ปฏิญญาสากล Safe School เพื่อการคุ้มครองเด็กในสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ โดยพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
คือเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562 มีรายงานว่าองค์การสหประชาติระบุว่ามีประเทศสมาชิกจำนวน 101 ประเทศ ลงนามรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องโรงเรียนที่ปลอดภัย เราลองไล่ดูว่าประเทศไทยจะอยู่ในรายชื่อประเทศที่รับรองหรือไม่ ถ้าตามลำดับตัวอักษรก็จะอยู่ในกลุ่ม S- T ลองไล่ลงมามี Sudan /Sweden/ Switzerland/ Ukraine และก็น่าตกใจเมื่อปรากฏว่าประเทศไทยไม่ได้รับรองปฏิญญาสากลฉบับนี้ [1]
เมื่อต้นปี 2562 ถ้าจำไม่ผิดน่าจะวันที่ 25 มกราคม 2562 ซึ่งก็เกือบครบรอบหนึ่งปี เราได้รับเชิญไปร่วมประชุมกับกระทรวงต่างประเทศ ที่จัดการประชุมเรื่อง ปฏิญญาว่าด้วยโรงเรียนที่ปลอดภัย (Safe School Declaration 2015 ) มีเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานราชการ และเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงานมาร่วมกันพูดคุยเพื่อหาแนวทางการคุ้มครองเด็กและโรงเรียนในสถานการณ์ความขัดแย้ง และทางกระทรวงการต่างประเทศก็พร้อมให้คำมั่นกับองค์กรระหว่างประเทศเหล่านั้นว่า จะนำแนวทางของปฏิญญาว่าด้วยโรงเรียนที่ปลอดภัยมาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.)
ปฏิญญาสากลว่าด้วยโรงเรียนที่ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Safe School Declaration เป็น Soft law หรือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศถึงไม่ต้องลงนามหรือให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิก แต่ประเทศต่างๆ ที่รับรองปฏิญญามีพันธสัญญาทางศีลธรรมจรรยาที่จะนำมาใช้บังคับได้ในประเทศของตนเพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองระหว่างประเทศว่าเราจะส่งเสริมให้โรงเรียนในสถานการณ์ความขัดแย้งหรือระหว่างสงครามให้ปลอดภัย
โดยในวันที่ 25 มกราคม 2562 ที่กระทรวงต่างประเทศมีท่านศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันนั้นได้ให้ข้อสรุปสาระสำคัญของปฏิญญาฉบับนี้ ไว้เก้าข้อกล่าวคือ
- ปฏิญญาฉบับนี้ถ้ามองให้กว้าง ไม่ใช่แค่ห้ามการโจมตีโรงเรียน
- หมายรวมถึงการห้ามทหารเข้าไปตั้งค่าย หรือใช้โรงเรียนด้วย
- ทำให้มีข้อกำหนดให้ชัดเจนว่า ถ้าห้ามแล้วไม่ยอมออกและไม่เลิกโจมตีโรงเรียนแล้วใครจะต้องทำอะไร เป็นหน้าที่ใครที่จะต้องบังคับให้ออกหรือให้ยุติการโจมตีโรงเรียน
- สนับสนุนให้จดบันทึกสถานการณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงเรียน รวมทั้งการละเมิดปฏิญญาฉบับนี้
- การเคารพโรงเรียน หมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้านสันติภาพ สร้างฐานความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายสงครามและ สันติภาพ และการคุ้มครองมนุษย์
- เน้นเรื่องความรับผิดชอบด้วยว่าใครโจมตี ใครไปตั้งค่ายทหาร ก็เป็นอาชญากรรมสงครามได้ เช่นมีคดีขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่าการไปโจมตีโรงเรียนเป็นความผิดอาชญากรรมระหว่างประเทศ
- เปิดให้แต่ละประเทศสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์กรอื่นๆและกับองค์การสหประชาชาติ
- เปิดให้มีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นนอกจากภาครัฐ และทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม
- ชักจูงให้กลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐต้องเคารพกฎหมายและปฏิญญานี้
