[:th]CrCF Logo[:]

[:en]บทสัมภาษณ์: เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network (CPN))[:th]บทสัมภาษณ์: เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network (CPN))[:]

Share

[:en] 

CPN

 

 

เรามาทำความรู้จักเครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network (CPN)) องค์กรเดียวจากทั้งหมด 4 องค์กรภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่ดูแลเรื่องสิทธิเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้

Q: จากที่ทราบข้อมูลมาองค์กร  เป็นองค์กรเดียวที่มีการรวมตัวจากทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เล่าที่มาการรวมตัวของสมาชิกและอาสาสมัครในองค์กรว่ามาเจอกันได้อย่างไร และเพื่อเป้าหมายใด

A: ที่มาและความสำคัญ

การรวมเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กในปี 2557 เกิดจากปัญหาเด็กถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จัดหวัดชายแดนใต้มีมากขึ้น องค์กรด้านเด็กทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จึงมีการประชุมร่วมกันทุกไตรมาสเพื่อวิเคราะห์และศึกษาสถานการณ์เด็กในพื้นที่ของความขัดแย้งโดยนัดประชุมทุก 3 เดือน อย่างต่อเนื่องมีจำนวน 10 กว่าองค์กรที่มาประชุมทุกครั้ง จากองค์กรร่วม 17 องค์กร มีการทำกิจกรรมร่วมกันในทุกๆปี คือ กิจกรรมวันสิทธิเด็กสากล จากการทำกิจกรรมกันมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมพบปะกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกองค์กรเครือข่ายมีความคิดร่วมกันที่จะจัดตั้งเป็นเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นในปี 2560 โดยมีชื่อว่า “เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network (CPN))” ปัจจุบันมีสมาชิกองค์กรทั้งหมด 22 องค์กร ประกอบด้วย

  1. กลุ่มด้วยใจ
  2. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(NUSANTARA)
  3. สมาคมฟ้าใส
  4. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี HAP
  5. สมาคมประชาสังคมนราธิวาส
  6. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)
  7. ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) จังหวัดปัตตานี
  8. ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) จังหวัดนราธิวาส
  9. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF)
  10. กลุ่มเยาวชนบ้านควน
  11. สมาคมศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเด็กกำพร้า
  12. สลาตันเนเจอร์
  13. กลุ่มเสวนาจู่โจม
  14. กลุ่มพิราบขาว
  15. กลุ่มบุหงารายา
  16. กลุ่มเซากูน่า
  17. ธนาคารใจอาสา
  18. ครอบครัวรอยยิ้มหมู่บ้านเป็นสุข (KPS)
  19. Deep south watch/ DSJ (Deep south journalist)
  20. สมาคมสะพานปัญญา
  21. สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มอ.
  22. ชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา

เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีเพื่อปกป้องคุ้มครอง และพัฒนาเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่ทำงานในประเด็นเด็กให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการ ทำงานด้านสิทธิเด็ก
  • เพื่อการจัดทำรายงานสถานการณ์เด็กเพื่อนำไปสู่การผลักดันเชิงนโยบายด้านเด็กในจังหวัด ชายแดนใต้

 

Q: ตั้งแต่ทำงานมาเล็งเห็นอะไรในการทำงานด้านสิทธิเด็กที่มีปัญหาในสามจังหวัดชายแดนใต้

A: เนื่องจากเด็กไม่มีความรู้เรื่องสิทธิของตนเอง และผู้ใหญ่ยังขาดองค์ความรู้เรื่องสิทธิเด็ก ทำให้ยังมีการละเมิดสิทธิเด็ก ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ ครู ผู้ปกครอง และอื่นๆ ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ ทั้งทางตรง และทางอ้อม จึงริเริ่มก่อตั้งองค์กรให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทหารในเรื่องของการปกป้องการละเมิดสิทธิเด็ก ยังคงขาดการให้ความร่วมมือ เพราะยังคงเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารมีการเก็บ DNA เด็กอยู่ในพื้นที่

 

Q: หากภาครัฐเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเรื่องสิทธิเด็กในสามจังหวัดมากกว่าที่เราต้องดูแลกันเอง มีความคิดเห็นอย่างไร

A: เป็นสิ่งที่ดีมากหากภาครัฐเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเรื่องสิทธิเด็กในสามจังหวัด เพราะภาครัฐมีทั้งกำลังคน อำนาจ และงบประมาณ ที่จะสามารถทำให้การดำเนินงานเรื่องนี้มีความต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่เกิดจากการละเมิดโดยเจ้าหน้าที่เอง ภาครัฐคงสามารถที่จะช่วยกันผลักดันไม่ให้เจ้าหน้าทำการละเมิดสิทธิเด็กขึ้นเอง หรือหากมีก็สามารถกำหนดบทลงโทษได้

 

Q: ตั้งแต่ทำงานด้านสิทธิมา คิดว่าอะไรที่เป็นเรื่องที่ทำให้เราขยับตัวลำบาก แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างใจมากที่สุด

A: การผลักดันเรื่องสิทธิเด็กกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่บางคนยังคงมีการละเลย และทำการละเมิดสิทธิเด็กอยู่ตลอด เช่น เรื่องการเก็บ DAN เด็ก ก็ยังคงมีการเก็บให้เห็นทุกปี เจ้าหน้าที่บางคนก็ยังคงขาดองค์ความรู้เรื่องว่าด้วยอนุสัญญาสิทธิเด็ก

