ขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาเคลื่อนไหวรณรงค์ประเด็น #BlackLivesMatter เนื่องจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 Gorge Floyd ชายชาวอเมริกาผิวสี ถูกเจ้าหน้าตำรวจใช้กฏหมายอาญากล่าวหาว่าเขาใช้ธนบัตรปลอมในร้านอาหารแห่งหนี่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้เข่ากดเข้าที่คอของเขาจนหายใจไม่ออกเป็นเวลานานถึง 9 นาทีจนถึงแก่ชีวิต ทีมแพทย์สูตรพลิกศพพบว่าเกิดจากภาวะขาดอากาศหายใจเนื่องมาจากแรงกดทับที่คอและหลังซึ่งนำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง
คนไทยบางส่วนตระหนักถึงการเหยียดเชื้อชาติ และเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงออกในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากแฮชแท็กในทวิตเตอร์ที่ติดเทรนด์ในวันนั้น
แต่ในประเทศไทยเองก็มีประเด็นเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ โดยที่ไม่ได้สื่อกระแสหลักไม่ได้นำเสนอเป็นวงกว้าง และยังไม่เป็นประเด็นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี
ยกตัวอย่างเช่น คดีอับนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ วันเกิดเหตุคือวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 นายอับดุลเลาะถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ก่อนนำไปไว้ที่ค่ายอิงคยุทีบริหาร และพบว่าหมดสติ จึงนำส่งโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ รักษาตัว 35 วัน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยการชันสูตรพลิกศพพบว่า เสียชีวิตจากภาวะสมองขาดออกซิเจนและขาดเลือด ปอดอักเสบติดเชื้ออย่างรุนแรง (Severe Pneumonia) และมีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Septic Shock)
โดยทีมวิจัยของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เคยทำเอกสารชุดความรู้เรื่อง “Racial Profiling” นิยามความหมายไว้ว่า “การที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงหรือหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเชื้อชาติ สีผิว ความเป็นมาด้านชาติพันธุ์หรือชาติกำเนิด เป็นเหตุผลเพื่อสนับสนุนการมุ่งเน้นตรวจค้นบุคคลบางจำพวกอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและสอบสวนพวกเขา หรือใช้[หลักเกณฑ์ดังกล่าว]เป็นตัวชี้วัดว่าบุคคลมีส่วนพัวพันกับอาชญากรรมหรือไม่นั้นเป็นการเลือกปฏิบัติ”
คำถามนี้เป็นคำถามโดยตรงกับรัฐและประชาชนที่ติดตามข่าวสาร เพราะอย่างที่ทุกท่านทราบนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หากเรายังเพิกเฉย และขาดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเรื่องปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศวิถี จึงไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลไปสู่การชี้นำตัวผู้กระทำความผิด เพราะมิเช่นความสูญเสียเหล่านี้จะวนเวียนต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
เอกสารชุดความรู้: “Racial Profiling” อ่านเพิ่มเติม :