ในวันนั้นก็มีตัวแทนขององค์กรยูนิเซฟ Unicef ได้อธิบายถึงขอบเขตงานการคุ้มครองเด็กไว้อย่างน่าสนใจและทำให้คิดว่าเขาได้ทำงานตามขอบเขตงานของเขาหรือยังในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่เหตุการณ์ความรุนแรงยืดเยื้อยาวนานมากว่าสิบห้าปี เขาอธิบายว่าการ ป้องกันเด็กจากความรุนแรงไม่ใช่ใช้ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธและสงครามเท่านั้น ความรุนแรงต่อเด็ก มีหลายปัจจัย เช่น ถูกคุกคามโดยอาชญกร มาเฟีย กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กก็หลากหลาย แต่ที่เราใช้กันอยู่เป็นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นหลัก
การเสียชีวิต บาดเจ็บ ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากสงครามหรือความขัดแย้ง เด็กตกเป็นผู้ถูกทำร้ายทางด้านจิตใจ ความรุนแรงต่อเด็กบางครั้งอาจเกิดได้จากครอบครัว เพื่อน สังคม อาชญากรรม ความรุนแรงบางครั้งอาจเป็นความรุนแรงทางเพศ บางครั้งเด็กก็ถูกชักชวนให้เข้าไปสู่การใช้ความรุนแรงหลายรูปแบบในบางบริบทโรงเรียนไม่ใช่ที่ปลอดภัย ครูก็ไม่ปลอดภัย เด็กถูกเตือนว่าไปโรงเรียนไม่ปลอดภัย เขาเห็นคนถืออาวุธ ทั้งฝ่ายรัฐในโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ใหญ่ต้องการปกป้องเด็กๆ และโรงเรียน
ทุกคนยอมรับกันว่าการใช้อาวุธทำให้เกิดความรุนแรงยาวนานทางด้านสังคมและจิตใจต่อเด็กทำให้เด็กได้รับผลกระทบยาวนาน ทางยูนิเซฟยืนยันว่าเขาทำงานกับหลายฝ่ายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างความเข็มแข็งให้หลายฝ่าย รวมทั้งรัฐและภาคประชาสังคม ในจังหวัดชายแดนใต้ มีการทำงานกับศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้หรือที่เรียกกันว่า ศอบต. เพื่อการคุ้มครองเด็ก เพื่อทำงานการปกป้องเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องสุขภาพ และการศึกษา เราช่วยด้านสังคมและจิตวิทยาทั้งโดยตรงและ ในระดับชุมชน ทำวิจัย ทำข้อมูลที่สะท้อนผลกระทบต่อเด็ก และบันทึกไว้เพื่อนำไปสู่การแก้ไข
หลายๆ ประเด็นตามที่ท่านผู้แทนของยูนิเซฟ บรรยาย เราเองยังไม่เห็นรูปธรรมของกิจกรรมหรือแนวทางการทำงานเชิงประจักษ์ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาสังคม และอยากให้ลองดูภาพนี้ที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอมาหลายปี ภาพเผยแพร่นี้ถ่ายได้จากโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสแห่งหนึ่ง และในจังหวัดปัตตานีแห่งหนึ่ง ในเวลาไล่เลียกัน คือช่วงปลายๆ เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

(ภาพจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในปัตตานี Facebook)

(ภาพจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส จาก Facebook)
การละเมิดสิทธิเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ในห้วงหลายปีที่ผ่านมาเราพบว่าเด็กถูกฆ่าตายในเมืองโดยกลุ่มก่อความไม่สงบ เด็กจำนวนมากต้องเรียนในโรงเรียนที่มีค่ายทหารมาตั้งอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัย เคยมีเหตุการณ์โจมตีป้อมและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในโรงเรียน ถูกยิงเสียชีวิต เด็กถูกใช้ให้มีส่วนร่วมในการก่อเหตุเพราะหลบหนีง่าย การควบคุมตัวเด็กเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในสถานการณ์ความขัดแย้ง มีการตรวจเก็บดีเอ็นเอเด็กและบุคลากรครู มีรายงานการตรวจดีเอ็นเอลูกของผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบ โรงเรียนและโรงพยาบาลกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งการถูกข่มขืนและความรุนแรงทางเพศแบบอื่นๆ
เราทำอะไรกันน้อยไปไหมเรื่องการคุ้มครองเด็กในสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ หลักการที่กล่าวถึง Safe School ตามหลักสากลจะนำมาปรับใช้ได้อย่างไร หรือไม่ สถานการณ์ในพื้นที่ดูเหมือนว่าจะมีใครคิดทำอะไรกับเด็กในจังหวัดชายแดนใต้
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Safe_Schools_Declaration
