บันทึกรับมือโควิด: กรณีนักศึกษาไทยจากประเทศปากีสถาน เดินทางกลับประเทศไทย
ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
เผยแพร่วันที่ 1 เมษายน 2563
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 ในทั่วโลก ส่งผลกระทบให้หลายประเทศมีมาตรการการรับมือในทุกภาคส่วน รวมทั้งประเทศปากีสถานเอง ซึ่งพบการแพร่ระบาดของ COVID 19 ด้วย ทำให้มหาวิทยาลัยนานาชาติฯ และสถานศึกษาอื่นๆปิดการเรียนการสอน และในหลายจังหวัดมีการ Lockdown ทำให้นักศึกษาและชาวไทยในประเทศปากีสถานบางส่วนที่มีความประสงค์จะกลับภูมิลำเนาของตนระหว่างที่มหาวิทยาลัยปิดการศึกษา แต่เนื่องจากในสนามบินนานาชาติปากีสถานได้ทำการปิดสนามบินแล้วตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2563 ทำให้นักศึกษาและชาวไทยบางส่วนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้
ด้วยเหตุนี้ ทางสถานทูตไทยประจำประเทศปากีสถาน ได้ประสานกับการบินไทย เพื่อนำนักศึกษาไทยและชาวไทยบางส่วนที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยเดินทางกลับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้โดยสารมากกว่า 230 คน โดยก่อนหน้านี้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 ทางการบินไทย ได้รับเรื่องขอเที่ยวบินกลับประเทศ และทางสนามบินนานาชาติอิสลามาบัดก็ยินดีเปิดให้บริการในวันนั้นเป็นกรณีพิเศษ
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2563 วันที่มหาวิทยาลัยมีประกาศให้หยุดเรียนชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 นักศึกษาทุกคนกักตัวเองที่หอพัก เป็นเวลา 14 วัน ก่อนถึงวันเดินทางกลับ สถานทูตไทยมีประกาศเรื่องการเดินทางกลับประเทศไทยให้กับนักศึกษา เนื่องจากเห็นว่า ในประเทศปากีสถานเองก็มีการระบาดอยู่ และมหาวิทยาลัยก็ปิดการเรียนการสอน น่าจะมีนักศึกษากลับบ้านจำนวนมาก เพราะโดยปกติช่วงใกล้ปิดเทอมนักศึกษามักเดินทางกลับประเทศของตนอยู่แล้ว แม้ไม่ได้มีสถานการณ์โรคระบาดก็ตาม การเดินทางครั้งนี้สถานทูตเป็นผู้ประสานงานร่วมกับสายการบินการบินไทย เพื่อจัดเตรียมเที่ยวบินพิเศษให้เป็นเที่ยวบินที่ TG 350
ขั้นตอนลำดับแรกสถานทูตไทยให้นักศึกษาทุกคนเข้ารับการตรวจร่างกาย และต้องมีใบรับรองแพทย์ทุกคน หากไม่มีใบรับรองแพทย์ จะไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้
เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 เวลา 23.30 น. ตามเวลาประเทศปากีสถาน เที่ยวบินพิเศษ TG 350 เดินทางจากสนามบินนานาชาติกรุงอิสลามาบัด นักศึกษาทุกคนมีการป้องกันตัวเอง โดยการสวมหน้ากากอนามัยและบางคนสวมถึงมือ รวมทั้งการระวังระยะห่างต่อกัน นักศึกษากลุ่มนี้เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ วันอาทิตย์ ที่ 29 มีนาคม 2563 เวลา 05.50 น. ตามเวลาประเทศไทย
เมื่อเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิมีการตรวจร่างกายก่อนเข้าเมือง เพื่อคัดกรองโควิด 19 ก่อนจะจัดให้มีการเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยรถบัสจำนวน 12 คัน แบ่งเป็น นราธิวาส 5 คัน สงขลา 1 คัน เชียงใหม่ 1 คัน ยะลา 2 คัน และปัตตานี 3 คัน โดยขึ้นคันละไม่เกิน 20 คน กำหนดเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 10.00 น. โดยเดินทางไปที่ AOT (เป็นศูนย์กักกัน ผู้ที่ติดเชื้อ) และแยกย้ายกันกลับแต่ละจังหวัด
