[:th]CrCF Logo[:]

บันทึกเวทีเสวนา “Step forward for a better life” 30 มิถุนายน 2562 โรมแรมปาร์ควิวปัตตานี

Share

เวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ Step Forward for a Better Lifeจงเดินหน้าต่อไปเพื่อชีวิตที่ดีกว่า 30 มิถุนายน 2562 โรมแรมปาร์ควิว อ.เมือง จ.ปัตตานี จัดโดย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี

 กล่าวเปิดงาน โดยคุณสมชาย หอมลออ ที่ปรึกษามูลนิธิผสานวัฒนธรรม

  • ตลอดระยะเวลา15 ปีของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) มีผู้ได้รับผลกระทบมากมายนับหมื่นนับแสนคน ทั้งเสียชีวิต บาดเจ็บ และผลกระทบในด้านอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในช่วงแรกของสถานการณ์ความรุนแรง องค์การภาคประชาสังคมให้ความสนใจเรื่องการตรวจสอบความรุนแรงเป็นหลักเพื่อยับยั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้น การทำงานดังกล่าวแม้เป็นสิ่งจำเป็นแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถานการณ์ การแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างสันติสุขใน จชต.  ดังนั้นหลายองค์กรจึงเพิ่มงานฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น งานเสวนาในวันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว
  • การทำร้ายร่างกายและชีวิตและการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบเป็นสิ่งต้องห้ามทั้งในหลักศีลธรรมและกฎหมายเแต่สิ่งเหล่านั้นก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา ทั้งๆที่สามารถหลีกเลี่ยง และป้องกันได้ หากบุคคลในสังคมยึดถือสันติวิธี และรัฐกับสถาบันทางสังคมทำหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ประเด็นปัญหาที่สำคัญคือการซ้อมทรมานผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับความไม่สงบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ยังเป็นสิ่งที่ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ แต่สังคมด้วย ยังยอมรับและอนุญาตให้เกิดขึ้น โดยไม่ตระหนักว่า สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความรุนแรงและผลิตซ้ำอย่างไม่สิ้นสุด
  • ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2550 แต่ยังไม่ถูกนำมาปฏิบัติใช้เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติในประเทศ มีการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว 10 ปี แต่ยังไม่สามารถผ่านรัฐสภาออกมาเป็นกฎหมายได้ ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ของรัฐ เช่นทำให้การซ้อมทรมานเป็นความผิดทางอาญา รัฐต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการซ้อมทรมานและจัดให้มีการเยียวยาเหยื่อและผู้ได้รับผลกระทบ ที่ผ่านมาการทำงานมีความคืบหน้าเล็กน้อยเท่านั้น มาตรการต่างๆในการป้องกัน แก้ไขเยียวยาการซ้อมทรมานยังไม่มีการนำมาปฏิบัติ เช่นให้ญาติสามารถเยี่ยมบุคคลที่ถูกควบคุมตัวได้ หากมีเหตุสงสัยว่าอาจมีการซ้อมทรมานก็ต้องมีการตรวจร่างกายโดยแพทย์ หรือให้ศาลตรวจสอบโดยทันที องค์กรอิสระหรือผู้ตรวจสอบต้องสามารถพูดคุยกับผู้ถูกควบคุมตัวได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกกำกับหรือเฝ้าดูโดยเจ้าหน้าที่ และเข้าเยี่ยมได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า แต่ข้อเรียกร้องต่างๆจากภาคประชาสังคมไม่เคยได้รับการนำไปปฏิบัติ เช่น เยี่ยมได้ไม่เกิน 30 นาที แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถพูดคุยได้ด้วยซ้ำไป
  • ปัจจุบัน องค์กรภาคประชาสังคมได้ริเริ่มการทำงานด้านการฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง โดยเฉพาะการฟื้นฟูเยียวยาด้านจิตใจ และการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม แต่ยังดำเนินการโดยลำพัง รัฐยังๆไม่ได้สนใจ โดยเน้นการชดใช้เยียวยาเป็นตัวเงิน ซึ่งไม่เพียงพอ ดีที่มีเจ้าหน้าที่รัฐบางคน ในฐานะส่วนตัว ได้สนับสนุนกิจกรรมของภาคประชาสังคมดังกล่าว รัฐจึงควรสนับสนุนงานด้านนี้ให้มากขึ้น  โดยพึงตระหนักว่า หากรัฐต้องการสร้างสันติสุขใน จชต. ต้องไม่ละเลยทั้งการป้องกันความรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดจากฝ่ายใด และฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ทุกฝ่ายอย่างจริงจัง