[:th]ปฏิญญาสากล Safe School เพื่อการคุ้มครองเด็กในสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ โดยพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
คือเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562 มีรายงานว่าองค์การสหประชาติระบุว่ามีประเทศสมาชิกจำนวน 101 ประเทศ ลงนามรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องโรงเรียนที่ปลอดภัย เราลองไล่ดูว่าประเทศไทยจะอยู่ในรายชื่อประเทศที่รับรองหรือไม่ ถ้าตามลำดับตัวอักษรก็จะอยู่ในกลุ่ม S- T ลองไล่ลงมามี Sudan /Sweden/ Switzerland/ Ukraine และก็น่าตกใจเมื่อปรากฏว่าประเทศไทยไม่ได้รับรองปฏิญญาสากลฉบับนี้ [1]
เมื่อต้นปี 2562 ถ้าจำไม่ผิดน่าจะวันที่ 25 มกราคม 2562 ซึ่งก็เกือบครบรอบหนึ่งปี เราได้รับเชิญไปร่วมประชุมกับกระทรวงต่างประเทศ ที่จัดการประชุมเรื่อง ปฏิญญาว่าด้วยโรงเรียนที่ปลอดภัย (Safe School Declaration 2015 ) มีเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานราชการ และเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงานมาร่วมกันพูดคุยเพื่อหาแนวทางการคุ้มครองเด็กและโรงเรียนในสถานการณ์ความขัดแย้ง และทางกระทรวงการต่างประเทศก็พร้อมให้คำมั่นกับองค์กรระหว่างประเทศเหล่านั้นว่า จะนำแนวทางของปฏิญญาว่าด้วยโรงเรียนที่ปลอดภัยมาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.)
ปฏิญญาสากลว่าด้วยโรงเรียนที่ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Safe School Declaration เป็น Soft law หรือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศถึงไม่ต้องลงนามหรือให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิก แต่ประเทศต่างๆ ที่รับรองปฏิญญามีพันธสัญญาทางศีลธรรมจรรยาที่จะนำมาใช้บังคับได้ในประเทศของตนเพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองระหว่างประเทศว่าเราจะส่งเสริมให้โรงเรียนในสถานการณ์ความขัดแย้งหรือระหว่างสงครามให้ปลอดภัย
โดยในวันที่ 25 มกราคม 2562 ที่กระทรวงต่างประเทศมีท่านศาสตราจารย์วิทิต มันตราภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันนั้นได้ให้ข้อสรุปสาระสำคัญของปฏิญญาฉบับนี้ ไว้เก้าข้อกล่าวคือ
- ปฏิญญาฉบับนี้ถ้ามองให้กว้าง ไม่ใช่แค่ห้ามการโจมตีโรงเรียน
- หมายรวมถึงการห้ามทหารเข้าไปตั้งค่าย หรือใช้โรงเรียนด้วย
- ทำให้มีข้อกำหนดให้ชัดเจนว่า ถ้าห้ามแล้วไม่ยอมออกและไม่เลิกโจมตีโรงเรียนแล้วใครจะต้องทำอะไร เป็นหน้าที่ใครที่จะต้องบังคับให้ออกหรือให้ยุติการโจมตีโรงเรียน
- สนับสนุนให้จดบันทึกสถานการณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงเรียน รวมทั้งการละเมิดปฏิญญาฉบับนี้
- การเคารพโรงเรียน หมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้านสันติภาพ สร้างฐานความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายสงครามและ สันติภาพ และการคุ้มครองมนุษย์
- เน้นเรื่องความรับผิดชอบด้วยว่าใครโจมตี ใครไปตั้งค่ายทหาร ก็เป็นอาชญากรรมสงครามได้ เช่นมีคดีขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่าการไปโจมตีโรงเรียนเป็นความผิดอาชญากรรมระหว่างประเทศ
- เปิดให้แต่ละประเทศสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์กรอื่นๆและกับองค์การสหประชาชาติ
- เปิดให้มีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นนอกจากภาครัฐ และทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม
- ชักจูงให้กลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐต้องเคารพกฎหมายและปฏิญญานี้