ทางราชการได้เตรียมการคัดกรองนักศึกษาเหล่านี้เมื่อกลับถึงจังหวัดของตน ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00 น. วัตถุประสงค์คือมีการตรวจร่างกาย ก่อนเข้ารับการกักตัว 14 วัน โดยมีการตรวจร่างกาย แยกตามจังหวัดดังนี้ จังหวัดปัตตานีจัดจุดคัดกรองที่โรงยิม สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลาจัดจุดคัดกรองที่ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน อ.เมือง จ.ยะลา จังหวัดนราธิวาสมีจุดคัดกรอง ณ กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนราธิวาส และกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอระแงะ จังหวัดสงขลามีจุดคัดกรอง ณ ค่ายทหาร ร.5 พัน 3 อำเภอนาทวี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกักตัวหากครบกำหนด 14 วัน ไม่พบว่ามีอาการก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้
ความรู้สึกนักศึกษาที่กลับจากปากีสถานครั้งนี้ได้แสดงความเห็นว่า การสื่อสารสื่อออนไลน์ ไปได้เร็วมาก แต่มักไปในแง่ลบ ทำให้พวกเรารู้สึกว่า คนไทยไม่เห็นใจคนอื่น ไม่ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดก่อน เราในฐานะนักศึกษายินดีทำตามกระบวนการกักตัวและให้ความร่วมมือเต็มที่ เนื่องจากเป็นสถานการณ์การระบาดที่ไม่เคยเจอมาก่อน อาจเพราะเป็นมุสลิมที่มาจากสามจังหวัดด้วยหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ก็ขอบคุณสถานทูตไทยประจำประเทศปากีสถาน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่เตรียมการรองรับครบขั้นตอน และตนยินดีกักตัวพร้อมเพื่อนๆจนครบกำหนด 14 วัน ก่อนเดินทางกลับชุมชนต่อไป
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่าการประสานงานทำงานร่วมกับและการสื่อสารเรื่องการรับมือโควิดกรณีนักศึกษาไทยจากประเทศปากีสถานเป็นตัวอย่างที่ดี ขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศ บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่และหน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคมที่แสดงศักยภาพในการรับมือโควิดได้อย่างดียิ่ง เรายังมีสถานการณ์ที่ยากลำบากที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อผ่านพ้นวิกฤตนี้ร่วมกัน
[:th]บันทึกรับมือโควิด: กรณีนักศึกษาไทยจากประเทศปากีสถาน เดินทางกลับประเทศไทย
ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
เผยแพร่วันที่ 1 เมษายน 2563
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 ในทั่วโลก ส่งผลกระทบให้หลายประเทศมีมาตรการการรับมือในทุกภาคส่วน รวมทั้งประเทศปากีสถานเอง ซึ่งพบการแพร่ระบาดของ COVID 19 ด้วย ทำให้มหาวิทยาลัยนานาชาติฯ และสถานศึกษาอื่นๆปิดการเรียนการสอน และในหลายจังหวัดมีการ Lockdown ทำให้นักศึกษาและชาวไทยในประเทศปากีสถานบางส่วนที่มีความประสงค์จะกลับภูมิลำเนาของตนระหว่างที่มหาวิทยาลัยปิดการศึกษา แต่เนื่องจากในสนามบินนานาชาติปากีสถานได้ทำการปิดสนามบินแล้วตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2563 ทำให้นักศึกษาและชาวไทยบางส่วนไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้
ด้วยเหตุนี้ ทางสถานทูตไทยประจำประเทศปากีสถาน ได้ประสานกับการบินไทย เพื่อนำนักศึกษาไทยและชาวไทยบางส่วนที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยเดินทางกลับเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้โดยสารมากกว่า 230 คน โดยก่อนหน้านี้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 ทางการบินไทย ได้รับเรื่องขอเที่ยวบินกลับประเทศ และทางสนามบินนานาชาติอิสลามาบัดก็ยินดีเปิดให้บริการในวันนั้นเป็นกรณีพิเศษ
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2563 วันที่มหาวิทยาลัยมีประกาศให้หยุดเรียนชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 นักศึกษาทุกคนกักตัวเองที่หอพัก เป็นเวลา 14 วัน ก่อนถึงวันเดินทางกลับ สถานทูตไทยมีประกาศเรื่องการเดินทางกลับประเทศไทยให้กับนักศึกษา เนื่องจากเห็นว่า ในประเทศปากีสถานเองก็มีการระบาดอยู่ และมหาวิทยาลัยก็ปิดการเรียนการสอน น่าจะมีนักศึกษากลับบ้านจำนวนมาก เพราะโดยปกติช่วงใกล้ปิดเทอมนักศึกษามักเดินทางกลับประเทศของตนอยู่แล้ว แม้ไม่ได้มีสถานการณ์โรคระบาดก็ตาม การเดินทางครั้งนี้สถานทูตเป็นผู้ประสานงานร่วมกับสายการบินการบินไทย เพื่อจัดเตรียมเที่ยวบินพิเศษให้เป็นเที่ยวบินที่ TG 350
ขั้นตอนลำดับแรกสถานทูตไทยให้นักศึกษาทุกคนเข้ารับการตรวจร่างกาย และต้องมีใบรับรองแพทย์ทุกคน หากไม่มีใบรับรองแพทย์ จะไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้
เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 เวลา 23.30 น. ตามเวลาประเทศปากีสถาน เที่ยวบินพิเศษ TG 350 เดินทางจากสนามบินนานาชาติกรุงอิสลามาบัด นักศึกษาทุกคนมีการป้องกันตัวเอง โดยการสวมหน้ากากอนามัยและบางคนสวมถึงมือ รวมทั้งการระวังระยะห่างต่อกัน นักศึกษากลุ่มนี้เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ วันอาทิตย์ ที่ 29 มีนาคม 2563 เวลา 05.50 น. ตามเวลาประเทศไทย
เมื่อเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิมีการตรวจร่างกายก่อนเข้าเมือง เพื่อคัดกรองโควิด 19 ก่อนจะจัดให้มีการเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยรถบัสจำนวน 12 คัน แบ่งเป็น นราธิวาส 5 คัน สงขลา 1 คัน เชียงใหม่ 1 คัน ยะลา 2 คัน และปัตตานี 3 คัน โดยขึ้นคันละไม่เกิน 20 คน กำหนดเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 10.00 น. โดยเดินทางไปที่ AOT (เป็นศูนย์กักกัน ผู้ที่ติดเชื้อ) และแยกย้ายกันกลับแต่ละจังหวัด
ทางราชการได้เตรียมการคัดกรองนักศึกษาเหล่านี้เมื่อกลับถึงจังหวัดของตน ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00 น. วัตถุประสงค์คือมีการตรวจร่างกาย ก่อนเข้ารับการกักตัว 14 วัน โดยมีการตรวจร่างกาย แยกตามจังหวัดดังนี้ จังหวัดปัตตานีจัดจุดคัดกรองที่โรงยิม สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลาจัดจุดคัดกรองที่ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน อ.เมือง จ.ยะลา จังหวัดนราธิวาสมีจุดคัดกรอง ณ กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนราธิวาส และกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอระแงะ จังหวัดสงขลามีจุดคัดกรอง ณ ค่ายทหาร ร.5 พัน 3 อำเภอนาทวี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกักตัวหากครบกำหนด 14 วัน ไม่พบว่ามีอาการก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้
ความรู้สึกนักศึกษาที่กลับจากปากีสถานครั้งนี้ได้แสดงความเห็นว่า การสื่อสารสื่อออนไลน์ ไปได้เร็วมาก แต่มักไปในแง่ลบ ทำให้พวกเรารู้สึกว่า คนไทยไม่เห็นใจคนอื่น ไม่ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดก่อน เราในฐานะนักศึกษายินดีทำตามกระบวนการกักตัวและให้ความร่วมมือเต็มที่ เนื่องจากเป็นสถานการณ์การระบาดที่ไม่เคยเจอมาก่อน อาจเพราะเป็นมุสลิมที่มาจากสามจังหวัดด้วยหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ก็ขอบคุณสถานทูตไทยประจำประเทศปากีสถาน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่เตรียมการรองรับครบขั้นตอน และตนยินดีกักตัวพร้อมเพื่อนๆจนครบกำหนด 14 วัน ก่อนเดินทางกลับชุมชนต่อไป
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่าการประสานงานทำงานร่วมกับและการสื่อสารเรื่องการรับมือโควิดกรณีนักศึกษาไทยจากประเทศปากีสถานเป็นตัวอย่างที่ดี ขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศ บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่และหน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคมที่แสดงศักยภาพในการรับมือโควิดได้อย่างดียิ่ง เรายังมีสถานการณ์ที่ยากลำบากที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อผ่านพ้นวิกฤตนี้ร่วมกัน
[:]