[:th]CrCF Logo[:]

การเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมาน ประสบการณ์สากลสู่ประเทศเนปาล ตอนที่หนึ่ง ประสบการณ์จากเนปาล

Share

บันทึกการประชุมเรื่องการเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมาน ประสบการณ์สากลสู่ประเทศเนปาล

ตอนที่หนึ่ง ประสบการณ์จากเนปาล

วันที่ 5-6 ธันวาคม  2562

องค์กรสำคัญด้านการต่อต้านการทรมาน Advocacy Forum ได้ร่วมกลุ่มทนายความด้านสิทธิมนุษยชนทั่วประเทศมาร่วมประชุมในวัน   5-6 ธันวาคม  2562  พวกเขากล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญ และจะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทั่วโลกระดับสากล ประเทศไทย ยูเครน แม็กซิโก   โดยสรุปคือเรากำลังดูกันเรื่องความเป็นธรรม  ความเป็นธรรมเราต้องทำให้เป็นจริง เราส่งเสริมการเป็นพลเมือง และต้องการให้รัฐจัดหาความต้องการของประชาชน  ถ้ารัฐหรือหน่วยงานรัฐไม่ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการของพลเมือง เราก็คิดว่ารัฐล้มเหลว   ตอนนี้เราดูกันเรื่องเครื่องมือของรัฐจะดำเนินการอย่างไร จะรับผิดชอบในการกระทำละเมิดที่เกิดขึ้นอย่างไร  

แม้ว่าเราจะร่วมงานกันสองวันนี้อย่างเข็มแข็ง โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนทนายที่ทำงานเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยการต่อต้านการทรมาน  เราเห็นว่าพลังงานพวกเราก็ตกลง ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น สังคมโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น เป็นพวกconservative มากขึ้น ใช่หรือไม่ที่มาเป็นผู้นำทางการเมือง   ผู้นำทางการเมืองเหล่านี้ก็เริ่มใช้อำนาจในการควบคุมประชาชน  ประชาธิปไตยกำลังถูกคุกคามอย่างหนักรอบประเทศเนปาลและที่ไกลออกไป ทั้งอเมริกา ตุรกี   หรือแม้แต่อินเดีย เนปาล เป็นต้น  อำนาจนิยมกำลังเติบโต ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งเริ่มแสดงความล้มเหลวที่จะแสดงออกถึงการคุ้มครองประชาชน 

นิติรัฐอ่อนแอลงแต่ กลายเป็น ปกครองด้วยกฎหมาย ใช้อำนาจกฎหมายในการกดขี่

และการทรมานมักถูกใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้บุคคลล้มลงทั้งทางร่างกายและความคิด จิตวิญญาณ การทรมานมักเป็นประสบการณ์ในช่วงต่อต้านรัฐ  มักใช้กับผู้ต่อต้านรัฐ เราทำงานกับกลุ่มที่ได้รับการปล่อยตัว ตัวเขาล้มเหลวทั้งทางร่างกายและจิตใจ จิตวิญญาณ  คนที่ถูกทรมานมักทรมานไปตลอดชีวิต ส่งผลต่อครอบครัวด้วย และต่อสังคมโดยรวม เราต้องส่งเสริมให้เกิดการคุ้มครอง เพราะพวกเขาสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสังคมไป  เราต้องออกแรงกันต่อในการต่อต้านยุติการทรมาน

พวกเขาจำนวนมากมักถูกทรมานก่อนที่จะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยซ้ำ เราเห็นว่าพวกเราทำงานกันอย่างหนัก และพยายามที่จะยุติการทรมานให้ได้ก่อน  ก่อนหน้านี้เราเน้นเรื่องการทำคดียุทธศาสตร์  คดีต่างๆ ทำกันมากมาย แต่เราต้องการเกิดการทำงานเพิ่มขึ้นในเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายจากการทรมาน เราต้องพยายามที่จะทำให้กฎหมายของเรากว้างขึ้น คุ้มครองผู้เสียหายมากขึ้น

เรารู้ว่าหลายๆ คนพยายามแต่เราต้องมาร่วมกันในการสร้างกรอบใหม่ที่กว้างขึ้นในเรื่องการเยียวยาผู้เสียหาย โดยเราเรียนรู้จากกลไกสากล กลไกในประเทศอื่นๆ และทนายในประเทศอื่นๆ ทำงานกันอย่างไร

กฎหมายในเนปาลมีอะไรบ้าง เพราะมีกฎหมายอื่นๆ กฎหมายใหม่ที่เราจะนำไปใช้ได้หรือไม่ที่จะขยายการคุ้มครองให้กับผู้เสียหายจากการทรมาน เราต้องทำอะไรบ้าง คิดไปถึงไหนอย่างไร ให้กว้างออกไปได้เพื่อนำไปใช้ได้

