จากการอ้างถึง “สุขภาพนำเสรีภาพ” ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และการประกาศเคอร์ฟิว (การห้ามออกจากเคหะสถานในยามค่ำคืนตั้งแต่เวลา 22.00 – 04.00 น.) ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมมีความกังวลว่าความหมาย และท่าทีของนโยบาย “สุขภาพนำเสรีภาพ” กำลังก่อให้เกิดความสับสน และสร้างปัญหาทับซ้อนในการรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ (pandemic) ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย
เนื่องจากหลักการ “เสรีภาพ” เชื่อมโยงโดยตรงถึงสิทธิมนุษยชนในหลายมิติ เช่น สิทธิพลเมือง สิทธิชุมชน สิทธิในชีวิต และทรัพย์สิน สิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และบริการจากรัฐ สิทธิในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสาร ฯลฯ ภายใต้แนวทางการจัดการสุขภาพที่ขาดมิติเสรีภาพ และไม่เคารพหลักการสิทธิมนุษยชน ย่อมจะนำไปสู่ปัญหาเชิงสุขภาพและสังคมที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น
ดังกรณีที่สื่อ ปาตานีโนตส์ (Patani NOTES) ได้นำเสนอข่าวใน หน้าเฟซบุ๊ค (Facebook page) Patani NOTES ภายใต้หัวข้อ “กักตัวทั้งครอบครัว มีลูกสาวคนเดียวส่งข้าวส่งน้ำ” ในวันที่ 1 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นการรายงานเรื่องราวร้องทุกข์ของครอบครัวหนึ่งในตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับคำสั่งให้กักตัวภายในบ้านเป็นเวลา 14 วันโดยที่ ณ เวลานั้นยังไม่เข้าใจถึงรายละเอียดของการกักตัว หรือ มาตรการในการช่วยเหลือที่ชัดเจน จนทำให้เกิดความกังวลถึงชีวิตความเป็นอยู่และปากท้องในช่วงเวลาดังกล่าว
การนำเสนอข่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสุขภาพของประชาชน หากในเวลาต่อมา ปาตานีโนตส์กลับถูกคุกคามและกดดันอย่างหนักจากกลุ่มบุคคลที่อ้างว่า การนำเสนอข่าวเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการด้านสุขภาพของภาครัฐ จนทำให้ต้องถอดข่าวนี้ออกจากพื้นที่สื่อไปในช่วงค่ำของวันที่ 3 เมษายน 2563
กรณีปาตานีโนตส์สะท้อนว่าแนวคิด “สุขภาพนำเสรีภาพ” นั้น ได้นำไปสู่การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่ลิดรอนสิทธิของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ประชาชนสูญเสียพื้นที่ในการร้องทุกข์ ซึ่งซ้ำเติมประชากรกลุ่มเปราะบางที่มีฐานทรัพยากรน้อย คนเหล่านี้เป็นผู้ที่ไร้สิทธิไร้เสียง (voiceless) ในสังคม
การเบี่ยงประเด็นให้ปัญหาสุขภาพเป็นเพียงการควบคุมผู้คนไร้สิทธิ ไร้เสียง ยิ่งทำให้พวกเขาไม่อาจส่งเสียงความทุกข์ร้อน และปัญหาของตนเอง เนื่องจาก “เสียง” ที่ถูกส่งออกมาจะกลายเป็นสิ่งที่ขัดกับนโยบายรัฐ และจะกลายเป็นการรุกรานละเมิดความปลอดภัยและสุขภาพของส่วนรวมไปในทันที คำประกาศของนายกรัฐมนตรี ดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ทำให้พวกเขาไม่มีทั้งเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และไม่มีสุขภาพ (ที่ดี) ไปในเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ช่องว่างในการปฏิบัติงานหรือข้อผิดพลาดในการสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่ และประชาชน เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั่วไปใน สภาวะวิกฤติ ความเข้าใจต่อมาตรการต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและมี รายละเอียดเชิงเทคนิคไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำความเข้าใจในหมู่ประชาชน อีกทั้งข้อเท็จจริงในการนำเสนอข่าวควรเป็นเป็นเรื่องที่สังคมวงกว้างได้มีส่วนร่วมในการพิจารณา ทั้งยังเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการได้รับทราบเสียงสะท้อนของประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการรักษาพื้นที่ส่งเสียง (voice) ความ เดือดร้อนของประชาชน เนื่องจากหากมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ก็จะมีโอกาส “กระจายความเป็นธรรม” (distributive justice) สู่ประชาชน กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเปราะบางมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือหรือบริการจากภาครัฐที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤติ เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในที่อื่นทั่วประเทศตามรายชื่อแนบท้ายจำนวน 116 คน และ 12 เครือข่าย/องค์กร จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล องค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรสื่อ และสังคมไทยดังนี้
ข้อที่ 1 ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐ เร่งทบทวนแนวนโยบาย “สุขภาพนำเสรีภาพ” โดยปกป้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และรักษาพื้นที่ของการ นำเสนอทุกข์ร้อนของประชาชน ซึ่งสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการ ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยไม่ควรมองว่าเสียงเหล่านั้นเป็นคู่ขัดแย้งหรืออุปสรรคของการทำงานจัดการวิกฤติด้านสุขภาพของภาครัฐ ซึ่งต้องการความจริงใจในการแก้ปัญหา
