แถลงการณ์เรื่องความสูญเสียที่ริมเขื่อนปัตตานีและการระเบิดที่ศอบต.
ขัดกับแนวทางสันติวิธีและลดทอนบทบาทของการเจรจาสันติภาพ
เผยแพร่วันที่ 20 มีนาคม 2563
เมื่อวันที่ 12 มีนาคมจนวันนี้วันที่ 20 มีนาคม 2563 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ริมเขื่อนปัตตานีรอยต่อระหว่างตำบลตาเซะ อำเภอเมืองจังหวัดยะลาและ อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่ทางหน่วยงานความมั่นคงได้ปฏิบัติภารกิจ “การกระชับวงล้อม ปิดล้อมพื้นที่ จากเหตุปะทะคนร้าย” โดยมีรายงานจากการแถลงข่าวของโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่วนหน้า (กอรมน.ภาคสี่ส่วนหน้า) ว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นคนร้ายจำนวนสี่รายและมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตหนึ่งราย รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บเล็กน้อยจำนวนหนึ่ง โดยเริ่มจากการปฏิบัติการปิดล้อม ไล่ล่า กลุ่มบุคคลจำนวน 7 คนที่อ้างว่าเป็นผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์ความรุนแรงหลายเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้เวลาติดต่อกันทั้งกลางวันกลางคืนเป็นเวลารวม 9 วันเต็มถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งอาจเป็นยุทธิวิธีที่ขัดกับแนวทางสันติวิธีและลดทอนความพยายามในการเจรจาสันติภาพของคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และกลุ่มด้วยใจขอแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่ใช้แนวทางสันติวิธี รวมทั้งขอให้ทุกฝ่ายแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อกันให้กับผู้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่อไป โดยขณะนี้ทางกอรมน.ภาคสี่ ได้ระบุว่า ขออภัยชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ และจะยุติภารกิจในวันนี้วันที่ 20 มีนาคม 2563 เวลา 16.00 น.
อย่างไรก็ดี แนวทางการปฏิบัติการของหน่วยงานความมั่นคงดังปรากฏเป็นภาพข่าวและการแถลงข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงว่าเป็นการปฏิบัติการปิดล้อมพื้นที่ติดตามคนร้ายตามหมายจับนั้นเป็นการบังคับใช้กฎหมาย แต่กลับมีการใช้กองกำลังติดอาวุธจำนวนมากตลอดเวลา 9 วัน และอาจเป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้มีการโต้ตอบกลับโดยการวางระเบิดในพื้นที่สาธารณะบริเวณสำนักงานของศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้ใจกลางเมืองจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 แรงระเบิดที่รุนแรงทำให้มีผู้บาดเจ็บสี่รายและทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย การปฏิบัติการทางทหารและการโต้ตอบกลับโดยความรุนแรงของทุกฝ่ายนั้นมักส่งผลให้เกิดความเดือนร้อนเสียหายแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อการประกอบสัมมาอาชีพ ความปลอดภัย และสร้างความหวาดกลัวต่อสาธารณะ รวมทั้งความรุนแรงทางอาวุธที่โต้ตอบกันส่งผลต่อสภาพจิตใจของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว
องค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนทั้งสามองค์กรมีความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ดังนี้
- การปราบปรามการก่อความไม่สงบเป็นภารกิจที่สำคัญของหน่วยงานความมั่นคงหากแต่การเร่งรัดและดำเนินการด้วยกำลังพลและอาวุธสงครามต่อกลุ่มบุคคลที่มีหมายจับตามกฎหมายย่อมขัดกันและไม่ใช่แนวทางสันติวิธี การปฏิบัติการเพื่อให้ได้บุคคลเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้นเพื่อให้เกิดการนำคนผิดมาลงโทษ การปิดวงล้อมและปะทะจนเกิดความสูญเสียหรือที่เรียกกันว่า “จับตาย” นั้นเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับการสร้างสันติภาพด้วยการเจรจาตามแนวทางที่ประกาศไว้ต่อสาธารณะ