บรรยายเรื่องการเยียวยาโดย Dr. Siti Irma Fadhilah Ismail , Dr. Mahadir Ahmad กาชาดสากล   และ อาจารย์วัชรี น้อยผา

ประเด็นเรื่องผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ

  • Dr. Mahadir Ahmad: ในฐานะนักจิตวิทยาคลินิก ได้ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายและได้พบว่าในห้าปีที่ผ่านมา เราเห็นผลกระทบว่าการทรมานในมุมของนักจิตวิทยาว่า มีผลกระทบในสุขภาพจิตเห็นหลายคนมีสภาวะ PTSD ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ วิตกกังวล หดหู่ ฯลฯ เราพบว่าผู้เสียหายจากการทรมานได้รับผลกระทบมากในระดับบุคคล บางคนเป็นผู้นำชุมชน เป็นผู้นำในครอบครัว ไม่สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติ เพราะพวกเขาเป็นผู้นำเป็นต้นแบบของครอบครัวและสังคม เวลาถูกจับกุมควบคุมตัวคุมขังอาจสูญเสียงาน ตัวเขาเองก็สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองไป รวมทั้งการอยู่ร่วมกันสังคมชุมชนเพราะเขามีปฏิกริยาที่แตกต่างจากพฤติกรรมเดิมของเขา
  • Dr. Siti Irma Ismail: สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานในระดับบุคคล 1/3 คนที่เราได้พบนั้นพบว่าเขามีสภาวะ PTSD บางคนอาจเป็นเพียงแค่ซึมเศร้า ระดับนี้ทำให้เขาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่เป็นปกติได้แล้ว เช่น บางครั้งหมายถึงมีปัญหาเรื่องความมั่นใจในตนเอง  ครอบครัวก็ได้รับผลกระทบด้วยโดยเฉพาะเด็ก เพราะเด็กๆ เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง  เช่นการถูกจับกุม การควบคุมตัว ส่งผลต่อเด็กต่อการเรียน เด็กบางคนไม่อยากไปโรงเรียน ในระดับบุคคล มีปัญหาว่าจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรดี พูดอะไรหรือไม่พูดอะไรเมื่อผู้ถูกจับกลับมาที่บ้าน เป็นต้น  ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยังคงดำเนินต่อไป เพราะมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีก หรือมีเหตุการณ์ซ้ำๆเดิมๆๆ ก็จะเกิดขึ้นอีกได้เสมอ เพราะสิ่งต่างๆ ยังคงเหมือนเดิมและอาจเกิดขึ้นซ้ำอีกได้
  • อาจารย์วัชรี น้อยผา: การทรมานเกิดขึ้นจริง และผลกระทบส่งทั้งต่อเหยื่อและผู้อยู่รอบข้างเหยื่อ สิ่งที่ค้นพบคือตัวเหยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม แล้วใช้อารมณ์กับครอบครัว มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ที่พบคือความรุนแรงทางวาจา บุตรของเหยื่อก็มีการเรียนรู้ที่จะใช้ความรุนแรง ใช้ความรุนแรงกับเพื่อนในโรงเรียน ผลกระทบจึงไม่ได้เกิดแค่กับเหยื่อแต่กับครอบครัว เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่เจอมากสุดคือ PTSD และซึมเศร้า ไม่ใช่แค่อาการในเหยื่อแต่กับบุคคลอื่นในครอบครัวด้วย เด็กขาดผู้ดูแล ไม่อยากออกจากบ้าน ไม่อยากไปโรงเรียน ภรรยาของเหยื่อก็หวาดระแวงต่อเจ้าหน้าที่ ต่อสายตาคนในชุมชน

จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร?

