเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายเป็นต้น

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.  2553 (ค.ศ. 2010) สมัชชาสหประชาชาติ โดยข้อมติที่ 65/209  ได้แสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อรายงานการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ได้แก่การบังคับบุคคลให้สูญหาย    (อุ้มหาย)  ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆของโลก ประชาชนที่ถูกจับกุม คุมขัง ลักพาตัว ข่มขู่คุกคามโดยมิชอบ การข่มขู่พยานคดีอุ้มหายหรือญาติผู้ถูกอุ้มหาย มีตัวเลขเพิ่มขึ้นเช่นกัน รวมทั้งการปฏิบัติต่อประชาชนอย่างโหดร้ายและไร้มนุษยธรรมด้วย  สมัชชาสหประชาชาติ จึงได้มีมติรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CED) และได้ประกาศให้วันที่ 30 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหายสากล

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พ.ศ. 2527 ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2550 และได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ.2549 ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2555 รัฐบาลไทยหลายสมัย ได้จัดทำร่างกฎหมายอนุวัติการเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาทั้งสองฉบับนั้น แต่ด้วยเหตุผลนานัปการ เวลาผ่านไปเกือบสิบปี จนบัดนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายอนุวัติการดังกล่าว แม้ว่าจะมีการเรียกร้องและผลักดัน ทั้งจากในประเทศและนานาชาติให้ประเทศไทยดำเนินการโดยไม่ชักช้าตลอดมาก็ตาม

Press Release

Today 27 August 2020 a network of relatives of victims of enforced disappearances and torture, human rights alliances and representatives from the public sector submitted a letter urging a prompt reading of the Draft Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance B.E. … to the Speaker of the House of Representatives, the Honorable Chuan Leekpai.

To mark the International Day of the Disappeared on 30 August 2020, a network of relatives of victims of enforced disappearances and torture, human rights alliances and representatives from the public sector urge for the cessation of further delay in promulgating the Draft Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance. Any further delays will deprive the public of needed protection and will enable government officials to continue committing the offence. They ask the House Speaker to promptly read the Draft Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance during the current house session within Sep 2020.

On 21 December 2010, the UN General Assembly adopted Resolution no. 65/209 because they were concerned over the increase in enforced or involuntary disappearances in various regions of the world and the increase in reports concerning harassment, ill-treatment and intimidation of witnesses or relatives of those who have disappeared. This includes arrests, detentions and abductions when these acts contribute to enforced disappearances. The UN General Assembly therefore adopted the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) and declared 30 August: the International Day of the Disappeared. 

Enforced disappearances have often been strategically used by the authorities to spread fear within the public. They do not just cause suffering to the families and communities directly affected by the enforced disappearances,  but also have widespread impacts on society. Particularly if a victim is the breadwinner of their family, the economic hardship and social isolation the dependents face can be debilitating. It is therefore crucial to ensure the promulgation of a law that prevents enforced disappearances and torture while ensuring the victims have access to remedies.

Thailand acceded to the 1984 UN Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (UNCAT) on 2 October 2007 and Thailand signed the 2006 International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) on 9 January 2012. Successive governments have prepared a draft law to ensure domestic compliance with international obligations pursuant to the two Conventions. But for various reasons, nearly a decade has passed and Thailand has yet to pass a domestic law despite domestic and international organizations urging Thailand to adopt a law without delay. 

To ensure domestic law is in compliance with the Conventions, the Draft Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance B.E. was reviewed by the government. It was proposed to be read to the House of Representative by the cabinet on 23 June 2020. It was then sent back for further vetting by the Office of the Council of State. Since 2012, the draft law prepared by the government has been subjected to reviews and revisions by various concerned authorities and the Office of the Council of State, as well as public hearings. 

A network of relatives of victims of enforced disappearances and torture, human rights alliances and representatives from the public sector learned that the House Committee on Legal Affairs, Justice and Human Rights completed the review and revisions of the Draft Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance B.E. ….. (CSO version) on 26 June 2019. The Draft Act also obtained support signatures from MPs of various political parties and was proposed to the House Speaker. MPs of various political parties, including the Democrat Party and the Prachachart Party, signed their names to support the reading of the Bill in the Parliament.  This demonstrates a consensus among MPs that want Thailand to adopt a law affirming an individual’s rights and freedoms to body and life. These MPs want to ensure everyone is free from enforced disappearances and torture, which are sometimes committed by government officials, and they want to criminalize enforced disappearances and torture committed by state officials. The Draft Act will also ensure that the perpetration of such acts will be completely prohibited without exception, including political reasons or circumstances such as war, Martial Law or the declaration of a state of emergency. In addition, it will prohibit any refoulement as a result of discrimination, including the deportation of a person that could expose them to torture, even if approved by the negligence or acquiescence of superior officials.

Measures will be put in place to prevent enforced disappearances and torture. This includes a requirement to record instances where a person is deprived of liberty, to allow said person to access their relatives, and to permit said person to consult with legal counsels. It will also ensure that only civilian courts have the jurisdiction to hear cases concerning enforced disappearances and torture. The Courts shall be vested with the power to review and halt the commission of the offence, as well as the power to ensure preliminary remedies are offered to the injured parties. 

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading