วันที่ 29 มกราคม 2563 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 10.00 – 13.00 น. มีการจัดงานเสวนาแลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็นและแถลงข่าว ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…. มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
กล่าวเปิด
อังคณา นีละไพจิตร มูลนิธิยุติธรรมสันติภาพ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
… ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการบังคับให้คนสูญหายมายาวนาน เหตุการณ์สำคัญรวมถึงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ ผู้คนไม่กล้าร้องเรียนหรือแจ้งความเพราะต่างรู้ว่าเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ คดีการหายไปของทนายสมชายมีการฟ้องในคดีลักทรัพย์และข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว คดีต่อสู้ถึงศาลฎีกาและยกฟ้อง ญาติและผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถฟ้องแทนได้ กรอบกฎหมายปัจจุบันต้องให้ทนายสมชาย นีละไพจิตรมาฟ้องเอง เป็นข้อจำกัดของกฎหมายไทย คดีบิลลี่ มีประเด็นคำถามในประเด็นการตรวจพิสูจน์หลักฐาน การเทียบดีเอ็นเอทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถตรวจให้รอบด้าน แปลกใจในคดีบิลลี่ทำไมอัยการไม่ติดใจเรื่องนักศึกษากลับคำให้การ โดยภาพรวมเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎหมาย หากมีความผิดฐานการบังคับให้บุคคลสูญหาย กรณีที่ยกตัวอย่างนี้ ก็จะไม่ซับซ้อนและยากเย็นอย่างที่เป็นอยู่
ร่างกฎหมายพรบ.ทรมานและอุ้มหายของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้ถูกนำเสนอในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี 2561 แม้จะผ่านวาระแรกไปแล้ว และในรัฐบาลใหม่ชุดนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้พยายามจัดรับฟังความคิดเห็นเพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่มีความเห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นดำเนินการผ่านออนไลน์ไม่เพียงพอ การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นภูมิภาคยังไม่ทั่วถึง ต่อไปจะมีการนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้มาพิจารณาต่อ
จริงแล้วเห็นว่าร่างกฎหมายของรัฐบาลมีการรับรองสิทธิการมีชีวิตอยู่การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่ต้องมีความจริงใจในการทำงาน กฎหมายหลายฉบับตั้งแต่รัฐบาลประยุทธ 1 มีข้อบทที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอยู่มาก หวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ใช่แค่พิธีกรรม ต้องมีหลักประกันว่ากฎหมายจะสอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) และอนุสัญญาการป้องกันไม่ให้มีการบังคับให้บุคคลสูญหาย พร้อมๆ กันนี้ ต่อมาก็ต้องให้สัตยาบัน อนุสัญญาการป้องกันไม่ให้มีการบังคับให้บุคคลสูญหาย (CED) และเปิดให้คณะทำงานเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ และหวังว่าวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งมานั้นจะไม่คัดค้าน ขัดขวาง การเสนอร่างกฎหมายนี้เหมือนในสมัยที่ผ่านมา
ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ตัวแทนญาติผู้เสียหาย
ยินดีที่ได้มาฟังร่างกฎหมายและมีส่วนเป็นตัวแทนยื่นต่อสภาฯ ในวันพรุ่งนี้ ตนเองเป็นผู้เสียหายจากกรณีสามีได้หายตัวไปพร้อมกับอีกสองคน เมื่อเดือนธันวาคม 2561 พบศพลอยติดมาที่ท่าน้ำ 3 ครั้ง แต่ต่อมามีหนึ่งศพกลับหายไป ซึ่งผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ให้การไม่ตรงกับที่ปรากฏในข่าว ได้ไปแจ้งความเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถช่วยติดตามให้ได้ ตำรวจแจ้งว่าไม่รู้จะติดตามอย่างไร ยื่นหนังสือไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เงียบ จึงได้ไปร้องกับยูเอ็นแต่รัฐบาลยังไม่สามารถให้คำตอบได้ ร้องกับกสม. ตนเองต้องรับภาระในการจ่ายค่าปรับที่ศาลในอีกคดีที่ศาลพัทยา จำนวน 4.5 แสน และต้องผ่อนให้ศาลเดือนละ 3 พัน ซึ่งไม่สามารถขอจากกองทุนยุติธรรมได้ ไปขอลดก็ไม่ได้เพราะไม่มีตัวแล้ว จึงจำหน่ายเสื้อและสินค้าต่าง ๆ เพื่อใช้จ่ายเป็นความขัดข้องในข้อกฎหมายการบังคับให้บุคคลสูญหายทำให้ยากลำบากในการติดต่อราชการ
สมศักดิ์ ชื่นจิตร ตัวแทนญาติผู้เสียหาย
ลูกชายถูกเจ้าหน้าที่รัฐซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ในขณะเรียนม.6 ลูกชายถูกจับในข้อหาชิงทรัพย์ เอาถุงดำครอบหัว ไม่มีอากาศหายใจ ชักหลายครั้งตอนอยู่ในถุง จึงออกอุบายว่าจะพาไปหาทอง แล้วหนีออกมาได้ หลังจากดำเนินคดีกับลูกชายฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ (ไม่มีหลักฐานบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด) จึงดำเนินคดีข้อหาเสพยาเสพติด และต่อมาก็จับผู้ชิงทรัพย์ตัวจริงได้ การแจ้งความเรื่องทรมานลำบาก ต้องไปแจ้งถึงสามครั้ง เจ้าหน้าที่บางครั้งก็แจ้งว่าต้องส่งไป ปปช. อีกครั้งก็แจ้งว่าต้องส่งไป ปปท. ใช้เวลาถึงสามปี ยังไม่มีความคืบหน้า ติดต่อองค์กรเอกชน แล้วพบขบวนการสมอ้างเบิก/คำพยานเท็จทำให้สรุปสำนวนของรัฐยุติ จึงต้องฟ้องคดีเอง
ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าลูกชายถูกทำร้าย แต่มีกรณีที่ศาลยกฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายเพราะขาดอายุความเพราะนายตำรวจคนนั้นทำร้ายร่างกายไม่สาหัสอายุความเพียงหนึ่งปี เมื่อศาลยกฟ้องแล้วตำรวจนายดังกล่าวจึง กลับมาฟ้องกลับเพื่อปิดปากให้ถอนคดีที่ศาลลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงอีกนายหนึ่งไปแล้ว คดีที่ฟ้องลูกชายกลับข้อหาแจ้งความเท็จในคดีที่ฟ้องตำรวจ ศาลตัดสินจำคุกห้าปีไม่รอลงอาญา อยู่ในระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีอาญาที่เราฟ้องตำรวจข้อหาทำร้ายร่างกายลูกชาย มีความพยายามไกล่เกลี่ยในชั้นศาลอ้างว่าจะให้เงินคนละหนึ่งล้านและบวชอีกหนึ่งพรรษา การยอมรับผิดนี้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่จำนนต่อพยานหลักฐาน แต่ไม่ได้สำนึกผิดจริง พอศาลตัดสินลงโทษจริงแม้ศาลจะเชื่อว่าลูกชายถูกทำร้าย แต่ก็ยังพิจารณารอลงอาญาแก่นายตำรวจระดับสูงนายนั้น อ้างว่าเพราะวิชาชีพเป็นคุณ จึงจำคุกแปดเดือนและให้รอลงอาญา
ความรู้สึกเหมือนตกเหว ถูกผลักตกจากเหวหลาย ๆ รอบ ใครไม่เคยพบจะไม่เคยรู้เลยว่าการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมันร้ายแรงขนาดไหน ทุกข์แสนสาหัส หายนะเกิดขึ้นฉับพลันโดยที่เราไม่ได้เชื้อเชิญ ยังเชื่อว่าการต่อสู้ สู้ด้วยความเชื่อว่า ถ้าเราปราศจากความกลัว ก็อาจทำให้ผู้ที่ลุแก่อำนาจลดถอยลงบ้าง
