
English version is below;
ประเทศไทย: มาตรการภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
ตามที่รัฐบาลไทยได้พิจารณานำอำนาจภายใต้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ) มาปรับใช้เพื่อควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) ขอเน้นย้ำข้อเสนอแนะที่ ICJ ได้เสนอไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับรูปแบบการใช้อำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ที่ชอบด้วยกฎหมายและได้สัดส่วนในลักษณะที่สอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาข้อเสนอแนะเหล่านี้ประกอบการกำหนดมาตรการใดๆในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 อยู่เสมอ
(1) สถานการณ์ฉุกเฉินที่จะสามารถนำมาอ้างเพื่อละเว้นการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของภาวะฉุกเฉินที่ “คุกคามความอยู่รอดของชาติ” ตามที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยรัฐสภาควรมีบทบาทมากขึ้นในการกำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉิน
(2) การจำกัดหรือยกเว้นการปฏิบัติตามสิทธิที่ได้รับการรับรองระหว่างประเทศควรกระทำในช่วงเวลาที่จำกัด เท่าที่จำเป็นอย่างเคร่งครัด และได้สัดส่วนเหมาะสมกับภัยคุกคามที่เป็นอยู่
(3) มาตรการต่างๆจะถูกใช้เพื่อจำกัดสิทธิอื่นๆได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อแก้ไขเหตุที่เป็นเป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของชาติอย่างเคร่งครัด แต่มาตรการดังกล่าวนั้นไม่อาจส่งผลเป็นการระงับการใช้สิทธิอื่นใดโดยสิ้นเชิงได้
(4) ความจำเป็นดังกล่าวนี้จำต้องมีการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อว่ามาตรการจำกัดสิทธิต่างๆจะถูกนำมาใช้ภายในห้วงเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนบางประเภท ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิต สิทธิที่จะไม่ถูกทรมานหรือถูกประติบัติบัติอย่างโหดร้าย องค์ประกอบที่สำคัญบางประการของการจำกัดเสรีภาพโดยพลการ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และสิทธิในการได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถที่จะถูกจำกัดได้แม้ว่าประเทศจะอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน
(5) ควรมีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าเจ้าพนักงานท่านใดมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ข้อบัญญัติตามกฎหมายในภาวะฉุกเฉิน และต้องกำหนดว่าเจ้าพนักงานนั้นมีอำนาจและหน้าที่เพียงใด
(6) เจ้าพนักงานซึ่งบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต้องปฏิบัติตนตามกฎหมายทั่วไปของประเทศไทย โดยไม่มีการงดเว้นความผิดในทางอาญาอันเนื่องมาจากการที่เจ้าพนักงานใช้อำนาจตามตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ
(7) การตัดสินใจและดำเนินงานของเจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจตามกฎหมายในภาวะฉุกเฉินควรถูกตรวจสอบได้โดยศาล
Thailand: Measures under the Emergency Decree to address the COVID-19 outbreak must conform to international law
As the Thai government moves to exercise its power under the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situation B.E. 2548 (2005) (“Emergency Decree”) to combat the COVID-19 outbreak, the ICJ would like to reiterate its recommendations made since 2005 regarding lawful and proportionate exercise of this power in a manner consistent with Thailand’s obligations under international law.
We urge the Thai Government to take these recommendations into consideration when imposing any measures to address the COVID-19 outbreak.(1) A state of emergency used to justify any permissible derogation from obligations under international human rights law must meet the standard that an emergency “threatens the life of the nation”, as set out in the International Covenant on Civil and Political Rights. Parliament should play an active role in providing oversight.
(2) Any limitations on or derogation from the exercise of internationally guaranteed rights should be limited in duration, strictly necessary, and proportionate to the specific threat posed.
(3) Derogating measures may only limit the scope of other rights to the extent strictly necessary to meet a threat to the life of the nation, but they may not suspend the applicability of any right in its entirety.
(4) This necessity must be continually re-assessed so that the derogating measures apply for the shortest time possible. Certain human rights, including the right to life, the right to life, the freedom from torture or ill-treatment, the essential elements of arbitrary deprivation of liberty and to a fair trial and the right to an effective remedy can never be restricted even in a state of emergency.
(5) It should be clearly stated which officials have responsibility for implementing the provisions of the emergency law and what their powers and responsibilities are.
(6) All officials responsible for implementing the law should be explicitly stated to be under the authority of the ordinary law of Thailand, with no immunity for any criminal acts carried out in the exercise of their responsibilities.
(7) The decisions and actions of officials exercising powers under the emergency law should be subject to review by the courts.