  • Dr. Mahadir Ahmad: การอดทนเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม หรือกลับคืนสู่สังคม ระดับแรกเหยื่อต้องพยายามเข้าใจสภาพตนเองก่อน ให้ความรู้กับสภาวะที่เขาพบเจอและจัดการอย่างไร เมื่อมีความรู้ความเข้าใจก็จะทำให้ช่วยเหลือได้ง่าย  แต่หากพยายามปฏิเสธจะทำให้การให้ความช่วยเหลือและรับความช่วยเหลือยากขึ้น ถ้าพยายามยอมรับ ซึ่งบางคนนานมากบางคนก็ไม่นาน  Resilience Training  จะทำให้เขาเข้าใจว่าจะสามารถเห็นคุณค่าของตนเอง ได้รับการยอมรับจากสังคมหรือคนรอบข้างได้อย่างไร ฟื้นฟูและช่วยเหลือตนเองได้ ให้มีปกติสุขในชีวิตประจำวัน      เพราะผลของการทรมานทำให้เขาคิดว่าเขาถูกกีดกันออกไม่ได้รับการยอมรับอีกแล้ว  ความยากในการทำงานเพราะพวกเขามีบาดแผลทางด้านจิตใจและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จะทำอย่างไรให้เขาเชื่อมั่นกับคนอื่นอีกครั้ง ให้ความรัก พูดคุยสนทนาที่แสดงว่าเราต้องพยายามชักชวนและสนับสนุนให้เขาเข้าใจว่าสภาวะแบบนี้เปลี่ยนแปลงได้ในทางบวก ทำงานให้เขาเข้าใจเรื่อง Reconsolidate Emotional Wound เพื่อให้เขาและครอบครัวได้กลับมามีชีวิตเป็นปกติสุขอีกครั้ง
  • Dr. Siti Irma Fadhilah Ismail: ก่อนที่จะทำให้เขาฟื้นฟู นั้น ก่อนหน้านั้นเราต้องทำงานอย่างหนักก่อนคือการสร้างให้เกิดการทำงานเพื่อให้เราสามารถเข้าถึงพวกเขาทั้งเรื่องของการตรวจร่างกาย ตรวจสภาวะจิตใจ และมีสภาวะที่สามารถเปิดเผยความจริงได้ด้วยความปลอดภัยและไม่แพงเกินไปสามารถจ่ายได้   ต้องสร้าง Resiliency ทางด้านร่างกายก่อน ต้องทำให้ตนเองกินได้ดี ออกกำลังกาย พักผ่อน นอนได้ดี ทำให้ร่างกายเรามีความยึดหยุ่นที่ดีก่อนด้วย ความสะอาดของสถานที่ บ้านที่สะอาด    Resiliency ทางด้านจิตใจก็ต้องสร้างเราต้องสามารถคุยและเข้าใจ รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้สามารถรู้ว่าสาเหตุคืออะไร  ทำให้เขาคิดถึงตัวเองมากขึ้นแต่ไม่ใช่คิดแต่เรื่องอดีต  ว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างไร  แต่คิดว่าตอนนี้เป็นอย่างไร ทำให้คิดถึงตนเองมากขึ้น ตอนนี้ทำไมโกรธง่าย ฯ แต่ถ้าได้คุยกันได้สร้างความรู้เรื่องสุขภาพจิตของตนเอง ถ้าเกิดขึ้นอีกเพราะคุมไม่ได้แต่ถ้าได้เปิดเผยคุยกันก็จะดีขึ้นได้ถ้าได้รู้และคุยกันกับคนรอบข้าง คนรอบข้างก็สำคัญในการระมัดระวังและการตระหนักรู้ของผู้ผ่านความรุนแรงมา
  • อาจารย์วัชรี น้อยผา: การบาดเจ็บทางด้านร่างกายมักจะมีการจ่ายเงินแล้ว แต่สิ่งที่ยังขาดไปคือกระบวนการเยียวยาอย่างต่อเนื่องและการติดตามผลตรวจสอบกระบวนการให้ต่อเนื่อง ตระหนักรู้ตนเอง  เราทำในรูปแบบของ สามเหลี่ยมรู้ตัว รู้จักตัวตนของเราของเหยื่อและสมาชิกในครอบครัว รู้สภาวะอารมณ์ความรู้สึกเมื่อรู้แล้วว่าอารมณ์เป็นลบ ก็ต้องจัดการพฤติกรรมไปในทางบวก รู้ตัวมีสติความรู้สึกเป็นอย่างไรจะออกจากความรู้สึกลบนั้นได้อย่างไร  รู้จักสังคม เส้นอำนาจโอกาสและอภิสิทธิ์ อำนาจรวม อำนาจที่เหนือกว่า และอำนาจที่ต้องสร้างขึ้นจากภายในตัวตนของเหยื่อกรอบแนวคิด 1. รู้จักและรักตัวเอง 2. รู้ตัว 3. รู้จักสังคม

การสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม

  • อาจารย์วัชรี: เสนอให้คนในครอบครัว “ฟังอย่างลึกซึ้ง” และต้องฟังแบบไม่ตัดสิน ฟังแบบไม่แสดงความเห็น ไม่ต้องให้ข้อเสนอแนะหรือข้อสรุป  สมาชิกในครอบครัวต้องสังเกตฯ ทางร่างกายหรือจิตใจ สภาวะของพวกเขาว่าเป็น PTSD มีภาวะวิตกกังวลมากเกินไปไหม  มีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ ถ้าสมาชิกในครอบครัวรู้หรือเข้าใจก็จะช่วยส่งต่อไปยังผู้มีความเชี่ยวชาญกว่าในการช่วยเหลือได้    การทำงานเพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับผู้เสียหาย เช่นการต้องไปศาล หรืออาจถูกจับใหม่อีกครั้งต้องปฏิบัติตนอย่างไร
  • Dr. Mahadir Armad: ผู้เสียหายต้องดูแลตัวเองและเราอาจต้องจัดให้ต้องการพื้นที่ทางใจ ต้องการให้คนรับฟัง และฟังในสิ่งที่เขาเจอประสบและมีปัญหา ฟังเพื่อให้ได้ยิน ได้ยินในสิ่งที่เขาร้องขอ ต้องการความช่วยเหลือ ฟังนั่งฟังแบบไม่ต้องโต้ตอบ ฟังอย่างเข้าใจว่าเขาต้องการอะไร คนส่วนใหญ่จะฟังแต่ไม่ได้ยิน

การเสวนาหัวข้อ กฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี  (CAT) โดย  ศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF) International commission of jurists (ICJ)

ความท้าทายในบริบทประเทศไทย กฎหมายที่อาจเปิดช่องให้มีการซ้อมทรมาน และการนำกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย

คุณสมชาย หอมลออ: จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) มีการใช้กฎหมายพิเศษได้แก่ กฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินฯ และพรบ.ความมั่นคงฯ ซึ่งได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ภายใต้ กอ.รมน ภาค 4 มีอำนาจอย่างยิ่งในการค้น จับ และขัง บุคคลได้ โดยรัฐบาลอ้างว่ามีความจำเป็น แต่ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ต้องตั้งคำถามว่าสถานการณ์ใน ทจชต. รุนแรงถึงขั้นที่ต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษเหล่านี้หรือไม่ การประกาศใช้กฎหมายพิเศษอาจเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เช่นการอุ้มหาย อุ้มฆ่า อุ้มทรมาน กฎอัยการศึกให้อำนาจเจ้าหน้าที่จับผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อจับแล้วจะนำตัวไปควบคุมไว้ในค่ายทหารเป็นเวลา 3-7 วัน นอกจากนั้น พรก.ฉุกเฉินฯ ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวบุคคลนั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องมีข้อหา แม้เจ้าหน้าที่จะต้องขออนุญาตจากศาลก็ตาม โดยขอควบคุมตัวได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน รวมแล้วไม่เกิน 30 วัน การควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกและพรก.ฉุกเฉินฯ  เจ้าหน้าที่มุ่งหาข้อมูล หรือคำรับสารภาพ จากบุคคลดังกล่าว โดยใช้ กรรมวิธี  ซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนได้ถามเจ้าหน้าที่ว่า             ”กรรมวิธี” ดังกล่าวคืออะไร แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ ไม่เปิดเผยว่ามีระเบียบปฏิบัติภายในเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไร

แต่ข้อมูลที่ได้จากผู้ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกและ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ มีความว่าคล้ายคลึงกับการซ้อมทรมานมาก การที่เจ้าหน้าที่จับเอง ขังเอง สอบสวนเองเป็นปัญหาอย่างมาก ที่เปิดชองให้เกิดการซ้อมทรมานได้ นอกจากนั้นผู้ถูกขังญาติเยี่ยมไม่ได้ หรือเยี่ยมได้ห่างๆ ไม่สามารถพูดคุยได้ และไม่สามารถปรึกษากับทนายความหรือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดการทรมานขึ้นหรือไม่ กระบวนการร้องเรียนให้แพทย์ตรวจสอบก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะใช้บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เป็นอิสระ ทำให้การเรียกร้องต่อศาลแทบจะไม่ได้ผล

การซ้อมทรมานในจังหวัดชายแดนใต้ไม่ได้มีปัญหาแค่คดีความมั่นคงเท่านั้น แต่มีปัญหาเรื่องคดียาเสพติดด้วย รัฐใช้งบประมาณมหาศาล การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด ได้ให้อำนาจ จนท.มาก เช่น เจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้ต้องสงสัยไว้ใน safe house เป็นเวาลา 3 วัน ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหน  โดยอ้างว่า 3 วันนี้ เพื่อ “ขยายผล”  สิ่งที่เรียกว่า “การขยายผล” เช่นเดียวกับ “กรรมวิธี” ซึ่งไม่มีคำอธิบายว่าคืออะไร มีกฎเกณฑ์ระเบียบให้เจ้าหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง เช่นห้ามไม่ใช้แตะเนื้อต้องตัว ห้ามโดยเด็ดขาดหรือไม่

การใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษทำให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบในการทำร้ายร่างกายผู้ถูกจับกุมคุมขัง

ประเด็นปัญหาและช่องทางในการร้องเรียน

  • คุณบุษยมาศ อิศดุลย์ บ้านบุญเต็ม นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรม: ทำงานช่วยเหลือเยาวชนที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง รวมทั้งเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด เช่นในภาพที่ตำรวจตรวจค้นเยาวชน จะถูกบังคับซ่อมโดยให้นอนกลิ้งบนถนน ใช้ด้ามปืนตีหัว ยกตัวอย่างเยาวชนคนหนึ่ง เจ้าหน้าที่บังคับตรวจปัสสาวะแล้วพบว่าเป็นสีม่วง จึงนำไปขังใน safe house  แห่งหนี่งเพื่อขยายผล โดยไม่แจ้งครอบครัว ผู้ต้องหายอมนรับว่าเสพยาจริง แต่เจ้าหน้าที่พยายามบังคับให้สารภาพว่ามียาเสพติด 20 เม็ด ซึ่งเข้าข่ายจำหน่าย ในที่สุดผู้ต้องหาถูกซ้อมจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องนำส่งโรงพยาบาลมายอก่อนส่งสถานีตำรวจ ทางพี่สาวได้รับโทรศัพท์ว่าน้องชาย(เหยื่อ) ประสบอุบัติเหตุ อยู่โรงพยาบาล ให้มาดู โดยโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อญาติคือโทรศัพท์ของญาติผู้ป่วยเตียงข้างๆ มีเจ้าหน้าตำรวจที่เฝ้าอยู่ 2 คน คนเจ็บถูกใส่กุญแจมือติดเตียง ถูกยึดโทรศัพท์ นับจากที่ส่งโรงพยาบาล 2 ชั่วโมงถึงมีผู้ประสงค์ดีแจ้งญาติ พี่สาวของเหยื่อไปร้องเรียนที่ ศอ.บต. เจ้าหน้าที่ ศอ.บต.โทรตรงหาผู้กำกับตำรวจมายอ แล้วตำรวจจำนวนหนึ่งก็รีบมาที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อนำเหยื่อไปโรงพักทั้ง ๆที่ยังบาดเจ็บสาหัสอยู่และต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล  เพื่อตั้งข้อหาเสพยา มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และต่อสู้ขัดขวางวเจ้าพนักงาน แต่แพทย์ไม่ยอมให้เอาตัวผู้บาดเจ็บไป จึงต้องใส่กุญแจมือติดเตียงไว้ดังภาพ หลังจากนั้นจึงได้พาญาติไปร้องเรียนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ ปัจจุบันกลุ่มตำรวจที่ทำร้ายเหยื่อถูกตั้งกรรมการสอบ และเหยื่อผู้เสียหายก็ร้องทุกข์แจ้งความดำเนินคดีตำรวจกลุ่มนั้น ประเด็นที่ต้องการชี้คือ เหยื่อและครอบครัวต้องกล้าต่อสู้ กล้าร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
  • คุณอับดุลอาซิซ์ อาแด ตัวแทนจากศูนย์ทนายความมุสลิม: เจ้าหน้าที่มักอ้างว่าทำตามกรอบกฎหมาย แม้จำเลยจะยืนยันตลอดว่ารับสารภาพเพราะถูกทรมาน กฎหมายไม่เอื้อให้มีการพิสูจน์คำกล่าวอ้างของจำเลย ว่าถูกทำร้ายร่างกายถูกบังคับให้รับสารภาพ หากจำเลยรับสารภาพแล้วจะเยี่ยมได้มากขึ้น และจะดำเนินการให้รับสารภาพต่อหน้าญาติ ต่อหน้าทนาย ซึ่งศาลจะอ้างว่าจำเลยรับสารภาพแล้ว แต่คำถามคือกรรมวิธีแบบไหนที่เจ้าหน้าที่ใช้ต่อจำเลยจนยอมรับสารภาพ ทั้งที่โทษสูงถึงประหารชีวิต ตราบใดที่มีการใช้กฎหมายพิเศษ ไม่มีการให้เยี่ยมญาติ ไม่สามารถพบทนายได้ ก็เป็นปัญหาต่อไป และยังไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดต่อเหยื่อมาลงโทษได้ จึงต้องมีการแก้ไขกระบวนการทางกฎหมายพิเศษ