สรุปเนื้อหาร่างกฎหมาย ฉบับประชาชน
เวทีแลกเปลี่ยนรับฟังความเห็น
ดำเนินรายการโดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
สมศรี หาญอนันตสุข – อยากให้ขยายความเรื่องกลไกพิเศษ
ตอบ – อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ แต่พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบสำนวนโดยตรง เมื่อเห็นว่าพร้อมแล้วก็สามารถสั่งฟ้องได้เลย ผู้ได้รับความเสียหายรับผิดชอบสำนวนตั้งแต่ต้น ออกแบบให้มีกลไกช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งเชื่อว่าองค์กรกลุ่มที่มีผู้แทนผู้เสียหาย/ภาคประชาสังคมร่วมอยู่ด้วยน่าจะทำให้ง่ายขึ้น กรอบกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอน ย่อมทำให้เกิดชัดเจนยิ่งขึ้น
สุนัย ผาสุก HRW – ให้กำลังใจผู้จัดทำร่าง ขอเน้นย้ำ เป็นการไล่จับนวัตกรรมที่รัฐไทยประดิษฐ์ขึ้น เช่น เรื่องการเชิญตัว ฯลฯ เป็นจุดที่คณะทำงานพยามตอบการสร้างข้อโต้แย้งในทางกฎหมาย คำถามมีแผนที่จะ lobby อย่างไรเพื่อที่จะไม่ถูกแปรเปลี่ยนสาระของกฎหมาย
ตอบ – ถ้าประชาชนเข้ารายชื่อจะมีสัดส่วน 1/3 ซึ่งน่าจะมีส่วนโต้แย้งในชั้นกรรมาธิการ แต่อาจไม่ทัน แนวทางคือพยายามที่จะทำงานกับทุกพรรคการเมือง
ปิยนุช โคตรสาร Amnesty International Thailand – อยากให้เน้นหลักการห้ามผลักดันกลับเพราะเป็นประเด็นภูมิภาคแล้ว เราจะทำอย่างไรให้การผลักดันออกไป จะสื่อออกไปอย่างไร ซึ่ง AI จะพยายามช่วยทำวิธีการสื่อสารออกไป
สุนัย ผาสุก HRW – ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ อาชญากรรมของรัฐ ทุกคนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่มีใครมีความปลอดภัยจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ประเด็นเรื่องการจับแพะ ประเด็นเรื่องการปฏิบัติกับคนที่เห็นว่าเป็นศัตรู
สมนึก ตุ้มสุภาพ สภาทนายความ – สงสัยเรื่ององค์ประกอบความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย อาจทำให้ศาลไม่เข้าใจในเรื่องการตีความ ถ้าศาลไม่เข้าใจอาจกลายเป็นบรรทัดฐานด้วย อีกส่วนคือบทกำหนดโทษ (เห็นว่าความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายน่าจะเกี่ยวข้องกับการทรมานด้วย)
กลุ่มสิทธิผู้หญิงในการยุติการตั้งครรภ์ – ข้อแนะนำของคณะกรรมการ CAT ให้ความเห็นว่าการปิดกั้นการไม่ให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการทำแท้งเป็นการทรมาน ทำให้ผู้หญิงต้องดิ้นรนหาบริการเองและทำให้ใช้บริการไม่ปลอดภัย ประเด็นคำถามคือครอบคลุมถึงการละเว้นการปฏิบัติไหม
ตัวแทนผู้เสียหายจากจังหวัดชายแดนใต้ – อิสมาแอ เต๊ะในจังหวัดชายแดนใต้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหกราย ผู้ถูกทรมาน/ผู้เสียชีวิตยังไม่เข้าถึงความยุติธรรมในพื้นที่ ยังไม่มีการชดเชยเยียวยาแท้จริง สู้คดีแปดปี ฟ้องกลับและสุดท้ายศาลตัดสินว่าถูกกระทำและได้รับเงินเยียวยา แต่ในทางอาญายังไม่สามารถดำเนินคดีได้
เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ – คดีกรณีเสียชีวิตภายใต้กฎหมายอำนาจพิเศษ เสียชีวิตในระหว่างควบคุมตัว ในค่ายทหาร ในหมู่บ้าน (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นกลุ่มที่มีหมาย พรก. จึงยังเป็นกรณีที่ไม่ถูกบันทึกและไม่เปิดเผย ชาวบ้านไม่กล้าดำเนินการ ข้อกังวลคือความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า
ชลธิชา แจ้งเร็ว นักกิจกรรม – ฝากข้อกังวลในประเด็น Gender ถูกควบคุมตัว คุกคาม ถูกละเมิดในระหว่างควบคุมตัวถูก (Harassment) ในข่าว ซึ่งประเด็นเหล่านี้ sensitive น่าจะคำนึงประเด็นนี้ในสัดส่วนของคณะกรรมการด้วย อีกส่วนคือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวที่กระทบต่อผู้หญิง
กล่าวปิดและแถลงข่าว
สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ขอบคุณที่ให้ข้อมูล ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ไม่ได้คาดเดาอย่างเลื่อนลอย แต่เป็นความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นแล้วในสังคม จึงต้องมีการออกกฎหมายมาเพื่อแก้ไข และสุดท้ายคือการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหาตลอดมา
ปัญหาการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหายเกิดขึ้นทั่วโลก เกิดจากคนทำมีหลายคน มีอาวุธ มีเครื่องแบบ มีการบังคับบัญชา พื้นที่ที่ทำเป็นพื้นที่เฉพาะ ทำให้ไม่สามารถหาหลักฐานได้ ทำให้ไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำได้ จึงเป็นที่มาของการออกกฎหมายนี้ โดยเครือข่ายองค์กร 12 องค์กรที่สนับสนุนร่างพรบ.ฉบับประชาชนนี้ จะนำร่างฯ ฉบับนี้ไปยื่นกับประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาสนับสนุนร่างฉบับประชาชนนี้ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 เวลา11.00 น.ที่พื้นที่แถลงข่าว สภาผู้แทนราษฎร



วันที่ 29 มกราคม 2563 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 10.00 – 13.00 น. มีการจัดงานเสวนาแลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็น และแถลงข่าว ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ…. มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
กล่าวเปิด
อังคณา นีละไพจิตร มูลนิธิยุติธรรมสันติภาพ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการบังคับให้คนสูญหายมายาวนาน เหตุการณ์สำคัญรวมถึงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ ผู้คนไม่กล้าร้องเรียนหรือแจ้งความเพราะต่างรู้ว่าเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ คดีการหายไปของทนายสมชายมีการฟ้องในคดีลักทรัพย์และข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว คดีต่อสู้ถึงศาลฎีกาและยกฟ้อง ญาติและผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถฟ้องแทนได้ กรอบกฎหมายปัจจุบันต้องให้ทนายสมชาย นีละไพจิตรมาฟ้องเอง เป็นข้อจำกัดของกฎหมายไทย คดีบิลลี่ มีประเด็นคำถามในประเด็นการตรวจพิสูจน์หลักฐาน การเทียบดีเอ็นเอทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถตรวจให้รอบด้าน แปลกใจในคดีบิลลี่ทำไมอัยการไม่ติดใจเรื่องนักศึกษากลับคำให้การ โดยภาพรวมเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎหมาย หากมีความผิดฐานการบังคับให้บุคคลสูญหาย กรณีที่ยกตัวอย่างนี้ ก็จะไม่ซับซ้อนและยากเย็นอย่างที่เป็นอยู่
