[:th]CrCF Logo[:]

มาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม คืออะไร

Share

การพิจารณาคดีที่เป็นธรรม

ความเป็นมาและเหตุผล

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนได้ดำเนินมาตรการต่างๆให้ประเทศไทยตรากฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย และตีความกฎหมายให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ

มาตรการทางอาญา เป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีความมุ่งหมายที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิของบุคคล รักษาความสงบสุข ความมั่นคงของสังคม แต่ในทางความเป็นจริง ในหลายกรณีและในบางสถานการณ์ รัฐบาลได้ใช้มาตรการทางอาญา ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยไม่ชอบธรรม เช่นการจับ การค้น การตั้งข้อหา ฟ้องและดำเนินคดีโดยไม่ชอบธรรม ทั้งในชั้นสอบสวน สั่งคดีและในชั้นพิจารณาคดี

ผู้ปฏิบัติงานองค์กรสิทธิมนุษยชน จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักการของการดำเนินคดีและการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial)  เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชน และใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และเสนอแนะ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการวินิจฉัยตีความกฎหมายของศาล ว่าเป็นไปตามหลัก Fair Trial หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลให้มีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อไป

ศึกษามาตรฐานสากลแห่งการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม คืออะไร ได้ที่

TAG

RELATED ARTICLES