ข้อที่ 2 ขอเรียกร้องให้องค์กรสิทธิมนุษยชน และองค์กรสื่อในระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ ได้จับตาและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ถึงผลพวงที่เกิดขึ้นจากคำประกาศ “สุขภาพนำเสรีภาพ” อันอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เป็นข้ออ้างในเชิงการเมือง และให้ใช้กลไกสิทธิมนุษยชนทุกระดับเพื่อปกป้อง คุ้มครองเสรีภาพของสื่อ ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีการตอบสนองอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์คุกคามสื่อ
ข้อที่ 3 ขอเรียกร้องให้ประชาชนเชื่อมั่นในสิทธิ สวัสดิภาพในชีวิตความเป็นอยู่ และเสียงของประชาชน ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง และส่งเสริมไปพร้อมกับได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นความมั่นคงในชีวิตอย่างไม่แยกส่วนกัน กล่าวคือ “สุขภาพต้องการเสรีภาพ” โดยไม่อาจขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ทั้งนี้ประชาชนพึงตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมโดยรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ด้วย
ด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นว่า “สุขภาพต้องการเสรีภาพ”
เครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
รายชื่อแนบท้าย ลงชื่อในนามบุคคล:
- Hara Shintaro (นักวิชาการอิสระ)
- กนกวรรณ มะโนรมย์ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
- กรกนก คำตา (การเมืองหลังบ้าน)
- กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์
- กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
- กฤษณ์พชร โสมณวัตร (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- กฤษณะ โชติสุทธิ์
- กิตติ วิสารกาญจน (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- กุสุมา กูใหญ่ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- กุสุมา จันทร์มูล (การเมืองหลังบ้าน)
- เกษม เพ็ญภินันท์
- เกษียร เตชะพีระ
- คมลักษณ์ ไชยยะ (มหาวิทยาลัยราชัฎพระนครศรีอยุธยา)
- คอรีเยาะ มานุแช (ทนายความ)
- คารินา โชติรวี
- เคท ครั้งพิบูลย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- งามศุกร์ รัตนเสถียร (สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล)
- จารียา อรรถอนุชิต (คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ (นักกิจกรรม)
- ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์
- ชลัท ศานติวรางคณา
- ชลิตา บัณฑุวงศ์ (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
- ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร
- ชัชวาล ปุญปัน (ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- ชัยพงษ์ สำเนียง (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- ชัยพร สิงห์ดี
- ชาญคณิต อาวรณ์ (มหาวิทยาลัยพะเยา)
- ชาญณรงค์ บุญหนุน (ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
- ชิงชัย เมธพัฒน์ (นักวิชาการอิสระด้านมานุษยวิทยาการแพทย์)
- เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์
- ไชยันต์ รัชชกูล (คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา)
- ซัมซู สาอุ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- ณภัค เสรีรักษ์
- ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี (มหาวิทยาลัยนครพนม)
- ณรรธราวุธ เมืองสุข (สื่อมวลชนอิสระ)
- ณัชปกร นามเมือง (iLaw)
- ณัฐดนัย นาจันทร์
- ณัฐดนัย นาจันทร์
- ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- เดชรัต สุขกำเนิด (นักวิชาการเศรษฐศาสตร์)
- ตะวัน วรรณรัตน์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- ถนอม ชาภักดี
- ทวีศักดิ์ ปิ (โครงการจัดตั้งสมาคมเพื่อการศึกษาและการพัฒนา)
- ทัศนัย เศรษฐเสรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล (สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
- ธนรัตน์ มังคุด (สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
- ธนศักดิ์ สายจำปา (สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
- ธวัช มณีผ่อง (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
- ธีรวัฒน์ ขวัญใจ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
- ธีระพล อันมัย (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
- นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
- นัทมน คงเจริญ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- นาตยา อยู่คง (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
- นิมิตร์ เทียนอุดม
- บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
- บารมี ชัยรัตน์ (สมัชชาคนจน)
- บุญเลิศ วิเศษปรีชา (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
- เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว (มหาวิทยาลัยมหิดล)
- ประภัสสร์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
- ปรัชญา โต๊ะอิแต
- ปราโมทย์ ระวิน
- ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ (มหาวิทยาลัยพะเยา)
- ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ (นักกิจกรรมอิสระ)
