[:th]CrCF Logo[:]

[:en]ใบแจ้งข่าว: สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (mustfeth) มีกำหนดการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนกรณีการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้[:th]ใบแจ้งข่าว: สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (mustfeth) มีกำหนดการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนกรณีการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้[:]

Share

[:en]

ภาพตรวจ DNA จากสำนักข่าวอิศรา

ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เวลา 12.00 น. ตัวแทนนักศึกษาจากสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (mustfeth) มีกำหนดการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติและต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในกรณีการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2563  นี้

เนื่องจากการคัดเลือกทหารเกณฑ์ในปี 2562 ได้มีการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมอย่างเป็นระบบจากบุคคลซึ่งเข้ารับการตรวจคัดเลือกเข้ารับราชการทหารประจำปี เฉพาะในสามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ นาทวี จะนะ สะบ้าย้อย และเทพา

ศูนย์สันติสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า เมื่อเดือนเมษายน ปี2562 นั้น ชี้แจงว่ามีการเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) เหล่านี้ในฐานะข้อมูลความมั่นคง และจะมีการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการสอบสวนกรณีการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 

โดยในขณะตรวจคัดเลือกทหารเกณฑ์เจ้าหน้าที่ที่ควบคุม ไม่ได้แจ้งให้ประชาชนที่รับการตรวจคัดเลือกทหารเกณฑ์ทราบว่าจะมีการนำตัวอย่างสารพันธุกรรมเหล่านี้ไปใช้อย่างไร ไม่ได้แจ้งว่าหน่วยงานหรือบุคคลใดจะเป็นผู้เก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมเหล่านี้ รวมทั้งบุคคลใดจะสามารถเข้าถึงตัวอย่างสารพันธุกรรมของตนได้บ้าง จึงทำให้ประชาชนที่เข้ารับการเกณฑ์ทหารในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมาแสดงความกังวลต่อมาตรการการป้องกันการนำตัวอย่างสารพันธุกรรมไปใช้โดยมิชอบ เช่น การนำหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เช่นนี้ไปใช้โดยมิชอบ เพื่อลงโทษบุคคลทางอาญา เป็นต้น และบางส่วนแสดงความจำนงต้องการให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลนี้

แม้ประชาชนจะมีข้อสงสัยและต้องการรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) แต่ส่วนใหญ่ไม่ตระหนักว่าตนเองมีสิทธิที่จะปฏิเสธการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม รวมทั้งการไม่ได้รับการอธิบายข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง และจากสถานการณ์ที่จำเป็นและความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องปกติของการเกณฑ์ทหารที่ต้องมีการเก็บสารพันธุกรรมร่วมด้วย จึงส่งผลให้ผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารยินยอมลงชื่อในใบแสดงความยินยอม โดยไม่ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารบางส่วนไม่กล้าปฏิเสธและต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เนื่องจากความเข้าใจผิดว่า การเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมเช่นนี้เป็นกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย หรืออาจเพราะกลัวเจ้าหน้าที่เท่านั้น

การตรวจเก็บดีเอ็นเอในช่วงการเกณฑ์ทหารโดยเลือกพื้นที่เฉพาะแค่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น ถือเป็นการเลือกตรวจเก็บที่มีลักษณะของการเลือกปฎิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชน ทางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (mustfeth) ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มนักศึกษามุสลิมที่มีสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีข้อกังวลว่าอาจมีการตรวจเก็บดีเอ็นเออีกครั้งในช่วงการเกณฑ์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2563  นี้ จึงร้องเรียนกรณีดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติ และคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อช่วยดำเนินการให้มีการยุติการตรวจเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในขั้นตอนการเกณฑ์ทหารนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

โดยองค์กรและบุคคลที่สนับสนุนการยกเลิกการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหารจะร่วมกันยื่นข้อร้องเรียนดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติต่อไป

องค์กรและบุคคลร่วมสนับสนุนการยกเลิกการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหาร มีรายนามดังต่อนี้

  1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation)
  2. กลุ่มด้วยใจ
  3. เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP)
  4. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ (JASAD)
  5. เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.)
  6. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวนุรอาซีกีน  ยูโซ๊ะ เจ้าหน้าที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โทร 0622768301

ดาวน์โหลดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมที่เลือกปฏิบัติและไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดขึ้นกับชายไทยในภาคใต้ ในระหว่างการตรวจคัดเลือกเข้ารับราชการทหารที่นี่