- การจับตายหรือการใช้ศาลเตี้ยสังหารผู้ต้องสงสัยโดยพลการเป็นการทำลายหลักการทางกฎหมายที่สันนิษฐานว่าทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าศาลยุติธรรมจะตัดสินและหลักการ Due process ที่ต้องมีพิจารณาคดีกันในชั้นศาล อีกทั้งการวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลด้วยคือการไต่สวนการตาย ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่สังหารบุคคลทั้งสี่นั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- ในการปฏิบัติการทางทหารหากจะอ้างว่าเป็นภาวะสงครามก็ย่อมต้องนำหลักการทางทหารในภาวะสงครามมาใช้ให้เกิดความสูญเสียเสียหายต่อประชาชนพลเรือนน้อยที่สุด และต้องมีการปฏิบัติการที่ได้สัดสวน ได้ตามความจำเป็น อนึ่งการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายทหารในครั้งนี้ควรเป็นบทเรียนในการนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่จะลดความสูญเสียและการกระทำที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์และดำเนินการตามแนวทางสันติวิธีได้อย่างไร
และมีข้อเสนอแนะดังนี้
- ขอให้กอรมน.ภาคสี่ ทบทวนการปฏิบัติการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุมบุคคลผู้ต้องสงสัย โดยคำนึงถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และยึดมั่นต่อแนวทางสันติวิธีอย่างเคร่งครัด
- การทำงานกับชุมชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดการดำเนินการทางกฎหมายต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้ได้ผลในทางยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเจรจาสันติภาพ แทนการมุ่งมั่นปราบปรามโดยใช้กำลังทหารที่สร้างให้เกิดผลกระทบต่อความรู้สึก การทำงานด้านเจรจาระดับพื้นที่ที่ไม่เอื้อต่อการเจรจา
- ขอให้เยียวยาความเสียหายจากการขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ เนื่องจากหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาการปฏิบัติการทางการทหารในเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะนอกจากสิทธิในชีวิตและร่างกาย ความปลอดภัย การคุ้มครองสิทธิจากรัฐยังหมายรวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างมากจากเศรษฐกิจตกต่ำและการระบาดไวรัส Covid 19 ที่คุกคามวิถีชีวิตตามปกติมากขึ้นหลายเท่าตัว
- กรณีการระเบิดหน้าสำนักงานศอบต.ในวันที่ 17 มีนาคม 2563 ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยดำเนินการอำนวยความยุติธรรมภายใต้ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการป้องปรามการก่อเหตุความรุนแรงลักษณะเช่นนี้อีก
ข้อมูลเพิ่มเติม
นายอิสมาแอ เต๊ะ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
นางสาวอัญชนา หีมมีนะห์ กลุ่มด้วยใจ
[:th]
แถลงการณ์เรื่องความสูญเสียที่ริมเขื่อนปัตตานีและการระเบิดที่ศอบต.
ขัดกับแนวทางสันติวิธีและลดทอนบทบาทของการเจรจาสันติภาพ
เผยแพร่วันที่ 20 มีนาคม 2563
เมื่อวันที่ 12 มีนาคมจนวันนี้วันที่ 20 มีนาคม 2563 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ริมเขื่อนปัตตานีรอยต่อระหว่างตำบลตาเซะ อำเภอเมืองจังหวัดยะลาและ อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่ทางหน่วยงานความมั่นคงได้ปฏิบัติภารกิจ “การกระชับวงล้อม ปิดล้อมพื้นที่ จากเหตุปะทะคนร้าย” โดยมีรายงานจากการแถลงข่าวของโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่วนหน้า (กอรมน.ภาคสี่ส่วนหน้า) ว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นคนร้ายจำนวนสี่รายและมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตหนึ่งราย รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บเล็กน้อยจำนวนหนึ่ง โดยเริ่มจากการปฏิบัติการปิดล้อม ไล่ล่า กลุ่มบุคคลจำนวน 7 คนที่อ้างว่าเป็นผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์ความรุนแรงหลายเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้เวลาติดต่อกันทั้งกลางวันกลางคืนเป็นเวลารวม 9 วันเต็มถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งอาจเป็นยุทธิวิธีที่ขัดกับแนวทางสันติวิธีและลดทอนความพยายามในการเจรจาสันติภาพของคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และกลุ่มด้วยใจขอแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่ใช้แนวทางสันติวิธี รวมทั้งขอให้ทุกฝ่ายแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อกันให้กับผู้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่อไป โดยขณะนี้ทางกอรมน.ภาคสี่ ได้ระบุว่า ขออภัยชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ และจะยุติภารกิจในวันนี้วันที่ 20 มีนาคม 2563 เวลา 16.00 น.
