
การกระจายอำนาจหรือความต้องการปกครองตนเองของท้องถิ่น ไม่ใช่กระแสความคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ หากแต่เป็นแนวคิดซึ่งเป็นที่พูดถึงในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว โดยเฉพาะในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จนมีการบรรจุหลักการและบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระจายอำนาจบางระดับไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว สำหรับจังหวัดชายแดนใต้ การกระจายอำนาจหรือการปกครองตนเองได้ถูกชูให้เป็นประเด็นสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางทางการเมืองและอาวุธในพื้นที่ ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาศึกษาและระดมความคิดกันอย่างหลากหลายมิติ ข้อเสนอหนึ่งในการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจในจังหวัดชายแดนใต้คือ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยให้ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของสงขลาคือ เทพา นาทวี จะนะ และสะบ้าย้อย อยู่ภายใต้หน่วยการปกครองเดียวกันที่เรียกว่า “ปัตตานีมหานคร”
การปกครองในรูปแบบปัตตานีมหานคร ได้รับการปรับปรุงและนำเสนอโดยพลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งได้มีการนำเสนอแนวคิด หลักการ และบริบทเรื่องการกระจายอำนาจจากประสบการณ์การทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศนับสิบปีของอาจารย์เอกหรือลุงเอก ในที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน คณะที่สอง (ในพื้นที่พิเศษและจังหวัดชายแดนใต้) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา
“ท้องถิ่นดูแลตัวเอง” คือแนวคิดหลักของปัตตานีมหานคร เนื่องจากมองว่าประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนใต้เป็นคนเชื้อชาติมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม อันมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์และวัฒนธรรมเฉพาะที่ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้น โครงสร้างการเมืองการปกครองที่เกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับวิถีชีวิตจึงควรตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ผ่านการให้ประชาชนในพื้นที่ผู้เป็น “เจ้าของบ้าน” ได้มีอำนาจอย่างแท้จริงในการบริหารและพัฒนาบ้านของตน โดยยังอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย และไม่ปฏิเสธอำนาจรัฐส่วนกลางหรือมุ่งสู่การแบ่งแยก แต่เป็นไปเพื่อแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันกับประชากรส่วนอื่น ๆ ของประเทศอย่างยั่งยืน
เนื่องจากโครงสร้างการปกครองเดิมมีปัญหาที่ว่าผู้บริหารซึ่งแต่งตั้งจากส่วนกลางมักไม่เข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม และปัญหาของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ จึงเป็นผู้ปกครองที่แปลกแยกจากสังคมจังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานีมหานครจึงมีข้อเสนอในโครงสร้างการปกครองคือ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงจากคนในพื้นที่มาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีสภาปัตตานีมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่เสนอ/พิจารณาข้อบัญญัติ โดยมีสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตพื้นที่และอีกส่วนจากกลุ่มชนส่วนน้อยหรือผู้ขาดโอกาสทางสังคม รวมถึงเพิ่มกลไกการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นผ่านสภาประชาชน ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม สาขาอาชีพ และเพศ ทำหน้าที่เสนอแนะ ติดตามการทำงานของผู้ว่าฯ และสมาชิกสภาปัตตานีมหานคร รวมถึงสะท้อนความต้องการของประชาชนในด้านต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม แนวคิดปัตตานีมหานครที่ถูกเสนอมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารปีพ.ศ. 2557 เป็นต้นมา แนวคิดการกระจายอำนาจหรือการปกครองรูปแบบพิเศษในลักษณะนี้ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐมาโดยตลอด ประกอบกับความเห็นของประชาชนต่อรูปแบบการปกครองท้องถิ่นก็ยังมีความแตกต่างกันในบางประเด็นเช่น ระดับการใช้ภาษามลายูหรือการบังคับใช้กฎหมายอิสลามในปัตตานีมหานคร เป็นต้น
จากการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน คณะที่สอง (ในพื้นที่พิเศษและจังหวัดชายแดนใต้) ในครั้งนี้ได้มีการพิจารณารูปแบบการปกครองปัตตานีมหานคร โดยมีความเห็นว่าควรผลักดันอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มจากการกระจายอำนาจการบริหารในบางส่วนสู่ท้องถิ่นก่อน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจสังคมหรือปัญหาปากท้องของคนในพื้นที่ ซึ่งอาจชูเป็นประเด็นนำเพื่อหยั่งรากฐานการกระจายอำนาจในท้องถิ่นและพัฒนาเป็นปัตตานีมหานครต่อไป
มีข้อที่น่าสังเกตว่า ข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องการกระจายอำนาจให้ถึงขั้นเป็น “จังหวัดจัดการตนเอง” รวมทั้งให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศเช่นกัน ดังนั้นการขับเคลื่อน “ปัตตานีมหานคร” ให้เป็นจริง อาจเป็นกระแสที่ร่วมกับการเรียกร้องให้กระจายอำนาจดังกล่าว
กล่าวเฉพาะในสถานการณ์ในขณะนี้ที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวาระเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันจัดการแก้ไข ทำให้เราอาจได้เห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของกลไกและภาคประชาสังคมในระดับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะในด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ที่ลำพังหน่วยงานรัฐที่รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงนั้น น่าจะเป็นตัวอย่างและประสบการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจะต้องเร่งผลักดันให้มีความคืบหน้าของการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในแง่ของอำนาจการบริหารของผู้นำท้องถิ่นและความต้องการร่วมกันของประชาชนในพื้นที่
อ้างอิง:
(ร่าง) ปัตตานีมหานครภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความพยายามในการแสวงหาแนวทางอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ, https://deepsouthwatch.org/sites/default/files/archives/docs/pattanicityreport6_-_thai_version.pdf.
ชำนาญ จันทร์เรือง, “ชำนาญ จันทร์เรือง: ร่าง พรบ.จังหวัดจัดการตนเองฯ ช้าหรือเร็วต้องเกิดขึ้น,” ประชาไท, 3 เมษายน 2563, https://prachatai.com/journal/2020/04/87040.
เขียนโดย : เจณิตตา จันทวงษา
[:th]
การกระจายอำนาจหรือความต้องการปกครองตนเองของท้องถิ่น ไม่ใช่กระแสความคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ หากแต่เป็นแนวคิดซึ่งเป็นที่พูดถึงในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว โดยเฉพาะในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จนมีการบรรจุหลักการและบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระจายอำนาจบางระดับไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว สำหรับจังหวัดชายแดนใต้ การกระจายอำนาจหรือการปกครองตนเองได้ถูกชูให้เป็นประเด็นสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางทางการเมืองและอาวุธในพื้นที่ ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาศึกษาและระดมความคิดกันอย่างหลากหลายมิติ ข้อเสนอหนึ่งในการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจในจังหวัดชายแดนใต้คือ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยให้ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของสงขลาคือ เทพา นาทวี จะนะ และสะบ้าย้อย อยู่ภายใต้หน่วยการปกครองเดียวกันที่เรียกว่า “ปัตตานีมหานคร”
การปกครองในรูปแบบปัตตานีมหานคร ได้รับการปรับปรุงและนำเสนอโดยพลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งได้มีการนำเสนอแนวคิด หลักการ และบริบทเรื่องการกระจายอำนาจจากประสบการณ์การทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศนับสิบปีของอาจารย์เอกหรือลุงเอก ในที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน คณะที่สอง (ในพื้นที่พิเศษและจังหวัดชายแดนใต้) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา
“ท้องถิ่นดูแลตัวเอง” คือแนวคิดหลักของปัตตานีมหานคร เนื่องจากมองว่าประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนใต้เป็นคนเชื้อชาติมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม อันมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์และวัฒนธรรมเฉพาะที่ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้น โครงสร้างการเมืองการปกครองที่เกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับวิถีชีวิตจึงควรตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ผ่านการให้ประชาชนในพื้นที่ผู้เป็น “เจ้าของบ้าน” ได้มีอำนาจอย่างแท้จริงในการบริหารและพัฒนาบ้านของตน โดยยังอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย และไม่ปฏิเสธอำนาจรัฐส่วนกลางหรือมุ่งสู่การแบ่งแยก แต่เป็นไปเพื่อแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันกับประชากรส่วนอื่น ๆ ของประเทศอย่างยั่งยืน