[:th]

ภาพตรวจ DNA จากสำนักข่าวอิศรา

ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เวลา 12.00 น. ตัวแทนนักศึกษาจากสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (mustfeth) มีกำหนดการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติและต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในกรณีการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2563  นี้

เนื่องจากการคัดเลือกทหารเกณฑ์ในปี 2562 ได้มีการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมอย่างเป็นระบบจากบุคคลซึ่งเข้ารับการตรวจคัดเลือกเข้ารับราชการทหารประจำปี เฉพาะในสามจังหวัดชายแดนใต้และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ นาทวี จะนะ สะบ้าย้อย และเทพา

ศูนย์สันติสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า เมื่อเดือนเมษายน ปี2562 นั้น ชี้แจงว่ามีการเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) เหล่านี้ในฐานะข้อมูลความมั่นคง และจะมีการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการสอบสวนกรณีการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 

โดยในขณะตรวจคัดเลือกทหารเกณฑ์เจ้าหน้าที่ที่ควบคุม ไม่ได้แจ้งให้ประชาชนที่รับการตรวจคัดเลือกทหารเกณฑ์ทราบว่าจะมีการนำตัวอย่างสารพันธุกรรมเหล่านี้ไปใช้อย่างไร ไม่ได้แจ้งว่าหน่วยงานหรือบุคคลใดจะเป็นผู้เก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมเหล่านี้ รวมทั้งบุคคลใดจะสามารถเข้าถึงตัวอย่างสารพันธุกรรมของตนได้บ้าง จึงทำให้ประชาชนที่เข้ารับการเกณฑ์ทหารในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมาแสดงความกังวลต่อมาตรการการป้องกันการนำตัวอย่างสารพันธุกรรมไปใช้โดยมิชอบ เช่น การนำหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เช่นนี้ไปใช้โดยมิชอบ เพื่อลงโทษบุคคลทางอาญา เป็นต้น และบางส่วนแสดงความจำนงต้องการให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลนี้

แม้ประชาชนจะมีข้อสงสัยและต้องการรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) แต่ส่วนใหญ่ไม่ตระหนักว่าตนเองมีสิทธิที่จะปฏิเสธการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม รวมทั้งการไม่ได้รับการอธิบายข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง และจากสถานการณ์ที่จำเป็นและความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องปกติของการเกณฑ์ทหารที่ต้องมีการเก็บสารพันธุกรรมร่วมด้วย จึงส่งผลให้ผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารยินยอมลงชื่อในใบแสดงความยินยอม โดยไม่ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารบางส่วนไม่กล้าปฏิเสธและต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เนื่องจากความเข้าใจผิดว่า การเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมเช่นนี้เป็นกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย หรืออาจเพราะกลัวเจ้าหน้าที่เท่านั้น

การตรวจเก็บดีเอ็นเอในช่วงการเกณฑ์ทหารโดยเลือกพื้นที่เฉพาะแค่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลานั้น ถือเป็นการเลือกตรวจเก็บที่มีลักษณะของการเลือกปฎิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชน ทางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (mustfeth) ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มนักศึกษามุสลิมที่มีสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีข้อกังวลว่าอาจมีการตรวจเก็บดีเอ็นเออีกครั้งในช่วงการเกณฑ์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2563  นี้ จึงร้องเรียนกรณีดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติ และคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพื่อช่วยดำเนินการให้มีการยุติการตรวจเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในขั้นตอนการเกณฑ์ทหารนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

โดยองค์กรและบุคคลที่สนับสนุนการยกเลิกการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหารจะร่วมกันยื่นข้อร้องเรียนดังกล่าวต่อองค์การสหประชาชาติต่อไป

องค์กรและบุคคลร่วมสนับสนุนการยกเลิกการตรวจเก็บดีเอ็นเอในการเกณฑ์ทหาร มีรายนามดังต่อนี้

  1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation)
  2. กลุ่มด้วยใจ
  3. เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP)
  4. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ (JASAD)
  5. เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.)
  6. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวนุรอาซีกีน  ยูโซ๊ะ เจ้าหน้าที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โทร 0622768301

ดาวน์โหลดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมที่เลือกปฏิบัติและไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดขึ้นกับชายไทยในภาคใต้ ในระหว่างการตรวจคัดเลือกเข้ารับราชการทหารที่นี่

[:]

TAG

RELATED ARTICLES