[:en]ใบแจ้งข่าว ประเทศไทยต้องมีกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย[:th]ใบแจ้งข่าว ประเทศไทยต้องมีกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย[:]

Share

[:en]

ใบแจ้งข่าว

ประเทศไทยต้องมีกฎหมาย

ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

วันที่ 30  มกราคม พ.ศ. 2563  ตัวแทนองค์กร 12 องค์กรพร้อมนำรายชื่อบุคคลกว่า 100 คนยื่นร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฉบับประชาชน โดยมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร รวมกับสมาชิกกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาร่วมกับร่างพรบ.ชื่อเดียวกันที่ทางกระทรวงยุติธรรมเสนอเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ แล้ว  พร้อมกับจัดทำรายงานเปรียบเทียบร่างฉบับประชาชนและฉบับของรัฐบาลด้วย  โดยจะมีการยื่นต่อประธานรัฐสภา และพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลให้สนับสนุนร่างฉบับประชาชนนี้ด้วย

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมหนึ่งในองค์กรร่วมร่างพรบ.ฉบับประชาชนระบุว่าร่างกฎหมายฉบับประชาชนดังกล่าวนี้ยืนยันที่จะให้กฎหมายอนุวัติการมีสาระบัญญัติที่ครบถ้วนตามที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พ.ศ.2527 ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค.2550 และได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ.2549 ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2555

เช่น ถือการทรมานเนื่องจากเหตุของการเลือกปฏิบัติไม่ว่าในด้านใดจะกระทำมิได้ ห้ามผลักดันบุคคลออกนอกราชอาณาจักรหากบุคคลดังกล่าวอาจต้องเผชิญกับการทรมาน ห้ามอ้างเหตุผลหรือสถานการณ์ใดๆ รวมทั้งภาวะสงคราม กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อกระทำการทรมานหรือกระทำให้บุคคลสูญหาย ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำทรมานหรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย การกำหนดมาตรการป้องกันโดยให้มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ และการให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายทุกกรณี รวมทั้งให้มีอำนาจตรวจสอบและมีคำสั่งเพื่อระงับการทรมานและเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหาย เป็นต้น

สำหรับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายในส่วนของกระทรวงยุติธรรมนั้นได้นำเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว โดยเรื่องดำเนินไปถึงชั้นกรรมาธิการสมัยยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีการแก้ไขในหลายประเด็น ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยการเสนอของกระทรวงยุติธรรมขอถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกจากการพิจารณาของรัฐสภาในสมัยที่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณากฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม 2562 กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้นำร่างไปรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญและได้นำกลับมาใหม่โดยเสนอเข้าสู่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้

ข้อเสนอของร่างฯฉบับประชาชนที่แตกต่างที่สำคัญจากร่างของกระทรวงยุติธรรมที่สำคัญได้แก่ การปรับปรุงคำนิยาม คำว่า การควบคุมตัว  เจ้าหน้าที่รัฐ  ปรับปรุงสาระสำคัญของฐานความผิดเรื่องการทรมาน การกระทำให้บุคคลสูญหาย  การกระทำหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี  รวมทั้งนิยามถึงผู้ได้รับความเสียหายซึ่งหมายรวมถึงญาติทางพฤตินัยและนิตินัย ในส่วนการปราบปรามฯได้ปรับปรุงเหตุเพิ่มโทษ  ยืนยันบทรับรองหลักความเป็นความผิดสากล  ในส่วนการดำเนินคดี ร่างภาคประชาชนได้รับรองความเป็นผู้เสียหายทั้งกรณีทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายในคดีอาญาให้ได้รับทราบความจริงและเข้าถึงความเป็นธรรมได้  รวมทั้งกำหนดเรื่องการนับอายุความการทรมานเป็น 50 ปี และกำหนดอายุความการทำให้บุคคลสูญหายให้ต่อเนื่องจนกว่าจะเปิดเผยชะตากรรม อีกทั้งยังกำหนดให้คดีตามพรบ.ฉบับประชาชนนี้เป็นคดีพิเศษมีพนักงานอัยการเป็นพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน และไม่ให้ดำเนินคดีอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นต้น

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า “ร่างพรบ.ฉบับนี้ ปรับปรุงจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับผู้เสียหายจากการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย เช่นกรณีนายบิลลี่ เป็นต้น โดยทำให้กรอบกฎหมายมีความชัดเจน นำคนผิดมาลงโทษได้ และมีทั้งมาตรการป้องกันและปราบปราม ทั้งนี้เพื่อยับยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงทั้งสองเรื่องนี้จากการกระทำที่เกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐบางนาย และทำให้ผู้เสียหายที่ลำบากมากในการเข้าถึงความจริง ความเป็นธรรมและได้รับการเยียวยา”

รายชื่อองค์กรที่ร่วมกันยื่นร่างกฎหมาย

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฉบับประชาชน

1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)

2. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(สนส.)

3. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

4. เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี(HAP)

5. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน(TLHR)

6. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม(MAC)

7. กลุ่มด้วยใจ (Duayjai)

8. เครือข่ายปฏิรูปตำรวจ (Police Watch)

9. สถาบันเพื่อการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม(สปยธ.)

10. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)

11. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

12. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม  สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  081-642 4006

[:th]

ใบแจ้งข่าว

ประเทศไทยต้องมีกฎหมาย

ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย

วันที่ 30  มกราคม พ.ศ. 2563  ตัวแทนองค์กร 12 องค์กรพร้อมนำรายชื่อบุคคลกว่า 100 คนยื่นร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฉบับประชาชน โดยมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร รวมกับสมาชิกกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาร่วมกับร่างพรบ.ชื่อเดียวกันที่ทางกระทรวงยุติธรรมเสนอเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ แล้ว  พร้อมกับจัดทำรายงานเปรียบเทียบร่างฉบับประชาชนและฉบับของรัฐบาลด้วย  โดยจะมีการยื่นต่อประธานรัฐสภา และพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลให้สนับสนุนร่างฉบับประชาชนนี้ด้วย

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมหนึ่งในองค์กรร่วมร่างพรบ.ฉบับประชาชนระบุว่าร่างกฎหมายฉบับประชาชนดังกล่าวนี้ยืนยันที่จะให้กฎหมายอนุวัติการมีสาระบัญญัติที่ครบถ้วนตามที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พ.ศ.2527 ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค.2550 และได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ.2549 ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2555

เช่น ถือการทรมานเนื่องจากเหตุของการเลือกปฏิบัติไม่ว่าในด้านใดจะกระทำมิได้ ห้ามผลักดันบุคคลออกนอกราชอาณาจักรหากบุคคลดังกล่าวอาจต้องเผชิญกับการทรมาน ห้ามอ้างเหตุผลหรือสถานการณ์ใดๆ รวมทั้งภาวะสงคราม กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อกระทำการทรมานหรือกระทำให้บุคคลสูญหาย ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำทรมานหรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย การกำหนดมาตรการป้องกันโดยให้มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ และการให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายทุกกรณี รวมทั้งให้มีอำนาจตรวจสอบและมีคำสั่งเพื่อระงับการทรมานและเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหาย เป็นต้น

สำหรับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายในส่วนของกระทรวงยุติธรรมนั้นได้นำเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว โดยเรื่องดำเนินไปถึงชั้นกรรมาธิการสมัยยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีการแก้ไขในหลายประเด็น ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยการเสนอของกระทรวงยุติธรรมขอถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกจากการพิจารณาของรัฐสภาในสมัยที่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณากฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม 2562 กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้นำร่างไปรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญและได้นำกลับมาใหม่โดยเสนอเข้าสู่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้

ข้อเสนอของร่างฯฉบับประชาชนที่แตกต่างที่สำคัญจากร่างของกระทรวงยุติธรรมที่สำคัญได้แก่ การปรับปรุงคำนิยาม คำว่า การควบคุมตัว  เจ้าหน้าที่รัฐ  ปรับปรุงสาระสำคัญของฐานความผิดเรื่องการทรมาน การกระทำให้บุคคลสูญหาย  การกระทำหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี  รวมทั้งนิยามถึงผู้ได้รับความเสียหายซึ่งหมายรวมถึงญาติทางพฤตินัยและนิตินัย ในส่วนการปราบปรามฯได้ปรับปรุงเหตุเพิ่มโทษ  ยืนยันบทรับรองหลักความเป็นความผิดสากล  ในส่วนการดำเนินคดี ร่างภาคประชาชนได้รับรองความเป็นผู้เสียหายทั้งกรณีทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายในคดีอาญาให้ได้รับทราบความจริงและเข้าถึงความเป็นธรรมได้  รวมทั้งกำหนดเรื่องการนับอายุความการทรมานเป็น 50 ปี และกำหนดอายุความการทำให้บุคคลสูญหายให้ต่อเนื่องจนกว่าจะเปิดเผยชะตากรรม อีกทั้งยังกำหนดให้คดีตามพรบ.ฉบับประชาชนนี้เป็นคดีพิเศษมีพนักงานอัยการเป็นพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน และไม่ให้ดำเนินคดีอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นต้น

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า “ร่างพรบ.ฉบับนี้ ปรับปรุงจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับผู้เสียหายจากการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย เช่นกรณีนายบิลลี่ เป็นต้น โดยทำให้กรอบกฎหมายมีความชัดเจน นำคนผิดมาลงโทษได้ และมีทั้งมาตรการป้องกันและปราบปราม ทั้งนี้เพื่อยับยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงทั้งสองเรื่องนี้จากการกระทำที่เกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐบางนาย และทำให้ผู้เสียหายที่ลำบากมากในการเข้าถึงความจริง ความเป็นธรรมและได้รับการเยียวยา”

รายชื่อองค์กรที่ร่วมกันยื่นร่างกฎหมาย

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฉบับประชาชน

1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)

2. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(สนส.)

3. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)

4. เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี(HAP)

5. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน(TLHR)

6. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม(MAC)

7. กลุ่มด้วยใจ (Duayjai)

8. เครือข่ายปฏิรูปตำรวจ (Police Watch)

9. สถาบันเพื่อการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม(สปยธ.)

10. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)

11. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

12. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม  สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  081-642 4006

[:]

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading