[:th]CrCF Logo[:]

[:en]มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เรียกร้องให้นำคนผิดมาลงโทษทางอาญาให้ถึงที่สุด เหตุวิสามัญฆาตกรรมชาวบ้าน 3 คน ที่เทือกเขาตะเว จ.นราธิวาส และปฏิรูปวิธีการป้องกันเหตุความรุนแรงในจชต.[:th]มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เรียกร้องให้นำคนผิดมาลงโทษทางอาญาให้ถึงที่สุด เหตุวิสามัญฆาตกรรมชาวบ้าน 3 คน ที่เทือกเขาตะเว จ.นราธิวาส และปฏิรูปวิธีการป้องกันเหตุความรุนแรงในจชต.[:]

Share

[:en]

เผยแพร่วันที่ 18 ธันวาคม 2562

ขอให้นำคนผิดมาลงโทษทางอาญาให้ถึงที่สุด

เหตุวิสามัญฆาตกรรมชาวบ้าน 3 คนที่เทือกเขาตะเว จ.นราธิวาส

และปฏิรูปวิธีการป้องกันเหตุความรุนแรงในจชต.

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีการนำปฏิบัติการตรวจค้นบนเทือกเขาตะเวในพื้นที่หมู่บ้าน อะแน ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างปฏิบัติการดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชน 3 รายซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้แก่ นายมะนาซี สะมะแอ อายุ 27 ปี นายฮาฟีซี มะดาโอ๊ะ อายุ 24 ปี  และนายบูดีมัน มะลี อายุ 26 ปี ชาวบ้านทั้ง 3 คนมีภูมิลำเนาใน ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาครอบครัวของผู้เสียชีวิตและชาวบ้านในบริเวณหมู่บ้านได้ให้การยืนยันว่า ทั้ง 3 คนเป็นเพียงประชาชนบริสุทธิ์ที่ขึ้นไปรับจ้างตัดไม้บนเทือกเขา มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแต่อย่างใด 

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลาเช้าของวันที่ 16 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม กระบวนการส่งมอบศพให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใช้เวลามากกว่า 30 ชั่วโมง จึงทำให้ชาวบ้านได้รับศพในวันที่ 17 ธันวาคม 2562 เพราะต้องส่งร่างของทั้ง 3 ไปยังโรงพยาบาลระแงะเพื่อทำการชันสูตรพลิกศพตามขั้นตอนของกฎหมาย เนื่องจากเป็นกรณีการเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในขณะที่ข้อเท็จจริงหลายส่วนเกี่ยวกับสาเหตุในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ในการวิสามัญฆาตกรรมประชาชนทั้ง 3 รายยังคงเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ชายแดนใต้ก็เริ่มแสดงออกถึงความไม่พอใจในการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและวิธีการนำเสนอข้อมูลของทางการซึ่งได้เผยแพร่สาธารณชนเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ว่า การวิสามัญฆาตกรรมครั้งนี้เกิดจากการ “ปะทะกับกลุ่มติดอาวุธหลบซ่อนอยู่บนเทือกเขาตะเว” แต่ต่อมาเมื่อวันที่17 ธันวาคม 2562 มีแถลงการณ์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอรมน.) ภาคที่ 4 เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งว่า การเสียชีวิตของชาวบ้าน 3 รายนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารในขณะปฏิบัติหน้าที่ที่เกิดจากการ“สำคัญผิด” ว่าเป็นกลุ่มใช้ความรุนแรง  

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอเน้นย้ำว่า เหตุการณ์การวิสามัญฆาตกรรมในลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการเก็บข้อมูลของกลุ่มด้วยใจ องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้เก็บข้อมูลสถิติเรื่องการวิสามัญฆาตกรรมจากการรายงานข่าวสาธารณะและพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เทือกเขาตะเวไปแล้วทั้งสิ้น 18 รายในปี 2562 

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุกาณ์ดังกล่าว และขอชื่นชมที่ทางกอ.รมน.ได้แสดงความเสียใจและแถลงข้อเท็จจริงบางส่วนสู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้

มูลนิธิฯ เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากเหตุรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์นี้ มูลนิธิฯ ขอเสนอให้รัฐบาลดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อทบทวนวิธีการทำงานในปัจจุบันเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุดที่เป็นหน่วยงานพลเรือน ทำหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างตรงไปตรงมาเต็มความสามารถในการแสวงหาความจริงการวิสามัญฆาตกรรมครั้งนี้ โดยทำงานอย่างเป็นอิสระจากอิทธิพลของกองทัพ เพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีไต่สวนการตายและการฟ้องร้องคดีอาญาต่อผู้ต้องหากระทำความผิดให้ถึงที่สุด 

2. ขอให้หน่วยงานทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นกองทัพภาคที่ 4 และกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญในการค้นหาความจริง โดยเฉพาะรายชื่อเจ้าหน้าที่ทหารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการในวันเกิดเหตุที่เขาตะเวในครั้งนี้                โดยขอให้มีการย้ายผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดออกจากพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบสวนสอบสวน

3. ขอให้รัฐจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเป็นธรรมทั้งในรูปแบบตัวเงิน เชิงสัญลักษณ์เช่นการขอโทษต่อสาธารณะ รวมทั้งการเยียวยาด้านความเป็นธรรมโดยการนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในศาลพลเรือน และดำเนินการลงโทษทางวินัยอย่างจริงจังเปิดเผยต่อสาธารณะ

4. ขอให้มีการปฏิรูปแนวทางการปราบปรามการก่อเหตุความรนแรงทั้งในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ   การอบรมเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธตามหลักการสากล การปรับทัศนคติการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง การติดตามจับกุมบุคคลต้องสงสัยก่อเหตุฯให้มีความรอบคอบ รอบด้านและปราศจากซึ่งอคติทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้นมาตลอดสิบห้าปีที่ผ่านมา รวมทั้งการปรับทิศทางการเจรจาสันติภาพให้เกิดการมีส่วนร่วม (all inclusive)อย่างจริงจัง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม 063-975-1757

[:th]

เผยแพร่วันที่ 18 ธันวาคม 2562

ขอให้นำคนผิดมาลงโทษทางอาญาให้ถึงที่สุด

เหตุวิสามัญฆาตกรรมชาวบ้าน 3 คนที่เทือกเขาตะเว จ.นราธิวาส

และปฏิรูปวิธีการป้องกันเหตุความรุนแรงในจชต.

