(บางส่วน) รายงานคู่ขนานข้อสรุปเชิงสังเกต เสนอต่อคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(ICERD Committee, United Nation to UN-CERD)
เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมด้านกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง
เรียบเรียงโดย วิวัฒน์ ตามี่
17/07/2020
เฉพาะย่อหน้าที่เกี่ยวกับ สิทธิของเด็กไร้สัญชาติ
19. นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยและสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
สามารถยื่นขอสัญชาติไทยได้ ตามมติ.ครม. 7 ธันวาคม 2559 และรัฐยังได้แก้ไขปรับปรุง มาตรา 19/2 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.รบ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่3) พ.ศ.2562 เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไร้สัญชาติที่ถูกบิดามารดาทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดามารดา ไร้รากเหง้าหรือเด็กที่เคยแจ้งเกิดแต่นายทะเบียนไม่อาจดำเนินการให้ได้ รวมถึงบุคคลที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติ ไม่สามารถแจ้งและขอหนังสือรับรองการเกิด ท.ร.20/1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย
ยังมีนโยบายให้เด็กไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยจากบิดามารดาหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายและเด็กนักเรียนที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G สามารถยื่นขอรับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตามมาตรา 38 วรรคสอง แห่งพ.รบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2552
20. เมื่อเดือนธันวาคม 2562 สำนักบริหารการทะเบียน เสนอข้อมูลว่ายังมีผู้ที่ยังไม่มีสัญชาติไทยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
กว่า 727,926 คน ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้นับรวมเด็กไร้สัญชาติที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนกำลังเรียนหนังสืออยู่ในสถานศึกษาของรัฐที่มีอักษรนำหน้าเลขประจำตัว 13 หลักอักษร G,P,O รวม 90,640 คน (ข้อมูล ณ พ.ศ.2559,กระทรวงศึกษาธิการ) และไม่รวมรวมจำนวนตัวเลขเด็กนักเรียนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในศูนย์การเรียนเอกชนและเด็กไร้สัญชาติที่เกิดจากพ่อแม่มีสถานะหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายยังไม่ถูกสำรวจ(ไม่ทราบมีจำนวนเท่าใด)
21. จำนวนคนไร้สัญชาติกว่า 727,926 คนไม่ได้ลดลงจากข้อมูลเมื่อปี 2545 แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นจริงได้ กล่าวคือ กรณีรัฐการเปิดโอกาสให้เด็กไร้สัญชาติที่มีสิทธิขอสัญชาติตามมาตรา 7 ทวิวรรค 2 พ.รบ.สัญชาติ พ.ศ.2551 และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 ธันวาคม 2559 นั้น มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญคือ เงื่อนไขแรกเด็กไร้สัญชาติที่จะมีสิทธิขอสัญชาติ ต้องเกิดในประเทศไทยและอาศัยอยู่ต่อเนื่องในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี และต้องเรียนให้จบปริญญาตรีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะแค่เรียนให้จบระดับมัธยมศึกษาก็แทบเป็นไปไม่ได้ด้วยเงื่อนไขครอบครัวยากจนเพราะพ่อแม่มีสถานะหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายจึงไม่สามารถประกอบอาชีพที่ดีมีรายได้มากพอจะจ่ายค่าเทอม อุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้านราคาแพง ค่าอาหาร ฯลฯ ที่ผ่านมามีเด็กไร้สัญชาติเรียนจบในระดับปริญญาตรีและขอพิสูจน์สัญชาติไม่เกิน 1-2 %เท่านั้น
22. ตามนโยบายที่จะให้เด็กไร้สัญชาติเข้ารับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตาม มาตรา 38 วรรค 2 แห่ง พ.รบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 นั้น เงื่อนไขสำคัญ ขั้นแรกจะต้องไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมข้อหาหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายระหว่างเดินทางไปอำเภอเพื่อขอรับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎร และการสำรวจนี้เพื่อให้มีตัวตนในทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่ไม่ได้ให้การคุ้มครองเรื่องสิทธิและพัฒนาสิทธิทางสถานะหรือไม่สามารถขอพิสูจน์สถานะบุคคลหรือสัญชาติได้ นั่นก็คือรัฐจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์เพราะมีรายละเอียดข้อมูลบุคคลเหล่านี้ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองอยู่ที่ไหนบ้างและสามารถดำเนินคดีได้ตลอด
23. รัฐบาลไทยยังไม่ออกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขยื่นขอพิสูจน์สัญชาติ ยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาออกหลักเกณฑ์การพิสูจน์สัญชาติให้แก่ชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) จำนวนกว่า 152,869 คน (ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติระหว่างปี พ.ศ.2549-2550,2552) จึงไม่มีสิทธิยื่นขอพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคล ทำให้กลายเป็นคนไร้สัญชาติถาวร ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิ เลือกปฏิบัติและกีดกันไม่เปิดโอกาสให้เข้าถึงสถานะบุคคลและสัญชาติไทยแก่บุคคลกลุ่มนี้