ในวันนั้นก็มีตัวแทนขององค์กรยูนิเซฟ Unicef ได้อธิบายถึงขอบเขตงานการคุ้มครองเด็กไว้อย่างน่าสนใจและทำให้คิดว่าเขาได้ทำงานตามขอบเขตงานของเขาหรือยังในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่เหตุการณ์ความรุนแรงยืดเยื้อยาวนานมากว่าสิบห้าปี เขาอธิบายว่าการ ป้องกันเด็กจากความรุนแรงไม่ใช่ใช้ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธและสงครามเท่านั้น ความรุนแรงต่อเด็ก มีหลายปัจจัย เช่น ถูกคุกคามโดยอาชญกร มาเฟีย กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กก็หลากหลาย แต่ที่เราใช้กันอยู่เป็นอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นหลัก
การเสียชีวิต บาดเจ็บ ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากสงครามหรือความขัดแย้ง เด็กตกเป็นผู้ถูกทำร้ายทางด้านจิตใจ ความรุนแรงต่อเด็กบางครั้งอาจเกิดได้จากครอบครัว เพื่อน สังคม อาชญากรรม ความรุนแรงบางครั้งอาจเป็นความรุนแรงทางเพศ บางครั้งเด็กก็ถูกชักชวนให้เข้าไปสู่การใช้ความรุนแรงหลายรูปแบบในบางบริบทโรงเรียนไม่ใช่ที่ปลอดภัย ครูก็ไม่ปลอดภัย เด็กถูกเตือนว่าไปโรงเรียนไม่ปลอดภัย เขาเห็นคนถืออาวุธ ทั้งฝ่ายรัฐในโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ใหญ่ต้องการปกป้องเด็กๆ และโรงเรียน
ทุกคนยอมรับกันว่าการใช้อาวุธทำให้เกิดความรุนแรงยาวนานทางด้านสังคมและจิตใจต่อเด็กทำให้เด็กได้รับผลกระทบยาวนาน ทางยูนิเซฟยืนยันว่าเขาทำงานกับหลายฝ่ายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างความเข็มแข็งให้หลายฝ่าย รวมทั้งรัฐและภาคประชาสังคม ในจังหวัดชายแดนใต้ มีการทำงานกับศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้หรือที่เรียกกันว่า ศอบต. เพื่อการคุ้มครองเด็ก เพื่อทำงานการปกป้องเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องสุขภาพ และการศึกษา เราช่วยด้านสังคมและจิตวิทยาทั้งโดยตรงและ ในระดับชุมชน ทำวิจัย ทำข้อมูลที่สะท้อนผลกระทบต่อเด็ก และบันทึกไว้เพื่อนำไปสู่การแก้ไข
หลายๆ ประเด็นตามที่ท่านผู้แทนของยูนิเซฟ บรรยาย เราเองยังไม่เห็นรูปธรรมของกิจกรรมหรือแนวทางการทำงานเชิงประจักษ์ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาสังคม และอยากให้ลองดูภาพนี้ที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอมาหลายปี ภาพเผยแพร่นี้ถ่ายได้จากโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสแห่งหนึ่ง และในจังหวัดปัตตานีแห่งหนึ่ง ในเวลาไล่เลียกัน คือช่วงปลายๆ เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

(ภาพจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในปัตตานี Facebook)

(ภาพจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส จาก Facebook)
การละเมิดสิทธิเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ ในห้วงหลายปีที่ผ่านมาเราพบว่าเด็กถูกฆ่าตายในเมืองโดยกลุ่มก่อความไม่สงบ เด็กจำนวนมากต้องเรียนในโรงเรียนที่มีค่ายทหารมาตั้งอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัย เคยมีเหตุการณ์โจมตีป้อมและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในโรงเรียน ถูกยิงเสียชีวิต เด็กถูกใช้ให้มีส่วนร่วมในการก่อเหตุเพราะหลบหนีง่าย การควบคุมตัวเด็กเกิดขึ้นบ่อยขึ้นในสถานการณ์ความขัดแย้ง มีการตรวจเก็บดีเอ็นเอเด็กและบุคลากรครู มีรายงานการตรวจดีเอ็นเอลูกของผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบ โรงเรียนและโรงพยาบาลกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งการถูกข่มขืนและความรุนแรงทางเพศแบบอื่นๆ
เราทำอะไรกันน้อยไปไหมเรื่องการคุ้มครองเด็กในสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ หลักการที่กล่าวถึง Safe School ตามหลักสากลจะนำมาปรับใช้ได้อย่างไร หรือไม่ สถานการณ์ในพื้นที่ดูเหมือนว่าจะมีใครคิดทำอะไรกับเด็กในจังหวัดชายแดนใต้
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Safe_Schools_Declaration
[:]