 

 [:th] 

CPN

 

 

เรามาทำความรู้จักเครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network (CPN)) องค์กรเดียวจากทั้งหมด 4 องค์กรภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่ดูแลเรื่องสิทธิเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้

Q: จากที่ทราบข้อมูลมาองค์กร  เป็นองค์กรเดียวที่มีการรวมตัวจากทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เล่าที่มาการรวมตัวของสมาชิกและอาสาสมัครในองค์กรว่ามาเจอกันได้อย่างไร และเพื่อเป้าหมายใด

A: ที่มาและความสำคัญ

การรวมเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กในปี 2557 เกิดจากปัญหาเด็กถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จัดหวัดชายแดนใต้มีมากขึ้น องค์กรด้านเด็กทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จึงมีการประชุมร่วมกันทุกไตรมาสเพื่อวิเคราะห์และศึกษาสถานการณ์เด็กในพื้นที่ของความขัดแย้งโดยนัดประชุมทุก 3 เดือน อย่างต่อเนื่องมีจำนวน 10 กว่าองค์กรที่มาประชุมทุกครั้ง จากองค์กรร่วม 17 องค์กร มีการทำกิจกรรมร่วมกันในทุกๆปี คือ กิจกรรมวันสิทธิเด็กสากล จากการทำกิจกรรมกันมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมพบปะกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกองค์กรเครือข่ายมีความคิดร่วมกันที่จะจัดตั้งเป็นเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นในปี 2560 โดยมีชื่อว่า “เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network (CPN))” ปัจจุบันมีสมาชิกองค์กรทั้งหมด 22 องค์กร ประกอบด้วย

  1. กลุ่มด้วยใจ
  2. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(NUSANTARA)
  3. สมาคมฟ้าใส
  4. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี HAP
  5. สมาคมประชาสังคมนราธิวาส
  6. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)
  7. ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) จังหวัดปัตตานี
  8. ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) จังหวัดนราธิวาส
  9. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF)
  10. กลุ่มเยาวชนบ้านควน
  11. สมาคมศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเด็กกำพร้า
  12. สลาตันเนเจอร์
  13. กลุ่มเสวนาจู่โจม
  14. กลุ่มพิราบขาว
  15. กลุ่มบุหงารายา
  16. กลุ่มเซากูน่า
  17. ธนาคารใจอาสา
  18. ครอบครัวรอยยิ้มหมู่บ้านเป็นสุข (KPS)
  19. Deep south watch/ DSJ (Deep south journalist)
  20. สมาคมสะพานปัญญา
  21. สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มอ.
  22. ชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา

เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีเพื่อปกป้องคุ้มครอง และพัฒนาเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่ทำงานในประเด็นเด็กให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการ ทำงานด้านสิทธิเด็ก
  • เพื่อการจัดทำรายงานสถานการณ์เด็กเพื่อนำไปสู่การผลักดันเชิงนโยบายด้านเด็กในจังหวัด ชายแดนใต้

 

Q: ตั้งแต่ทำงานมาเล็งเห็นอะไรในการทำงานด้านสิทธิเด็กที่มีปัญหาในสามจังหวัดชายแดนใต้

A: เนื่องจากเด็กไม่มีความรู้เรื่องสิทธิของตนเอง และผู้ใหญ่ยังขาดองค์ความรู้เรื่องสิทธิเด็ก ทำให้ยังมีการละเมิดสิทธิเด็ก ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ ครู ผู้ปกครอง และอื่นๆ ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ ทั้งทางตรง และทางอ้อม จึงริเริ่มก่อตั้งองค์กรให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทหารในเรื่องของการปกป้องการละเมิดสิทธิเด็ก ยังคงขาดการให้ความร่วมมือ เพราะยังคงเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารมีการเก็บ DNA เด็กอยู่ในพื้นที่

 

Q: หากภาครัฐเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเรื่องสิทธิเด็กในสามจังหวัดมากกว่าที่เราต้องดูแลกันเอง มีความคิดเห็นอย่างไร

A: เป็นสิ่งที่ดีมากหากภาครัฐเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือเรื่องสิทธิเด็กในสามจังหวัด เพราะภาครัฐมีทั้งกำลังคน อำนาจ และงบประมาณ ที่จะสามารถทำให้การดำเนินงานเรื่องนี้มีความต่อเนื่องและยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่เกิดจากการละเมิดโดยเจ้าหน้าที่เอง ภาครัฐคงสามารถที่จะช่วยกันผลักดันไม่ให้เจ้าหน้าทำการละเมิดสิทธิเด็กขึ้นเอง หรือหากมีก็สามารถกำหนดบทลงโทษได้

 

Q: ตั้งแต่ทำงานด้านสิทธิมา คิดว่าอะไรที่เป็นเรื่องที่ทำให้เราขยับตัวลำบาก แก้ไขสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างใจมากที่สุด

A: การผลักดันเรื่องสิทธิเด็กกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่บางคนยังคงมีการละเลย และทำการละเมิดสิทธิเด็กอยู่ตลอด เช่น เรื่องการเก็บ DAN เด็ก ก็ยังคงมีการเก็บให้เห็นทุกปี เจ้าหน้าที่บางคนก็ยังคงขาดองค์ความรู้เรื่องว่าด้วยอนุสัญญาสิทธิเด็ก

 

 [:]

TAG

RELATED ARTICLES