24.ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย ที่ถือบัตรประตัวสีฟ้า สีเขียวขอบแดง ที่ได้รับการสำรวจระหว่างปี 2533,2542 มีเลขประจำตัวเลข 6,7 นำหน้าเลขประจำตัว 13 หลัก (6-xxxx-xxxxx-xx-x) เกิด/อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 30-40 ปี ประสบความยากลำบากในการขอพิสูจน์สถานะบุคคล และไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากผู้ที่มีอำนาจอนุมัติเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว และไม่ยอมกระจายอำนาจลงมายังระดับท้องถิ่นหรือผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดดำเนินการแทนตามมาตรา 17 แห่ง พ.รบ.คนเข้าเมือง ปี พ.ศ.2522 นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกิดจากขั้นตอน/กระบวนการยื่นเอกสารคำร้องขอพิสูจน์สถานะที่ยุ่งยาก 9 ขั้นตอนใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี และนานสุด 10 ปีในการพิจารณาและอนุมัติ ซึ่งเป็นการเลือดปฏิบัติ แบ่งแยกและกีดกันไม่ให้มีโอกาสได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลและสิทธิขั้นพื้นฐาน
ข้อเสนอแนะ
25.ขอให้รัฐบาลไทยจัดปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์และคุณสมบัติการขอพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคลสำหรับเด็กที่เกิดใน
ประเทศไทยและกำลังเรียนหนังสือ โดยให้สิทธิแก่นักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรือในระดับอาชีวศึกษามีสิทธิขอสัญชาติและสถานะบุคคลตามมติ ครม.7 ธันวาคม พ.ศ.2559 ได้
26. ขอให้เด็กไร้สัญชาติและเด็กนักเรียนรหัส G ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตาม มาตรา 38 วรรค 2 แห่ง พ.
รบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาสถานะบุคคล
27. ขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการออกหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคล ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์และชน
กลุ่มน้อยไร้สัญชาติ ที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) โดยเร็ว โดยมอบหมายให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ดำเนินการ
28. ให้นายกรัฐมนตรีกระจายอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจและพิจารณาอนุมัติการให้สถานะต่างด้าวถาวร
หรือเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยแก่กลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยที่มีเลขประจำตัวเลข 6,7 นำหน้าเลขประจำตัว 13 หลัก (6-xxxx-xxxxx-xx-x) และลดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการยื่นเอกสารคำร้องและการพิจารณาอนุมัติการให้สถานะบุคคล
29. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างยั่งยืน รัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย ควรร่วมมือกันอย่างจริงในการจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากรที่มีการอพยพระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ
ข้อเสนอแนะ
25.ขอให้รัฐบาลไทยจัดปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์และคุณสมบัติการขอพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคลสำหรับเด็กที่เกิดใน
ประเทศไทยและกำลังเรียนหนังสือ โดยให้สิทธิแก่นักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรือในระดับอาชีวศึกษามีสิทธิขอสัญชาติและสถานะบุคคลตามมติ ครม.7 ธันวาคม พ.ศ.2559 ได้
26. ขอให้เด็กไร้สัญชาติและเด็กนักเรียนรหัส G ที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรตาม มาตรา 38 วรรค 2 แห่ง พ.
รบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาสถานะบุคคล
27. ขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการออกหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคล ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์และชน
กลุ่มน้อยไร้สัญชาติ ที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x) โดยเร็ว โดยมอบหมายให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ดำเนินการ
28. ให้นายกรัฐมนตรีกระจายอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจและพิจารณาอนุมัติการให้สถานะต่างด้าวถาวร
หรือเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยแก่กลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยที่มีเลขประจำตัวเลข 6,7 นำหน้าเลขประจำตัว 13 หลัก (6-xxxx-xxxxx-xx-x) และลดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการยื่นเอกสารคำร้องและการพิจารณาอนุมัติการให้สถานะบุคคล
29. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติอย่างยั่งยืน รัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย ควรร่วมมือกันอย่างจริงในการจัดทำระบบฐานข้อมูลประชากรที่มีการอพยพระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ
ข้อ 5 (e) สิทธิพลเมืองอื่น ๆ ข้อ iv.สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข
- ตามที่ประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศมาตั้งแต่ปี 2545 ภายใต้ระบบหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า(Universal Coverage-UC) ไม่เพียงทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังทำให้ประเทศไทยถูกยกเป็นต้นแบบประเทศกำลังพัฒนาที่ทำเรื่องนี้จนสำเร็จ มีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีจากตัวชี้วัดด้านต่าง ๆแต่ สป.สช.ปฏิเสธและถอดสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขของชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ไร้สัญชาติออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( UC) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ด้วยเหตุผลเพียงแค่ไม่มีสัญชาติไทย ทำให้ไม่ได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐจนถึงปี พ.ศ.2553
- ชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยร่วมกับเครือข่ายหมอชายแดน ได้พยายามเรียกร้องสิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสา
ธารณสุให้แก่กลุ่มชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์คนไร้สัญชาติจากรัฐบาลโดยใช้ระยะเวลากว่า 8 ปีในการขับเคลื่อนเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนด้านสุขภาพ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 เพื่อให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ จำนวน 457,409คน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ครั้งที่2 (เพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 เพื่อให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่บุคคลไร้สัญชาติที่มีเลขประจำตัว 0(89) (0-xxxx-89xxx-xx-x)และรวมถึงบุตรเพิ่มเติมอีกจำนวน 208,631 คน
- มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 มีนาคม 2553 และ20 เมษายน 2558 ไม่ได้ให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็ก
นักเรียนไร้สัญชาติในสถานศึกษาที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยอักษร G และนักเรียนในโรงเรียนรัฐสังกัดอื่น รวมถึงเด็กนักเรียนในศูนย์การเรียนต่าง ๆ กว่า 78,897 คน[1] ด้วยเหตุผลว่าเด็กเหล่านี้ขาดหลักฐาน ไม่ทราบจำนวน ข้อมูลซ้ำซ้อน จึงมอบหมายได้ให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันความถูกต้อง รับรองการขึ้นทะเบียน แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
34. ปัจจุบันผ่านมาแล้วกว่า 5 ปี รัฐบาลไทยยังไม่ได้ให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนไร้
สัญชาติ(รหัส G) และไม่มีการกำหนดระยะเวลาการให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ด้านสาธารณสุขแก่เด็กเมื่อใด ทั้งที่เด็กนักเรียนดังกล่าวได้ผ่านการสำรวจคัดกรองข้อมูลเสร็จสิ้นแล้วจากกระทรวงศึกษาธิการและได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรและได้รับการกำหนดเลขประจำตัว 13 หลักจากกระทรวงมหาดไทยแล้วจำนวนหนึ่ง จึงเข้าคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 แต่ทำไมยังไม่คืนสิทธิ(ให้สิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนเหล่านี้
35. เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิสุขภาพกลุ่มคนไร้สัญชาติ ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยสิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขแก่เด็กนักเรียนไร้สัญชาติเหล่านี้แค่ระหว่างเรียนหนังสือเท่านั้น ดังนั้นสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสารธารณสุขที่จะได้รับดังกล่าวจะหมดไปทันทีเมื่อเด็กนักเรียนสิ้นสุดสถานภาพความเป็นนักเรียนไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น เมื่อสำเร็จการศึกษา สิ้นสภาพนักเรียน เป็นต้น แต่รัฐบาลไทยก็ยังไม่ยอมอนุมัติสิทธิด้านสุขแก่เด็กนักเรียนเหล่านี้
36. กองทุนให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 เป็นนโยบายฝ่ายบริหาร ใช้งบประมาณจากงบฉุกเฉินสำรองจ่ายของรัฐบาล ไม่ได้มีสถานะกองทุนในทางกฎหมาย จึงไม่มีมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองสิทธิและการเยียวยากรณีเกิดความผิดพลาด เสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ(โรงพยาบาล)เหมือนกับกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(UC) พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 ที่ให้บริการช่วยเหลือกับคนสัญชาติไทยทุกคนกรณีได้รับความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลจากหน่วยบริการ ซึ่งถือเป็นเลือกปฏิบัติในเรื่องความเท่าเทียม หรือใช้สองมาตรฐานกับประชาชนคนไทยที่รอพิสูจน์สัญชาติและสถานะบุคคล
ข้อเสนอแนะ
- เพื่อให้สิทธิความเท่าเทียมและขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติอย่างแท้จริงภายใต้ภายใต้ระบบหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า(Universal Coverage-UC) ให้รัฐบาลไทยอนุมัติให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขตามที่กำหนดไว้ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูและการควบคุมป้องกันโรคกับเด็กนักเรียนไร้สัญชาติที่กำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษา(เด็กนักเรียนรหัส G)และเด็กนักเรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 มาตรา 4 เช่น ศูนย์การเรียนขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับการจดทะเบียน ตามพ.รบ.การศึกษา ดังกล่าว
- ควรให้บุคคลที่เป็นกลุ่มคนไทยที่กำลังรอพิสูจน์สถานะบุคคลและสัญชาติ หรือคนที่มีสิทธิอื่นที่เคยได้รับสิทธิใน
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(UC) ได้แก่ คนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข ตามมติครม.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นการเฉพาะ โดยการเพิ่มเติมในบทบัญญัติวรรคสุดท้ายของมาตรา 5 พ.รบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
[1] จำนวนเด็กนักเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วยเด็กนักเรียนที่มีรหัส G รหัส P และรหัส O