การเยียวยา ค่าชดเชยเวลานำมาใช้ แม้จะปรากฏในกฎหมายเราก็ตาม พอสู้คดีแล้วได้ค่าชดเชยเพียงเล็กน้อย  หรือไม่ได้เลย ความเสียหายมีมากแค่ไหน พิสูจน์ได้แค่ไหน สิ่งเหล่านี้นำมาคำนวณได้อย่างไรบ้างในระดับภูมิภาคลาตินอเมริกาที่มีผลต่อกลไกสากลอย่างมาก ไม่ใช่แค่ตัวเงินใช่หรือไม่ เรามองว่าเป็นการฟื้นฟู ทางร่างกายและจิตใจ การไม่ปล่อยให้เกิดขึ้นอีก

งานเรื่องการเยียวยาอาจต้องร่วมกันและประกอบกับการรณรงค์สร้างมวลชนด้วยแค่ไหนอย่างไร

ยกตัวอย่างในเนปาล เรามีกฎหมายให้ค่าชดเชย ปี 1996  บอกไว้ว่าให้เงินชดเชยสูงสุด ประมาณ 850 USD ทำไมต้องมีการกำหนดค่าชดเชยสูงสุด  การร้องเรียนเรื่องการทรมานมีอายุความเพียง 35 วัน ต่อมามีกำหนดในกฎหมายกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม. ) ปี  2012  สามารถระบุค่าชดเชยสูงสุดได้ถึง 2550  USD   รวมทั้งในกฎหมายอาญา ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดจริงจะมีบทลงโทษ 50000 รูปี จำคุกไม่เกิน 5 ปี ซึ่งมาอายุความ 6 เดือน

ระบุว่าค่าชดเชยคือ เกี่ยวกับร่างกาย สุขภาพ ความบาดเจ็บ  prestige โดยให้ผู้กระทำผิดเป็นผู้จ่าย แต่ทำไมศาลจึงยกฟ้อง อาจเป็นเพราะรายงานทางการแพทย์ไม่สมบูรณ์  เราไปหาแพทย์ เพื่อปรึกษาหารือเรื่องการจดบันทึกผลกระทบจากการทรมาน แต่มักไม่ค่อยได้ผล แพทย์มักไม่ค่อยรู้ว่าต้องมีหน้าที่ในการจดบันทึกอย่างละเอียด เราต้องการให้เขาทำหน้าที่ในการจดบันทึก แพทย์ขาดความรู้โดยเฉพาะบาดแผลทางด้านจิตใจ เมื่อเหยื่อบอกว่าเขาถูกบังคับให้นอนในที่แคบ เป็นต้น ไม่มีบาดแผล จะทำอย่างไร  กรณีมีผลกระทบทางด้านจิตใจจะพิสูจน์อย่างไร  รายงานการรักษาจะส่งผลอย่างไรได้บ้างในการกำหนดเงินชดเชยถ้ามีการฟ้องคดี  อีกประการทำไมศาลไม่ฟังคำกล่าวอ้างของผู้เสียหายต้องมีใบรับรองแพทย์

เมื่อเราเริ่มร่างฟ้อง เราร่างแบบไหน สิ่งสำคัญคือเราจะนำค่าเสียหายแบบนี้เข้าสู่กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายอย่างไร

เราจดบันทึกความเสียหายของผู้เสียหายได้อย่างไร มีประสิทธิภาพหรือไม่   เราอาจไม่เข้าใจหรือไม่ ว่าการทรมานทางด้านจิตใจคืออะไร  เด็กหรือหญิงได้รับผลกระทบต่างกันหรือไม่อย่างไร แล้วเราจะคำนวณอย่างไร  เพราะตอนนี้การชดเชยยังคงเป็นตัวเงินอยู่  แล้วเราจะคำนวณว่าเท่าไร จึงเป็นการเยียวยาที่เหมาะสม จึงเป็นเหตุให้ต้องทำความเข้าใจว่าประเทศอื่นๆ คำนวณอย่างไร  

เราทำคดีทั้งหมด 80 เคส ได้เงินชดเชยจากคำสั่งศาลแต่เป็นไปโดยพลการไม่มีระบบเท่าไร  ใครจะเป็นคนจ่ายเงินค่าชดเชย เป็นความผิดทางอาญา เพราะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นความผิดทางอาญา เพราะถ้าไม่สามารถพิสูจน์ความผิดทางอาญาได้ไม่ได้เงินค่าชดเชย

เมื่อผู้เสียหายหลายรายไม่สามารถระบุบุคคลหรือชื่อเจ้าหน้าที่ได้ ไม่สามารถฟ้องคดีได้  ถ้าคนทำผิดจ่ายเงินไม่ได้ จะบังคับคดีอย่างไร อะไรเป็นเหตุผลที่จะทำให้กฎหมายระบุว่าการรับผิดเป็นความรับผิดของรัฐ รัฐต้องชดเชยผู้เสียหายจากงบประมาณของประเทศ จึงมีข้อเสนอภาพรวมว่า 1) ทบทวนกฎหมายทั้งหมดของเนปาลที่เกี่ยวกับการทรมานในส่วนที่เกี่ยวกับการเยียวยา  2) มีแนวปฏิบัติในการกำหนดค่าเสียหายต่อผู้เสียหายจากการทรมาน 3) ทำงานกับศาลผู้พิพากษาในการทำความเข้าใจเรื่องความเสียหายต่อผู้เสียหายจากการทรมาน

TAG

RELATED ARTICLES