[:th]CrCF Logo[:]

[:en]ศาลแพ่ง ยกฟ้อง คดีบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด ฟ้องทนายความสิทธิมนุษยชนสองคน เพราะทำตามหน้าที่ทนายความโดยสุจริตไม่ละเมิดบริษัท[:th]ศาลแพ่ง ยกฟ้อง คดีบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด ฟ้องทนายความสิทธิมนุษยชนสองคน เพราะทำตามหน้าที่ทนายความโดยสุจริตไม่ละเมิดบริษัท[:]

Share

[:en]

ศาลแพ่งยกฟ้อง

คดีบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด ฟ้องทนายความสิทธิมนุษยชน

วันที่ 24 ธันวาคม 2562 เวลา 09.00 น. ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษา คดีระหว่าง บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด โจทก์ ฟ้องนายแอนดรู โจนาธาน ฮอลล์ (Mr. Andrew Jonathan Hall) หรืออานดี้ ฮอลล์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ เป็นจำเลยที่ 1 ทนายความสิทธิมนุษยชนสองคน คือ ทนายความนคร ชมพูชาติ เป็นจำเลยที่ 2 และทนายความศิรา โอสถธรรม เป็นจำเลยที่ 3 ฐานละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท มูลเหตุเกี่ยวเนื่องจากการทำหน้าที่ทนายความในคดีพิพาทระหว่างของนายอานดี้ ฮอลล์ กับ บริษัท เนเชอรัล ฟรุต ฯ หลายคดี โดยคดีนี้ก่อนการสืบพยานบริษัทได้ถอนฟ้องนายอานดี้ ฮอลล์ ไปก่อนเนื่องจากไม่ได้อยู่ในประเทศไทย

ข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากกรณีที่บริษัทได้ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับนายอานดี้ ฮอลล์ หลายคดี โดยกล่าวหาว่ามีส่วนในการส่งข้อมูลให้กับองค์กรฟินน์ วอช (Finn Watch) ซึ่งเป็นองค์กรผู้บริโภค ประเทศฟินน์แลนด์ ว่าบริษัทละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในการผลิตผลไม้กระป๋องที่ส่งไปจำหน่ายในตลาดยุโรป มีผลทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ยอดสั่งซื้อและจำหน่ายสินค้าดังกล่าวลดลงอย่างมาก โดยทนายความนคร ชมพูชาติ และทนายความศิรา โอสถธรรม จำเลยในคดีนี้ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มองค์การด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนให้เป็นทนายความแก้ต่างให้แก่นายอานดี้ ฮอลล์ จนชนะหลายคดี

คดีนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 บริษัทได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  สถานีตำรวจนครบาลบางนา  ให้ดำเนินคดีอาญากับนายอานดี้ ฮอลล์ ในข้อหาหมิ่นประมาท  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326  โดยกล่าวหาว่ามีการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาซีร่าในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริษัททำให้บริษัทเสียหาย ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2557 พนักงานอัยการ  ได้ยื่นฟ้องนายอานดี้ ฮอลล์ เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2051/2557 ต่อศาลจังหวัดพระโขนง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326  คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง

          เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 นายอานดี้ ฮอลล์ ได้มอบอำนาจให้ทนายความนคร ชมพูชาติ ยื่นฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2248/2560 คดีหมายเลขแดงที่ 1564/2561 ต่อศาลจังหวัดพระโขนง  ระหว่าง นายแอนดรู โจนาธาน ฮอลล์ หรือ แอนดี้ ฮอลล์ โจทก์ บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน จำเลย ข้อหา แจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ โดยมีการแต่งตั้งทนายความศิรา โอสถธรรม เป็นทนายความ  ซึ่งคดีนี้ศาลจังหวัดพระโขนงและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด

          จากเหตุดังกล่าวบริษัทอ้างว่านายนคร ชมพูชาติ และนายศิรา โอสถธรรม ซึ่งเป็นทนายความของนายอานดี้ ฮอลล์ ได้เสนอความเห็นและแนะนำนายอานดี้ ฮอลล์  เป็นเหตุให้นายอานดี้ ฮอลล์ ตัดสินใจฟ้องคดีอาญาต่อบริษัทกับพวกเพื่อให้รับโทษทางอาญาโดยไม่สุจริต ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง และทางทำมาหาได้  จึงฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาลแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายนายอานดี้ ฮอลล์ และทนายความทั้งสอง  ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินรวม 50 ล้านบาท

ในวันนี้ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด  โดยให้เหตุผลสรุปว่า ทนายความนคร ชมพูชาติ และทนายความศิรา โอสถธรรม ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ ได้กระทำการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายอานดี้ ฮอลล์ โดยสุจริต ไม่ได้ละเมิดต่อบริษัทจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง

ในระยะหลายปีที่ผ่านมาลูกจ้าง รวมทั้งแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ร้องเรียนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเนื่องจากถูกนายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน ได้ถูกนายจ้างดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท แจ้งความเท็จ หรือฟ้องเท็จ  เช่นเดียวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Right Defender) และผู้นำชุมชนที่ถูกบริษัทธุรกิจ เจ้าของโรงงาน ดำเนินคดีในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากบทบาทในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนชายขอบ เช่น ร้องเรียนว่าโรงงานก่อมลภาวะให้แก่ชุมชน การดำเนินคดีในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการที่ภาคธุรกิจฟ้องคดีเพื่อกลั่นแกล้งไม่ให้ประชาชนตรวจสอบการดำเนินการที่ไม่ชอบของภาคธุรกิจ หรือขัดขวางไม่ให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรม ปิดกั้นการเปิดเผยหรือเผยแพร่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อไม่ให้สังคมและคู่ค้าทางธุรกิจรับทราบการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมและคู่ค้ารวมทั้งผู้บริโภคในห่วงโซ่การอุปทาน  โดยที่ไม่ได้หวังผลใดๆ ทางคดี  แต่ต้องการจะใช้ศาลเป็นกำบังเพื่อใช้ประโยชน์ใช้ศาลเป็นเครื่องมือ  ในการทำให้เกิดความกลัวและไม่กล้าใช้สิทธิพลเมือง หรือสิทธิตามกฎหมาย  หรือทำหน้าที่  เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation: SLAPP) อันเป็นการขัดต่อหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และของประเทศไทย โดยที่รัฐไทยยังไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือแก้ไขการฟ้องคดีเพื่อกลั่นแกล้งประชาชนในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด

[:th]

ศาลแพ่งยกฟ้อง

คดีบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด ฟ้องทนายความสิทธิมนุษยชน

วันที่ 24 ธันวาคม 2562 เวลา 09.00 น. ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษา คดีระหว่าง บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด โจทก์ ฟ้องนายแอนดรู โจนาธาน ฮอลล์ (Mr. Andrew Jonathan Hall) หรืออานดี้ ฮอลล์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ เป็นจำเลยที่ 1 ทนายความสิทธิมนุษยชนสองคน คือ ทนายความนคร ชมพูชาติ เป็นจำเลยที่ 2 และทนายความศิรา โอสถธรรม เป็นจำเลยที่ 3 ฐานละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท มูลเหตุเกี่ยวเนื่องจากการทำหน้าที่ทนายความในคดีพิพาทระหว่างของนายอานดี้ ฮอลล์ กับ บริษัท เนเชอรัล ฟรุต ฯ หลายคดี โดยคดีนี้ก่อนการสืบพยานบริษัทได้ถอนฟ้องนายอานดี้ ฮอลล์ ไปก่อนเนื่องจากไม่ได้อยู่ในประเทศไทย

ข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากกรณีที่บริษัทได้ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับนายอานดี้ ฮอลล์ หลายคดี โดยกล่าวหาว่ามีส่วนในการส่งข้อมูลให้กับองค์กรฟินน์ วอช (Finn Watch) ซึ่งเป็นองค์กรผู้บริโภค ประเทศฟินน์แลนด์ ว่าบริษัทละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในการผลิตผลไม้กระป๋องที่ส่งไปจำหน่ายในตลาดยุโรป มีผลทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ยอดสั่งซื้อและจำหน่ายสินค้าดังกล่าวลดลงอย่างมาก โดยทนายความนคร ชมพูชาติ และทนายความศิรา โอสถธรรม จำเลยในคดีนี้ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มองค์การด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนให้เป็นทนายความแก้ต่างให้แก่นายอานดี้ ฮอลล์ จนชนะหลายคดี

คดีนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 บริษัทได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  สถานีตำรวจนครบาลบางนา  ให้ดำเนินคดีอาญากับนายอานดี้ ฮอลล์ ในข้อหาหมิ่นประมาท  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326  โดยกล่าวหาว่ามีการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาซีร่าในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริษัททำให้บริษัทเสียหาย ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2557 พนักงานอัยการ  ได้ยื่นฟ้องนายอานดี้ ฮอลล์ เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2051/2557 ต่อศาลจังหวัดพระโขนง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326  คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง

          เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 นายอานดี้ ฮอลล์ ได้มอบอำนาจให้ทนายความนคร ชมพูชาติ ยื่นฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2248/2560 คดีหมายเลขแดงที่ 1564/2561 ต่อศาลจังหวัดพระโขนง  ระหว่าง นายแอนดรู โจนาธาน ฮอลล์ หรือ แอนดี้ ฮอลล์ โจทก์ บริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน จำเลย ข้อหา แจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ โดยมีการแต่งตั้งทนายความศิรา โอสถธรรม เป็นทนายความ  ซึ่งคดีนี้ศาลจังหวัดพระโขนงและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด

          จากเหตุดังกล่าวบริษัทอ้างว่านายนคร ชมพูชาติ และนายศิรา โอสถธรรม ซึ่งเป็นทนายความของนายอานดี้ ฮอลล์ ได้เสนอความเห็นและแนะนำนายอานดี้ ฮอลล์  เป็นเหตุให้นายอานดี้ ฮอลล์ ตัดสินใจฟ้องคดีอาญาต่อบริษัทกับพวกเพื่อให้รับโทษทางอาญาโดยไม่สุจริต ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง และทางทำมาหาได้  จึงฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาลแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายนายอานดี้ ฮอลล์ และทนายความทั้งสอง  ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินรวม 50 ล้านบาท

ในวันนี้ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องบริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด  โดยให้เหตุผลสรุปว่า ทนายความนคร ชมพูชาติ และทนายความศิรา โอสถธรรม ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ ได้กระทำการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายอานดี้ ฮอลล์ โดยสุจริต ไม่ได้ละเมิดต่อบริษัทจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง

ในระยะหลายปีที่ผ่านมาลูกจ้าง รวมทั้งแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ร้องเรียนเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเนื่องจากถูกนายจ้างละเมิดสิทธิแรงงาน ได้ถูกนายจ้างดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท แจ้งความเท็จ หรือฟ้องเท็จ  เช่นเดียวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Right Defender) และผู้นำชุมชนที่ถูกบริษัทธุรกิจ เจ้าของโรงงาน ดำเนินคดีในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากบทบาทในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนชายขอบ เช่น ร้องเรียนว่าโรงงานก่อมลภาวะให้แก่ชุมชน การดำเนินคดีในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการที่ภาคธุรกิจฟ้องคดีเพื่อกลั่นแกล้งไม่ให้ประชาชนตรวจสอบการดำเนินการที่ไม่ชอบของภาคธุรกิจ หรือขัดขวางไม่ให้ประชาชนเข้าถึงความเป็นธรรม ปิดกั้นการเปิดเผยหรือเผยแพร่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อไม่ให้สังคมและคู่ค้าทางธุรกิจรับทราบการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมและคู่ค้ารวมทั้งผู้บริโภคในห่วงโซ่การอุปทาน  โดยที่ไม่ได้หวังผลใดๆ ทางคดี  แต่ต้องการจะใช้ศาลเป็นกำบังเพื่อใช้ประโยชน์ใช้ศาลเป็นเครื่องมือ  ในการทำให้เกิดความกลัวและไม่กล้าใช้สิทธิพลเมือง หรือสิทธิตามกฎหมาย  หรือทำหน้าที่  เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation: SLAPP) อันเป็นการขัดต่อหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และของประเทศไทย โดยที่รัฐไทยยังไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือแก้ไขการฟ้องคดีเพื่อกลั่นแกล้งประชาชนในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด

[:]

TAG

RELATED ARTICLES