หนังสือ “ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน” เมื่อหมู่บ้านถูกเจ้าหน้าที่เผา ชาวบ้านลุกขึ้นสู้จนชนะในศาลปกครองสูงสุด เพื่อรักษา “ใจแผ่นดิน” ดินแดนอันห่างไกล ลี้ลับ และศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาเมื่ออหมู่บ้านถูกเจ้าหน้าที่เผา ชาวบ้านลุกขึ้นสู้จนชนะในศาลปกครองสูงสุด เพื่อรักษา “ใจแผ่นดิน” ดินแดนอันห่างไกล ลี้ลับ และศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา
องค์การสหประชาชาติถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งของประชาชาติได้ประกาศข้อกำหนดร่วมกันในการรับรองสิทธิมนุษยชนเรียกว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่ประชาชาติทั้งหลายต้องถือปฏิบัติเพื่อสร้างความสงบสันติให้บังเกิดขึ้นบนโลก
ประเทศไทยเกิดขึ้นได้ด้วยการหลอมรวมเลือดเนื้อของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในดินแดนเดียวกัน โดยภูมิหลังทางประวัติศาสตร์พัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมได้ก่อเกิดจิตวิญญาณและสำนึกร่วมใหม่ให้กลายเป็นพลเมืองไทย ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีภาษา วิถีชีวิต จารีตประเพณีทั้งที่คล้ายคลึงและต่างกันของกลุ่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมินิเวศน์ที่แตกต่างกัน
คนไทยเชื่อสาย กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในกลุ่มผืนป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีก่อนที่ผืนป่าดังกล่าวจะถูกประกาศเป็นป่าอนุรักษ์หรืออุทยานแห่งชาติ รัฐได้ใช้ระเบียบ กฎหมาย และนโยบายในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจารีตประเพณีดั้งเดิมชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงด้วยการอพยพโยกย้ายถิ่นที่อยู่ เผาทำลายบ้าน ยุ้งฉางและทรัพย์สิน อันเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
นำไปสู่การเรียกร้องปกป้องพิสูจน์สิทธิด้วยกระบวนการยุติธรรมของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ซึ่งสภาทนายความโดยคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้านาชาติ และผู้พลัดถิ่น ได้เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยด้านกฎหมายตามที่ได้รับการร้องขอ
หนังสือ ใจแผ่นดิน แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน การเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของชาวกะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าว โดยได้มาจากการ ค้นคว้า สรุป และถอดบทเรียนโดยนางสาว ทิพย์วิมล ศิริพงศ์ และนางสาว พรพรรณ กาญจนาธิวัฒน์ คณะทำงานด้านกฎหมายที่ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอย และใจแผ่นดินดังกล่าว
ในนาม เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี ต้องขอขอบคุณคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติฯ สภาทนายความ นางสาว ทิพย์วิมล ศิริพงศ์และคณะทำงาน ที่ลงพื้นที่อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยหรือหวาดหวั่นต่ออำนาจอิทธิพลใดๆ อันเป็นการทำงานตามอุดมการณ์ในการรับใช้ผู้ทุกข์ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนาหรือผิวสีเพื่อนำข้อเท็จจริงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และสาธารณะชน จนนำไปสู่การตัดสินของศาลปกครองสูงสุด
ทั้งขอขอบคุณ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่สนับสนุนการรวบรวม ถอดบทเรียนการต่อสู้ของชาวบ้านกะเหรี่ยงจนชนะในศาลปกครอง ซึ่งเป็นการยอมรับ และแสดงถึงการมีตัวตนรวมทั้งสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงใจแผ่นดิน และบางกลอยบน