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีการนำปฏิบัติการตรวจค้นบนเทือกเขาตะเวในพื้นที่หมู่บ้าน อะแน ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างปฏิบัติการดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชน 3 รายซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้แก่ นายมะนาซี สะมะแอ อายุ 27 ปี นายฮาฟีซี มะดาโอ๊ะ อายุ 24 ปี  และนายบูดีมัน มะลี อายุ 26 ปี ชาวบ้านทั้ง 3 คนมีภูมิลำเนาใน ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาครอบครัวของผู้เสียชีวิตและชาวบ้านในบริเวณหมู่บ้านได้ให้การยืนยันว่า ทั้ง 3 คนเป็นเพียงประชาชนบริสุทธิ์ที่ขึ้นไปรับจ้างตัดไม้บนเทือกเขา มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแต่อย่างใด 

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลาเช้าของวันที่ 16 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม กระบวนการส่งมอบศพให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใช้เวลามากกว่า 30 ชั่วโมง จึงทำให้ชาวบ้านได้รับศพในวันที่ 17 ธันวาคม 2562 เพราะต้องส่งร่างของทั้ง 3 ไปยังโรงพยาบาลระแงะเพื่อทำการชันสูตรพลิกศพตามขั้นตอนของกฎหมาย เนื่องจากเป็นกรณีการเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในขณะที่ข้อเท็จจริงหลายส่วนเกี่ยวกับสาเหตุในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ในการวิสามัญฆาตกรรมประชาชนทั้ง 3 รายยังคงเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ประชาชนจำนวนมากในพื้นที่ชายแดนใต้ก็เริ่มแสดงออกถึงความไม่พอใจในการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและวิธีการนำเสนอข้อมูลของทางการซึ่งได้เผยแพร่สาธารณชนเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ว่า การวิสามัญฆาตกรรมครั้งนี้เกิดจากการ “ปะทะกับกลุ่มติดอาวุธหลบซ่อนอยู่บนเทือกเขาตะเว” แต่ต่อมาเมื่อวันที่17 ธันวาคม 2562 มีแถลงการณ์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอรมน.) ภาคที่ 4 เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งว่า การเสียชีวิตของชาวบ้าน 3 รายนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารในขณะปฏิบัติหน้าที่ที่เกิดจากการ“สำคัญผิด” ว่าเป็นกลุ่มใช้ความรุนแรง  

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอเน้นย้ำว่า เหตุการณ์การวิสามัญฆาตกรรมในลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการเก็บข้อมูลของกลุ่มด้วยใจ องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ญาติผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้เก็บข้อมูลสถิติเรื่องการวิสามัญฆาตกรรมจากการรายงานข่าวสาธารณะและพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เทือกเขาตะเวไปแล้วทั้งสิ้น 18 รายในปี 2562 

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุกาณ์ดังกล่าว และขอชื่นชมที่ทางกอ.รมน.ได้แสดงความเสียใจและแถลงข้อเท็จจริงบางส่วนสู่สาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้

มูลนิธิฯ เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากเหตุรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์นี้ มูลนิธิฯ ขอเสนอให้รัฐบาลดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อทบทวนวิธีการทำงานในปัจจุบันเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูงสุดที่เป็นหน่วยงานพลเรือน ทำหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างตรงไปตรงมาเต็มความสามารถในการแสวงหาความจริงการวิสามัญฆาตกรรมครั้งนี้ โดยทำงานอย่างเป็นอิสระจากอิทธิพลของกองทัพ เพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีไต่สวนการตายและการฟ้องร้องคดีอาญาต่อผู้ต้องหากระทำความผิดให้ถึงที่สุด 

2. ขอให้หน่วยงานทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นกองทัพภาคที่ 4 และกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญในการค้นหาความจริง โดยเฉพาะรายชื่อเจ้าหน้าที่ทหารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการในวันเกิดเหตุที่เขาตะเวในครั้งนี้                โดยขอให้มีการย้ายผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดออกจากพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบสวนสอบสวน

3. ขอให้รัฐจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเป็นธรรมทั้งในรูปแบบตัวเงิน เชิงสัญลักษณ์เช่นการขอโทษต่อสาธารณะ รวมทั้งการเยียวยาด้านความเป็นธรรมโดยการนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในศาลพลเรือน และดำเนินการลงโทษทางวินัยอย่างจริงจังเปิดเผยต่อสาธารณะ

4. ขอให้มีการปฏิรูปแนวทางการปราบปรามการก่อเหตุความรนแรงทั้งในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ   การอบรมเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธตามหลักการสากล การปรับทัศนคติการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง การติดตามจับกุมบุคคลต้องสงสัยก่อเหตุฯให้มีความรอบคอบ รอบด้านและปราศจากซึ่งอคติทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้นมาตลอดสิบห้าปีที่ผ่านมา รวมทั้งการปรับทิศทางการเจรจาสันติภาพให้เกิดการมีส่วนร่วม (all inclusive)อย่างจริงจัง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม 063-975-1757

[:]

TAG

RELATED ARTICLES