จากหนังสือชีวิต มุมมอง ความคิด ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
ผู้เขียน: กุลธิดา สามะพุทธิ
สำนักพิมพ์: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
หนังสือมือหนึ่งสภาพดี
ราคาปกติ 400 บาท ลดเหลือ 360 บาท
(ราคานี้ยังไม่รวมค่าจัดส่ง)

ภาคผนวก
ประวัติชีวิตและการทำงานของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
2490
● เกิดวันที่ 8 ตุลาคม 2490 ที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรชายของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี และ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ มีพี่สาว 1 คน คือ วาณี หงษ์ประภาส ใช้ชีวิตวัยเด็กที่บ้านพักทหาร ภายในกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ย่านเกียกกาย เขตดุสิต ในช่วงที่ชาติชาย ชุณหะวัณ บิดา ซึ่งขณะนั้นมียศพันตรี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
● เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ
● เข้าเรียนชั้นประถมศึกษา 1-4 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
2500
● 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ส่งผลให้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ คนสนิทจอมพล ป.และอธิบดีกรมตำรวจต้องเดินทางออกนอกประเทศ รัฐประหารครั้งนี้ส่งผลกระทบถึงครอบครัวชุณหะวัณด้วย เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ไม่ไว้วางใจชาติชายซึ่งเป็นน้องเขยของ พล.ต.อ.เผ่าและยังเป็นผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ คุมกองทหารม้าที่มีประสิทธิภาพสูง จึงมีคำสั่งให้ชาติชายไปเป็นอุปทูตไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศอาร์เจนตินา ไกรศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นอายุ 10 ขวบจึงออกเดินทางพร้อมพ่อแม่และพี่สาวไปยังกรุงบัวโนสไอเรส
● เริ่มเรียนภาษาสเปนและเข้าเรียนชั้นประถมที่อาร์เจนตินา
2505
● เข้าเรียนโรงเรียนประจำ Wilbraham Academy ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา จนจบเกรด 12
2510
● เข้าเรียนด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัย Northeastern University ในเมืองบอสตัน แต่พบว่าไม่ใช่สาขาที่สนใจอย่างแท้จริงจึงเลิกเรียนและออกมาใช้ชีวิตอิสระ-เดินทางท่องเที่ยว ช่วงหนึ่งเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์อยู่ประมาณหนึ่งปี
2513
● เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย The American College in Paris[1] ประเทศฝรั่งเศส และศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองผ่านการสนทนาและใช้ชีวิตกับเพื่อนนักศึกษาในกรุงปารีส ใช้ชีวิตอยู่ในปารีสประมาณ 4 ปี
● โอนย้ายหน่วยกิตจาก American College ไปเรียนต่อที่ George Washington University สหรัฐอเมริกา
2517
● จบปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก George Washington University สหรัฐอเมริกา
2520
● จบปริญญาโทศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจาก School of Oriental and African Studies (SOAS) University of London ประเทศอังกฤษ
2522-2532
● อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอนวิชาการเมืองการปกครองของสหภาพโซเวียต, รัฐศาสตร์เบื้องต้น, ประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมืองในประเทศเอเชียอาคเนย์ , การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน, การเมืองการปกครองของประเทศเอเชียอาคเนย์ และการเมืองการปกครองของไทย
● อาจารย์พิเศษสอนวิชาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
● กองบรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2532-2534
● คณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หรือที่รู้จักกันว่า “ทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก”
2539-2542
● ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.พิจิตต รัตตกุล ด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม
● เลขาธิการมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีบทบาทในการผลักดันให้มีการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
2543-2549
● สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครราชสีมา จากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาวันที่ 4 มีนาคม 2543
● ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา
● ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อเมียนมา (Asean Inter-Parliamentary Myanmar Caucus: AIPMC)
● กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (Office of Knowledge Management and Development: OKMD)
● คณะกรรมการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
● กรรมการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียงและทรัพย์สินของประชาชน (คตน.) ซึ่งตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ไดรื้อคดีฆ่าตัดตอน 2,500 ศพในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาตรวจสอบใหม่ทั้งหมด
2551-2554
● รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
● สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23 เลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550)
● ประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
● ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ด้านการจัดระเบียบเมือง แต่ดำรงตำแหน่งเพียงประมาณ 1 ปี ก็ออกจากคณะที่ปรึกษา
● ประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อเมียนมา (AIPMC) ซึ่งต่อมาองค์กรนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Asean Parliamentarians for Human Rights (APHR) ในปี 2556 พร้อมกับปรับบทบาทและภารกิจให้ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทั่วภูมิภาคอาเซียน ไม่ได้จำกัดอยู่ในเมียนมา โดยไกรศักดิ์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง APHR
ปัจจุบัน
● ประธานมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
● ประธานมูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland) องค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าและค้ามนุษย์
● ประธานเครือข่ายแม่น้ำนานาชาติ (International River Network)
● กรรมการบริหารมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
[1] ปัจจุบัน คือ The American University of Paris