ร่างกฎหมายพรบ.ทรมานและอุ้มหายของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้ถูกนำเสนอในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี 2561 แม้จะผ่านวาระแรกไปแล้ว และในรัฐบาลใหม่ชุดนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้พยายามจัดรับฟังความคิดเห็นเพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่มีความเห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นดำเนินการผ่านออนไลน์ไม่เพียงพอ การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นภูมิภาคยังไม่ทั่วถึง ต่อไปจะมีการนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้มาพิจารณาต่อ
จริงแล้วเห็นว่าร่างกฎหมายของรัฐบาลมีการรับรองสิทธิการมีชีวิตอยู่การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่ต้องมีความจริงใจในการทำงาน กฎหมายหลายฉบับตั้งแต่รัฐบาลประยุทธ 1 มีข้อบทที่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอยู่มาก หวังว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ใช่แค่พิธีกรรม ต้องมีหลักประกันว่ากฎหมายจะสอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) และอนุสัญญาการป้องกันไม่ให้มีการบังคับให้บุคคลสูญหาย พร้อมๆ กันนี้ ต่อมาก็ต้องให้สัตยาบัน อนุสัญญาการป้องกันไม่ให้มีการบังคับให้บุคคลสูญหาย (CED) และเปิดให้คณะทำงานเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ และหวังว่าวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งมานั้นจะไม่คัดค้าน ขัดขวาง การเสนอร่างกฎหมายนี้เหมือนในสมัยที่ผ่านมา
ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ตัวแทนญาติผู้เสียหาย
ยินดีที่ได้มาฟังร่างกฎหมายและมีส่วนเป็นตัวแทนยื่นต่อสภาฯ ในวันพรุ่งนี้ ตนเองเป็นผู้เสียหายจากกรณีสามีได้หายตัวไปพร้อมกับอีกสองคน เมื่อเดือนธันวาคม 2561 พบศพลอยติดมาที่ท่าน้ำ 3 ครั้ง แต่ต่อมามีหนึ่งศพกลับหายไป ซึ่งผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ให้การไม่ตรงกับที่ปรากฏในข่าว ได้ไปแจ้งความเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถช่วยติดตามให้ได้ ตำรวจแจ้งว่าไม่รู้จะติดตามอย่างไร ยื่นหนังสือไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เงียบ จึงได้ไปร้องกับยูเอ็นแต่รัฐบาลยังไม่สามารถให้คำตอบได้ ร้องกับกสม. ตนเองต้องรับภาระในการจ่ายค่าปรับที่ศาลในอีกคดีที่ศาลพัทยา จำนวน 4.5 แสน และต้องผ่อนให้ศาลเดือนละ 3 พัน ซึ่งไม่สามารถขอจากกองทุนยุติธรรมได้ ไปขอลดก็ไม่ได้เพราะไม่มีตัวแล้ว จึงจำหน่ายเสื้อและสินค้าต่าง ๆ เพื่อใช้จ่ายเป็นความขัดข้องในข้อกฎหมายการบังคับให้บุคคลสูญหายทำให้ยากลำบากในการติดต่อราชการ
สมศักดิ์ ชื่นจิตร ตัวแทนญาติผู้เสียหาย
ลูกชายถูกเจ้าหน้าที่รัฐซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ในขณะเรียนม.6 ลูกชายถูกจับในข้อหาชิงทรัพย์ เอาถุงดำครอบหัว ไม่มีอากาศหายใจ ชักหลายครั้งตอนอยู่ในถุง จึงออกอุบายว่าจะพาไปหาทอง แล้วหนีออกมาได้ หลังจากดำเนินคดีกับลูกชายฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ (ไม่มีหลักฐานบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด) จึงดำเนินคดีข้อหาเสพยาเสพติด และต่อมาก็จับผู้ชิงทรัพย์ตัวจริงได้ การแจ้งความเรื่องทรมานลำบาก ต้องไปแจ้งถึงสามครั้ง เจ้าหน้าที่บางครั้งก็แจ้งว่าต้องส่งไป ปปช. อีกครั้งก็แจ้งว่าต้องส่งไป ปปท. ใช้เวลาถึงสามปี ยังไม่มีความคืบหน้า ติดต่อองค์กรเอกชน แล้วพบขบวนการสมอ้างเบิก/คำพยานเท็จทำให้สรุปสำนวนของรัฐยุติ จึงต้องฟ้องคดีเอง
ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าลูกชายถูกทำร้าย แต่มีกรณีที่ศาลยกฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายเพราะขาดอายุความเพราะนายตำรวจคนนั้นทำร้ายร่างกายไม่สาหัสอายุความเพียงหนึ่งปี เมื่อศาลยกฟ้องแล้วตำรวจนายดังกล่าวจึง กลับมาฟ้องกลับเพื่อปิดปากให้ถอนคดีที่ศาลลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงอีกนายหนึ่งไปแล้ว คดีที่ฟ้องลูกชายกลับข้อหาแจ้งความเท็จในคดีที่ฟ้องตำรวจ ศาลตัดสินจำคุกห้าปีไม่รอลงอาญา อยู่ในระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีอาญาที่เราฟ้องตำรวจข้อหาทำร้ายร่างกายลูกชาย มีความพยายามไกล่เกลี่ยในชั้นศาลอ้างว่าจะให้เงินคนละหนึ่งล้านและบวชอีกหนึ่งพรรษา การยอมรับผิดนี้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่จำนนต่อพยานหลักฐาน แต่ไม่ได้สำนึกผิดจริง พอศาลตัดสินลงโทษจริงแม้ศาลจะเชื่อว่าลูกชายถูกทำร้าย แต่ก็ยังพิจารณารอลงอาญาแก่นายตำรวจระดับสูงนายนั้น อ้างว่าเพราะวิชาชีพเป็นคุณ จึงจำคุกแปดเดือนและให้รอลงอาญา
ความรู้สึกเหมือนตกเหว ถูกผลักตกจากเหวหลาย ๆ รอบ ใครไม่เคยพบจะไม่เคยรู้เลยว่าการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมันร้ายแรงขนาดไหน ทุกข์แสนสาหัส หายนะเกิดขึ้นฉับพลันโดยที่เราไม่ได้เชื้อเชิญ ยังเชื่อว่าการต่อสู้ สู้ด้วยความเชื่อว่า ถ้าเราปราศจากความกลัว ก็อาจทำให้ผู้ที่ลุแก่อำนาจลดถอยลงบ้าง
สรุปเนื้อหาร่างกฎหมาย ฉบับประชาชน
เวทีแลกเปลี่ยนรับฟังความเห็น
ดำเนินรายการโดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
สมศรี หาญอนันตสุข – อยากให้ขยายความเรื่องกลไกพิเศษ
ตอบ – อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอ แต่พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบสำนวนโดยตรง เมื่อเห็นว่าพร้อมแล้วก็สามารถสั่งฟ้องได้เลย ผู้ได้รับความเสียหายรับผิดชอบสำนวนตั้งแต่ต้น ออกแบบให้มีกลไกช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งเชื่อว่าองค์กรกลุ่มที่มีผู้แทนผู้เสียหาย/ภาคประชาสังคมร่วมอยู่ด้วยน่าจะทำให้ง่ายขึ้น กรอบกฎหมายที่มีความชัดเจนแน่นอน ย่อมทำให้เกิดชัดเจนยิ่งขึ้น
สุนัย ผาสุก HRW – ให้กำลังใจผู้จัดทำร่าง ขอเน้นย้ำ เป็นการไล่จับนวัตกรรมที่รัฐไทยประดิษฐ์ขึ้น เช่น เรื่องการเชิญตัว ฯลฯ เป็นจุดที่คณะทำงานพยามตอบการสร้างข้อโต้แย้งในทางกฎหมาย คำถามมีแผนที่จะ lobby อย่างไรเพื่อที่จะไม่ถูกแปรเปลี่ยนสาระของกฎหมาย
ตอบ – ถ้าประชาชนเข้ารายชื่อจะมีสัดส่วน 1/3 ซึ่งน่าจะมีส่วนโต้แย้งในชั้นกรรมาธิการ แต่อาจไม่ทัน แนวทางคือพยายามที่จะทำงานกับทุกพรรคการเมือง
ปิยนุช โคตรสาร Amnesty International Thailand – อยากให้เน้นหลักการห้ามผลักดันกลับเพราะเป็นประเด็นภูมิภาคแล้ว เราจะทำอย่างไรให้การผลักดันออกไป จะสื่อออกไปอย่างไร ซึ่ง AI จะพยายามช่วยทำวิธีการสื่อสารออกไป