- พรรณราย โอสถาภิรัตน์ (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
- พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
- พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
- พิสิษฏ์ นาสี (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- แพร จิตติพลังศรี
- ภัควดี วีระภาสพงษ์
- ภาสกร อินทุมาร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- มนตรา พงษ์นิล (คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา)
- มัจฉา พรอินทร์ (สร้างสรรค์อนาคตเยาวชน)
- มัทนา เชตมี (การเมืองหลังบ้าน)
- มาหามะสาบรี เจ๊ะเลาะ
- มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
- ยศ สันตสมบัติ
- ยุกติ มุกดาวิจิตร (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- เยาวนิจ กิตติธรกุล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
- เยาวลักษ์ อนุพันธุ์
- รชฎ สาตราวุธ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รามิล กาญจันดา
- รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ (มหาวิทยาลัยมลายา)
- ลม้าย มานะการ
- วลักษณ์กมล จ่างกมล (คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- วันพิชิต ศรีสุข (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- วาสนา ละอองปลิว
- วิจิตรา เตรตระกูล
- วินัย ผลเจริญ วินัย ผลเจริญ (วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
- วิภาดา วาสินธุ์ (เครือข่ายคนใจอาสาจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- วิริยะ สว่างโชติ
- วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- เวียง-วชิระ บัวสนธ์ (บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน)
- ศยามล เจริญรัตน์ (หน่วยปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเทียม. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ
- ศศิประภา ไร่สงวน (ทนายความ)
- ศิริพร ฉายเพ็ชร
- ษมาพร แสงสุระธรรม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- สมใจ สังข์แสตมป์
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
- สมฤทธิ์ ลือชัย (นักวิชาการอิสระ)
- สมัชชา นิลปัทม์ (คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ (นักวิชาการอิสระ)
- สร้อยมาศ รุ่งมณี
- สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- สามชาย ศรีสันต์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- สายฝน สิทธิมงคล (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน (ปรัชญาสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)
- สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
- สุภาภรณ์ มาลัยลอย (มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม)
- สุรพศ ทวีศักดิ์
- สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ (สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
- สุรินทร์ อ้นพรม
- สุไรนี สายนุ้ย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- สุไลพร ชลวิไล (นักกิจกรรมอิสระ)
- สุฮัยดา กูทา (ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน – BUKU)
- เสาวณิต จุลวงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- เสาวณิต จุลวงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- เสาวนีย์ อเลกซานเดอร์
- อนุสรณ์ อุณโณ (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- อรชา รักดี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
- อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อรอนงค์ ชนะสิทธิ์ (ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน – BUKU)
- อรอนงค์ ทิพย์พิมล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- อรุณี สัณฐิติวณิชย์
- อลิสา บินดุส๊ะ
- อสมา มังกรชัย
- อังคณา นีละไพจิตร
- อัญชนา สุวรรณานนท์ (เจ้าหน้าที่โครงการองค์กรอเมริกันจูวิชเวิร์ดเซอร์วิส)
- อัญชนา หีมมิหน๊ะ (กลุ่มด้วยใจ)
- อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ
- อาจินต์ ทองอยู่คง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- อิมรอน ซาเหาะ
- อิลหาม มะนะแล (สื่อมวลชน )
- อุเชนทร์ เชียงเสน (สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
- เอกสิทธิ์ หนุนภักดี (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ลงชื่อในนามองค์กร:
- กลุ่มทำทาง
- กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
- การเมืองหลังบ้าน
- คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW)
- เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)
- เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
- โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
- มลายูรีวิว
- มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
- มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(ลงชื่อในนามองค์กร)
- มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
- ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชน
- ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.)