บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่รัฐบาลใช้รับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อให้เข้าใจหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และยกตัวอย่างบางประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น และมีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักการสากลในโอกาสต่อไป
1. ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยอำนาจตามมาตรา 5 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)[1]
การประกาศดังกล่าวเป็นผลจากความจำเป็นที่รัฐบาลต้องรับมือกับสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งแพร่ระบาดใหญ่ตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 “Covid 19”) เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (พ.ร.บ.โรคติดต่อ)[2] และมีผลให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจหน้าที่เฝ้าระวัง สอบสวนโรค และดำเนินการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อดังกล่าว[3] และรัฐบาลยังได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19) เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์[4]
แต่การรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดดังกล่าวยังไม่เป็นผลทำให้รัฐบาลเห็นว่าควรยกระดับขึ้นสู่การบังคับใช้มาตรการขั้นสูงสุดโดยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่ 26 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2563[5]
อ่านฉบับเต็มที่
[1] ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563
[2] ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563
[3] เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ได้แก่ ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย สังกัดราชการส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และสังกัดกระทรวงกลาโหมซึ่งปฏิบัติงานด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวัง การป้องกันหรือควบคุมโรคติดต่อ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 3) และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563
[4] ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563
[5] แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563