สุนัย ผาสุก HRW – ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ อาชญากรรมของรัฐ ทุกคนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่มีใครมีความปลอดภัยจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ประเด็นเรื่องการจับแพะ ประเด็นเรื่องการปฏิบัติกับคนที่เห็นว่าเป็นศัตรู
สมนึก ตุ้มสุภาพ สภาทนายความ – สงสัยเรื่ององค์ประกอบความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย อาจทำให้ศาลไม่เข้าใจในเรื่องการตีความ ถ้าศาลไม่เข้าใจอาจกลายเป็นบรรทัดฐานด้วย อีกส่วนคือบทกำหนดโทษ (เห็นว่าความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายน่าจะเกี่ยวข้องกับการทรมานด้วย)
กลุ่มสิทธิผู้หญิงในการยุติการตั้งครรภ์ – ข้อแนะนำของคณะกรรมการ CAT ให้ความเห็นว่าการปิดกั้นการไม่ให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการทำแท้งเป็นการทรมาน ทำให้ผู้หญิงต้องดิ้นรนหาบริการเองและทำให้ใช้บริการไม่ปลอดภัย ประเด็นคำถามคือครอบคลุมถึงการละเว้นการปฏิบัติไหม
ตัวแทนผู้เสียหายจากจังหวัดชายแดนใต้ – อิสมาแอ เต๊ะในจังหวัดชายแดนใต้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหกราย ผู้ถูกทรมาน/ผู้เสียชีวิตยังไม่เข้าถึงความยุติธรรมในพื้นที่ ยังไม่มีการชดเชยเยียวยาแท้จริง สู้คดีแปดปี ฟ้องกลับและสุดท้ายศาลตัดสินว่าถูกกระทำและได้รับเงินเยียวยา แต่ในทางอาญายังไม่สามารถดำเนินคดีได้
เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ – คดีกรณีเสียชีวิตภายใต้กฎหมายอำนาจพิเศษ เสียชีวิตในระหว่างควบคุมตัว ในค่ายทหาร ในหมู่บ้าน (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นกลุ่มที่มีหมาย พรก. จึงยังเป็นกรณีที่ไม่ถูกบันทึกและไม่เปิดเผย ชาวบ้านไม่กล้าดำเนินการ ข้อกังวลคือความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า
ชลธิชา แจ้งเร็ว นักกิจกรรม – ฝากข้อกังวลในประเด็น Gender ถูกควบคุมตัว คุกคาม ถูกละเมิดในระหว่างควบคุมตัวถูก (Harassment) ในข่าว ซึ่งประเด็นเหล่านี้ sensitive น่าจะคำนึงประเด็นนี้ในสัดส่วนของคณะกรรมการด้วย อีกส่วนคือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวที่กระทบต่อผู้หญิง
กล่าวปิดและแถลงข่าว
สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ขอบคุณที่ให้ข้อมูล ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ไม่ได้คาดเดาอย่างเลื่อนลอย แต่เป็นความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นแล้วในสังคม จึงต้องมีการออกกฎหมายมาเพื่อแก้ไข และสุดท้ายคือการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหาตลอดมา
ปัญหาการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหายเกิดขึ้นทั่วโลก เกิดจากคนทำมีหลายคน มีอาวุธ มีเครื่องแบบ มีการบังคับบัญชา พื้นที่ที่ทำเป็นพื้นที่เฉพาะ ทำให้ไม่สามารถหาหลักฐานได้ ทำให้ไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำได้ จึงเป็นที่มาของการออกกฎหมายนี้ โดยเครือข่ายองค์กร 12 องค์กรที่สนับสนุนร่างพรบ.ฉบับประชาชนนี้ จะนำร่างฯ ฉบับนี้ไปยื่นกับประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาสนับสนุนร่างฉบับประชาชนนี้ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 เวลา11.00 น.ที่พื้นที่แถลงข่าว สภาผู้แทนราษฎร