เนื่องจากโครงสร้างการปกครองเดิมมีปัญหาที่ว่าผู้บริหารซึ่งแต่งตั้งจากส่วนกลางมักไม่เข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม และปัญหาของประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ จึงเป็นผู้ปกครองที่แปลกแยกจากสังคมจังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานีมหานครจึงมีข้อเสนอในโครงสร้างการปกครองคือ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงจากคนในพื้นที่มาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีสภาปัตตานีมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่เสนอ/พิจารณาข้อบัญญัติ โดยมีสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตพื้นที่และอีกส่วนจากกลุ่มชนส่วนน้อยหรือผู้ขาดโอกาสทางสังคม รวมถึงเพิ่มกลไกการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นผ่านสภาประชาชน ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม สาขาอาชีพ และเพศ ทำหน้าที่เสนอแนะ ติดตามการทำงานของผู้ว่าฯ และสมาชิกสภาปัตตานีมหานคร รวมถึงสะท้อนความต้องการของประชาชนในด้านต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม แนวคิดปัตตานีมหานครที่ถูกเสนอมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารปีพ.ศ. 2557 เป็นต้นมา แนวคิดการกระจายอำนาจหรือการปกครองรูปแบบพิเศษในลักษณะนี้ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐมาโดยตลอด ประกอบกับความเห็นของประชาชนต่อรูปแบบการปกครองท้องถิ่นก็ยังมีความแตกต่างกันในบางประเด็นเช่น ระดับการใช้ภาษามลายูหรือการบังคับใช้กฎหมายอิสลามในปัตตานีมหานคร เป็นต้น
จากการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน คณะที่สอง (ในพื้นที่พิเศษและจังหวัดชายแดนใต้) ในครั้งนี้ได้มีการพิจารณารูปแบบการปกครองปัตตานีมหานคร โดยมีความเห็นว่าควรผลักดันอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มจากการกระจายอำนาจการบริหารในบางส่วนสู่ท้องถิ่นก่อน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจสังคมหรือปัญหาปากท้องของคนในพื้นที่ ซึ่งอาจชูเป็นประเด็นนำเพื่อหยั่งรากฐานการกระจายอำนาจในท้องถิ่นและพัฒนาเป็นปัตตานีมหานครต่อไป
มีข้อที่น่าสังเกตว่า ข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องการกระจายอำนาจให้ถึงขั้นเป็น “จังหวัดจัดการตนเอง” รวมทั้งให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศเช่นกัน ดังนั้นการขับเคลื่อน “ปัตตานีมหานคร” ให้เป็นจริง อาจเป็นกระแสที่ร่วมกับการเรียกร้องให้กระจายอำนาจดังกล่าว
กล่าวเฉพาะในสถานการณ์ในขณะนี้ที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวาระเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันจัดการแก้ไข ทำให้เราอาจได้เห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของกลไกและภาคประชาสังคมในระดับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะในด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ที่ลำพังหน่วยงานรัฐที่รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงนั้น น่าจะเป็นตัวอย่างและประสบการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจะต้องเร่งผลักดันให้มีความคืบหน้าของการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในแง่ของอำนาจการบริหารของผู้นำท้องถิ่นและความต้องการร่วมกันของประชาชนในพื้นที่
อ้างอิง:
(ร่าง) ปัตตานีมหานครภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความพยายามในการแสวงหาแนวทางอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ, https://deepsouthwatch.org/sites/default/files/archives/docs/pattanicityreport6_-_thai_version.pdf.
ชำนาญ จันทร์เรือง, “ชำนาญ จันทร์เรือง: ร่าง พรบ.จังหวัดจัดการตนเองฯ ช้าหรือเร็วต้องเกิดขึ้น,” ประชาไท, 3 เมษายน 2563, https://prachatai.com/journal/2020/04/87040.
เขียนโดย : เจณิตตา จันทวงษา
[:]