อย่างไรก็ดี แนวทางการปฏิบัติการของหน่วยงานความมั่นคงดังปรากฏเป็นภาพข่าวและการแถลงข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงว่าเป็นการปฏิบัติการปิดล้อมพื้นที่ติดตามคนร้ายตามหมายจับนั้นเป็นการบังคับใช้กฎหมาย แต่กลับมีการใช้กองกำลังติดอาวุธจำนวนมากตลอดเวลา 9 วัน และอาจเป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้มีการโต้ตอบกลับโดยการวางระเบิดในพื้นที่สาธารณะบริเวณสำนักงานของศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้ใจกลางเมืองจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 แรงระเบิดที่รุนแรงทำให้มีผู้บาดเจ็บสี่รายและทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย การปฏิบัติการทางทหารและการโต้ตอบกลับโดยความรุนแรงของทุกฝ่ายนั้นมักส่งผลให้เกิดความเดือนร้อนเสียหายแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อการประกอบสัมมาอาชีพ ความปลอดภัย และสร้างความหวาดกลัวต่อสาธารณะ รวมทั้งความรุนแรงทางอาวุธที่โต้ตอบกันส่งผลต่อสภาพจิตใจของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว
องค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนทั้งสามองค์กรมีความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ดังนี้
- การปราบปรามการก่อความไม่สงบเป็นภารกิจที่สำคัญของหน่วยงานความมั่นคงหากแต่การเร่งรัดและดำเนินการด้วยกำลังพลและอาวุธสงครามต่อกลุ่มบุคคลที่มีหมายจับตามกฎหมายย่อมขัดกันและไม่ใช่แนวทางสันติวิธี การปฏิบัติการเพื่อให้ได้บุคคลเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้นเพื่อให้เกิดการนำคนผิดมาลงโทษ การปิดวงล้อมและปะทะจนเกิดความสูญเสียหรือที่เรียกกันว่า “จับตาย” นั้นเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับการสร้างสันติภาพด้วยการเจรจาตามแนวทางที่ประกาศไว้ต่อสาธารณะ
- การจับตายหรือการใช้ศาลเตี้ยสังหารผู้ต้องสงสัยโดยพลการเป็นการทำลายหลักการทางกฎหมายที่สันนิษฐานว่าทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าศาลยุติธรรมจะตัดสินและหลักการ Due process ที่ต้องมีพิจารณาคดีกันในชั้นศาล อีกทั้งการวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลด้วยคือการไต่สวนการตาย ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่สังหารบุคคลทั้งสี่นั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- ในการปฏิบัติการทางทหารหากจะอ้างว่าเป็นภาวะสงครามก็ย่อมต้องนำหลักการทางทหารในภาวะสงครามมาใช้ให้เกิดความสูญเสียเสียหายต่อประชาชนพลเรือนน้อยที่สุด และต้องมีการปฏิบัติการที่ได้สัดสวน ได้ตามความจำเป็น อนึ่งการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายทหารในครั้งนี้ควรเป็นบทเรียนในการนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่จะลดความสูญเสียและการกระทำที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์และดำเนินการตามแนวทางสันติวิธีได้อย่างไร
และมีข้อเสนอแนะดังนี้
- ขอให้กอรมน.ภาคสี่ ทบทวนการปฏิบัติการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุมบุคคลผู้ต้องสงสัย โดยคำนึงถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และยึดมั่นต่อแนวทางสันติวิธีอย่างเคร่งครัด
- การทำงานกับชุมชนและภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดการดำเนินการทางกฎหมายต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้ได้ผลในทางยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเจรจาสันติภาพ แทนการมุ่งมั่นปราบปรามโดยใช้กำลังทหารที่สร้างให้เกิดผลกระทบต่อความรู้สึก การทำงานด้านเจรจาระดับพื้นที่ที่ไม่เอื้อต่อการเจรจา
- ขอให้เยียวยาความเสียหายจากการขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ เนื่องจากหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาการปฏิบัติการทางการทหารในเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะนอกจากสิทธิในชีวิตและร่างกาย ความปลอดภัย การคุ้มครองสิทธิจากรัฐยังหมายรวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างมากจากเศรษฐกิจตกต่ำและการระบาดไวรัส Covid 19 ที่คุกคามวิถีชีวิตตามปกติมากขึ้นหลายเท่าตัว
- กรณีการระเบิดหน้าสำนักงานศอบต.ในวันที่ 17 มีนาคม 2563 ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยดำเนินการอำนวยความยุติธรรมภายใต้ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการป้องปรามการก่อเหตุความรุนแรงลักษณะเช่นนี้อีก
ข้อมูลเพิ่มเติม
นายอิสมาแอ เต๊ะ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
นางสาวอัญชนา หีมมีนะห์ กลุ่มด้วยใจ
[:]