  • คุณสัณหวรรณ ศรีสด ตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ): ไทยเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ มา12 ปี แล้ว หมายความว่าไทยจะต้องออกกฎหมายภายในประเทศมาเพื่อรองรับการนำพันธสัญญาตามอนุสัญญามาปฏิบัติ  ซึ่งร่างพรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ฉบับล่าสุดเราพูด เราทำกันมากว่า 3-4ปีแล้ว จนก่อนเลือกตั้ง1อาทิตย์ ได้มีการนำขึ้นสู่วาระพิจารณาในในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขณะนั้น   แต่หลังจากนั้นก็มีคำสั่งให้นำออกจากวาระการพิจารณากฎหมาย และไม่ทราบว่าจะได้รับการตราเป็นกฎหมายอีกเมื่อใด   ตามมาตรฐานระหว่างประเทศศาลต้องมททำหน้าที่ในการช่วยตรวจสอบคัดกรอง โดยหลังจากถูกจับภายใน 48 ชั่วโมงผู้ถูกจับต้องถูกพาตัวไปศาล ศาลต้องเป็นคนดู ซักถาม และตจรวจสอบว่าการจับกุมคุมขังชอบและมีเหตุอันสมควรหรือไม่ แต่ในพื้นที่สามจังหวัดมีความเป็นไปได้ที่จำเลยจะไม่มีโอกาสพบศาลเลยภายในระยะ 37 วัน ทำให้ศาลไม่สามารถตรวจสอบการจับและการขังได้
  • ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ถูกจับถูกขังต้องมีสิทธิได้รับการเยี่ยมจากญาติและพบทนายความ เพื่อให้ญาติและทนายทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของเขา แต่สิทธินี้ไม่ได้เขียนอยู่ในกฎหมายพิเศษ มีอยู่แต่ในระเบียบปฏิบัติของ กอ.รมน. ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้หากมีการฟ้องร้องว่ามีการทรมานเกิดขึ้น ผู้เสียหายยังต้องฟ้องเป็นคดีคดีต่างหาก ไม่สามารถร้องต่อศาลได้ดดยตรงให้ไต่สวน โดยต้องฟ้องแยกจากคดีที่ตนถูกกล่าวหา โดยศาลก็จะพิจารณาและตัดสินคดีที่ถูกกล่าวหาไปเลยตามหลักฐานที่นำเสนอมาจากชั้นสอบสวนและอัยการ โดยไม่ได้รอผลการพิจารณาคดีที่จำเลยอ้างว่าถูกซ้อมทรมานเสียก่อน
  • ตามกฎหมายระหว่างประเทศมีหลักการความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชา ว่าผู้บังัคบบัญชาที่รู้เห็นเป็นใจหรือละเลยจนทำให้ผู้ใต้บังัคบบัญชาซ้อมทรมานผู้อื่น ต้องรับผิดในทางอาญาด้วย แต่ไม่มีอยู่ในกฎหมายไทย การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการสืบสวนสอบสวนต้องเป็นกลางและเป็นอิสระทั้งในเชิงสถาบัน และสายการบังคับบัญชา ตามหลักการของMinnesota Protocol การสืบสวนสอบสวนก็ต้องโปร่งใส และสาธารณะหรือประชาชนสามมารถติดตามและตรวจสอบความโปร่งใสได้ รวมทั้งเหยื่อและญาติด้วย จึงต้องสื่อสารหรือรายงานต่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ แต่สำหรับประเทสไทยมักอ้างว่าเป็นความลับ หรือแม้แต่แพทย์นิติเวชฯ เอง ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศต้องเป็นกลางและเป็นอิสระในเชิงสถาบันคือ  ต้องไม่สังกัดหน่วยงานเดียวกันกับเจ้าหยน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าซ้อมทรมาน สำหรับประเทสไทยในเรืองนี้ในทางปฏิบัติยังขาดความความโปร่งใส

สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข ข้อเสนอแนะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สภาพปัญหา

  • คุณสมชาย หอมลออ: ก่อนอื่นทุกฝ่ายต้องยอมรับว่าการทรมานเป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาด ตามหลักกฎหมายแล้วเจ้าหน้าที่จะกระทำการสิ่งใดไม่ได้เลยถ้ากฎหมายไม่ให้อำนาจไว้ ประเทศไทยไม่มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ที่จะทรมานบุคคลได้ ดังนั้นจึงทำไม่ได้ แต่สังคมไทยกลับยอมรับให้เจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานได้ โดยเฉพาะต่อผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติด เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือผู้ที่ถูกกล่าวหาในสายตาของสังคมเป็นคนไม่ดี  นอกจากนี้เจ้าหน้าที่และศาลยังมีการตีความกฎหมายตามตัวอักษร ไม่ใช่ตามเจตนารมณ์ ที่ต้องตีความกฎหมายไปในทางรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการตีความกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่และบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม อ้างว่าผู้ถูกจับกุมคุมขังไม่ใช่ “ผู้ต้องหา” เป็นเพียง “ผู้ต้องสงสัย” ภายใต้กฎหมายพิเศษ จึงไม่มีสิทธิเช่นเดียวกับผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการแจ้งสิทธิ การเยี่ยมโดยญาติ และพบทนายความ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกระบวนการยุติธรรม   ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่ากระบวนการยุติธรรมในจังวหัดชายแดนใต้ มีพัฒนาการในไปในทางลบ เช่นศาลในปัจจุบันนี้ยอมรับว่าบันทึกถ้อยคำที่ได้จากการซักถามผู้ต้องสงสัยที่ได้ระหว่างการคุมขังตามกฎอัยการศึกและพรก.ฉุกเฉินฯ ใช้เป็นหลักฐานในคดีได้ โดยศาลเพิกเฉยต่อ “กรรมวิธี” ซึ่งเป็นการทรมาน หรือการทำให้ผู้ถูกคุมขังจำยอม นอกจากนี้ ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา แทบจะไม่มีการนำตัวเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดมาลงโทษเลย  เช่นคดีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง เพราะกระบวนการนำเจ้าหน้าที่ที่ทำผิดมาลงโทษทางวินัยและทางอาญาสลับซับซ้อน และซ่อนเงื่อน จนประชาชนลืมคดีไปแล้ว การล่อยให้เจ้าหน้าที่ลอยนวลพ้นผิดเป็นปัญหาใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมไทย

ข้อเสนอแนะ

  • คุณสมชาย หอมลออ: ขอเสนอเรื่องความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional justice) ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน จชต. แม้ว่าความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน มักนำมาใช้เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เห็นว่า หลักการของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน อาจนำมาใช้ได้ แม้ยังมีความขัดแย้งอยู่ โดยสามมารถใช้สำหรับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เหกิดขึ้นได้ โดยวหลักการที่สำคัญคือ 1. เมื่อมีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นการทรมานเกิดขึ้น จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างอิสระ โดยคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่เป็นอิสระ เพื่อให้ได้ความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น อย่างไร เพราะอะไร และมีผลกระทบต่อใคร อย่างไรเป็นต้น  2. ต้องชดใช้เยียวยาเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดนั้น เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ได้รับผลกระทบมีสภาพดีดังเดิมให้ได้ใฃมากที่สุด  3. นำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ภายใต้หลักการความยุติธรรมสมานฉันท์ เช่นหากให้ความร่วมมือในการตรวจสอบความจริง สำนึกผิด และขอโทษ อาจได้รับการลดโทษ หรือลงทษสถานเบา 4. ปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน ได้แก่เปลี่ยนนโยบาย แก้ไขกฎหมาย ปรับโครงสร้าง และการปรับเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุทรมานอีกในอนาคต เช่น เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ระเบียบห้ามญาติเยี่ยมผู้ถูกคุมขังหรือไม่ให้พบทนายความทำให้เกิดการซ้อมทรมาน ก็ต้องยกเลิกข้อระเบียบนั้น การให้อำนาจเจ้าหน้าที่นำผู้ต้องหายาเสพติดไปคุมขังไว้ใน safe house เป็นเวลาสามวัน ตามกฎหมายปราบปรามยาเสพติด ทำให้ผู้ต้องหาถูกซ้อมทรมาน ก็ต้องแก้กฎหมาย ยกเลิกอำนาจนั้นเป็นต้น
  • คุณสัณหวรรณ ศรีสด ตัวแทนจาก ICJ
    • มาตรการป้องกันตามร่างพรบ.ทรมานและบังคับให้สูญหาย ซึ่งร่าง พรบ. ฉบับนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยุติการพิจารณากลางคัน มีประเด็นที่สำคัญคือ:
      • เจ้าหน้าที่ต้องเก็บข้อมูลและภาพถ่าย ก่อนและหลังจากการจับกุมตัว โดยญาติสามารถขอให้เจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ หากเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ สามารถฟ้องศาลให้ศาลสั่งให้เจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลได้ แต่ยกเว้นในกรณีที่อาจส่งผลต่อการดำเนินคดีอาญา ซึ่งตีความได้กว้างมาก
      • หากญาติสงสัยว่ามีการทรมานในที่คุมขัง สามารถร้องศาล ให้ไต่สวนเพื่อและกำหนดมาตรการเพื่อยุติการทรมานได้ เช่นเปลี่ยนที่คุมขัง หรือให้เยี่ยมได้
      • การลงโทษผู้บังคับบัญชาที่รู้เห็นเป็นใจ หรือเพิกเฉยต่อการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ ร่างกฎหมายเขียนไว้เฉพาะในกรณีอุ้มหาย ไม่รวมกรณีทรมานเท่ากับว่าหากผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทรมาน ผู้บังคับบัญชาไม่ต้องรับผิด
      • การห้ามส่งผู้ถูกจับกลับไปนอกประเทศที่ผู้ถูกจับอาจต้องเผชิญอันตรายหรือความเสี่ยงที่จะถูกทรมาน แต่ถูกตัดออกไปทั้งมาตรา
      • การสืบสวนสวนสวนให้เป็นดีเอสไอ ถ้าผู้ต้องสงสัยเป็นดีเอสไอ ให้อัยการสืบสวนสอบสวน และให้ขึ้นศาลทุจริตประพฤติมิชอบ ผู้พิพากษามีอำนาจในการไต่สวน วิธีพิจารณาความของศาลนี้ มีข้อยกเว้นกรณีทหารกระทำผิดโดยไม่มีพลเรือนร่วม ให้คดีที่ทหารตกเป็นจำเลยพิจารณาโดยศาลทหาร ประเด็นนี้ควรต้องแก้ไขและระบุในร่างพรบ.ทรมานฯ ด้วยว่าคดีทรมานและอุ้มหาย ไม่ว่าผู้ต้องหา/จำเลยจะเป็นใคร ต้องพิจารณาคดีโดยศาลพลเรือน
      • ในร่างนี้มีบทลงโทษ มีโทษมากขึ้น ต้องลงโทษได้ก็ต่อเมื่อการทรมานมีวัตถุประสงค์พิเศษและเพื่อให้ได้ข้อมูล เพื่อการลงโทษ เพื่อข่มขู่ น่าจะทำให้เกิดการตีความที่ทำให้คดีทรมานอาจไม่สามารถมาใช้ได้ลงโทษได้จริง
      • ต้องเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าไม่สามารถนำข้อมูลใดๆที่มีการทรมานเกิดขึ้นตามข้อกล่าวอ้างเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีในชั้นศาล และต้องมีการสืบสวนเรื่องการกระทำทรมานที่มีการอ้างถึงในชั้นศาลให้เสร็จสิ้นก่อน ถึงจะใช้ข้อมูลที่จำเลยรับสารภาพ หรืออ้างถึง ในการตัดสินคดีได้ ไม่ใช่ให้ไปฟ้องร้องคดีต่างหาก แต่กลับยอมรับให้อัยการสามารถนำหลักฐานที่ได้ในชั้นซักถามมาใช้ในการฟ้องคดี
    • คุณอับดุลอาซิซ์ อาแด ตัวแทนจากศูนย์ทนายความมุสลิม เสนอว่ามาตรการในทางปฏิบัติที่ควรทำคือ
      • คดีที่จำเลยร้องเรียนว่าถูกทรมาน หากร้องเรียนทันทีทันใดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะช่วยในเรื่องพยานหลักฐานในชั้นศาลได้มาก
      • หากเห็นว่ามีพฤติกรรมทำร้ายร่างกาย สามารถใช้ช่องทางศาลให้ศาลมีการไต่สวนพฤติกรรมดังกล่าว แต่หลายๆครั้งรัฐก็จะชิงปล่อยตัวก่อน
      • แจ้งความว่าถูกทำร้ายร่างกาย ร้องขอให้แพทย์ตรวจสอบ
    • คุณบุษยมาศ อิศดุลย์ ประธานบ้านบุญเต็ม
      • ร้องเรียนวินัยและแจ้งความดำเนินคดี
        • ภาพถ่าย เอกสาร ต้องรีบแจ้งความดำเนินคดี นำพยานหลักฐานเหล่านั้นส่งให้พนักงานสอบสวน เพราะศาลจะถามว่าได้แจ้งความดำเนินคดีเรื่องโดนซ้อมทรมานรึเปล่า
        • เราไปแจ้งความให้ได้ ติดคุกประกันได้ยาก แต่ออกมาแล้วก็ต้องกลับมาแจ้งความต้องออกหมายเลขคดี เมื่อเรื่องขึ้นสู่ศาล ๆ ก็จะถามว่าแจ้งความไหม ญาติแจ้งความเองไม่ได้ ต้องพาไปให้พนักงานสอบสวน และต้องมีพยานหรือพนักงานสอบสวนพร้อมทนายนั่งรับฟังสอบปากคำด้วยกัน
        • ร้องเรียนกสม. สำนักงานตำรวจแห่งชาติทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ควรร้องเรียนปปท.ภาค   9   ด้วย
        • การติดตามจากสื่อมวลชนก็สำคัญในการสื่อสารเรื่องราว สื่ออาจถูกดำเนินการหมิ่นประมาทได้ ดังนั้นเราต้องดำเนินการจากความจริงที่เกิดขึ้น