แถลงการณ์ร่วม :  กรณีเด็กได้รับผลกระทบจากความรุนแรง เผยแพร่วันที่  27 พฤษภาคม  2562 สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองและสิทธิที่จะมีชีวิตรอดของเด็กในจังหวัดชายแดนใต้อยู่ที่ไหน

Share

 

4แถลงการณ์ร่วม :  กรณีเด็กได้รับผลกระทบจากความรุนแรง

เผยแพร่วันที่  27 พฤษภาคม  2562

สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองและสิทธิที่จะมีชีวิตรอดของเด็กในจังหวัดชายแดนใต้อยู่ที่ไหน

โดยเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 มีเหตุระเบิดตลาดนัดบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีและทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 คนและได้รับบาดเจ็บจำนวน 22 คน ในจำนวนดังกล่าวมีเด็กเสียชีวิต 1 คนและได้รับบาดเจ็บอีก 2 คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุเพียง 2 ปี 5 เดือน และมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่มีเด็กบาดเจ็บถึง 2 คน คือเหตุการณ์ยิงครอบครัวผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่  9 พฤษภาคม 2562 ที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ทั้งสองเหตุการณ์แสดงทำให้เห็นว่าการเดินทางพ่อแม่บนถนนสาธารณะ และการเดินตลาดไม่เป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา เราเชื่อว่าทั้ง 2 เหตุการณ์ผู้กระทำย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจว่าการกระทำไม่ว่าจะเป็นการยิงหรือระเบิดย่อมส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเด็ก การกระทำที่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ว่าจะเป็นกติกาใดทั้งหลักสิทธิมนุษยชน  กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และหลักการศาสนาทุกศาสนา ไม่อาจยอมรับได้

กลุ่มด้วยใจและองค์กรเครือข่ายขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและครอบครัวผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ได้รับบาดเจ็บ และความสูญเสียทุกรูปแบบ ขอแสดงความเสียใจต่อผู้กระทำที่คุณได้สูญเสียความชอบธรรมในการต่อสู้ เรียกร้อง

ที่ผ่านมากรณีการละเมิดที่เกิดขึ้นกับเด็กมีแนวโน้มที่ลดลงไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใดแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะของการต่อสู้ การยอมรับกติกาที่ประชาชนพึงพอใจ เราจึงขอเรียกร้องให้ทุกผ่ายหวนกลับไปเคารพกติกา ปกป้องคุ้มครองเด็ก ไม่เป็นผู้ละเมิดสิทธิเด็กไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

เราขอเรียกร้องให้ทุกปฏิบัติการของทุกฝ่ายตระหนักถึงผลกระทบต่อเด็กและประโยชน์สูงสุดของเด็กขอเรียกร้องให้ผู้กระทำ ผู้สั่งการได้พิจารณาการยุติการใช้ความรุนแรงเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองของตนเองหรือเพื่อผลประโยชน์ของตน  และเรียกร้องเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและกระบวนการยุติธรรมดำเนินการนำคนผิดมาลงโทษและแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้อย่างจริงจังเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อเด็กและประชาชนผู้บริสุทธิ์ในระยะยาว

เราขอไม่มาก แต่ขอให้ทำ

องค์กรร่วมลงนาม

  1. เครือข่ายปกป้องเด็กจังหวัดชายแดนใต้ (Child Protection Network)
  2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  3. กลุ่มด้วยใจ
  4. กลุ่มเยาวชนบ้านควน
  5. สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและยาวชนชายแดนใต้
  6. เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (Civic Women)
  7. กลุ่มสลาตันเนเจอร์ ( Selatan Nature)
  8. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
  9. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี(HAP)
  10. กลุ่มสะพานปัญญา

บุคคลร่วมลงนาม

  1. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ
  3. ฟารีดา ปันจอร์ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  4. ชลิตา บัณฑูวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. อับดุลสุโก ดินอะ ที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา
  6. ตัสนีม โตะโยะ (นักกายภาพบำบัด)
  7. นายซาฮารี เจ๊ะหลง     นักศึกษาปริญญาโท สันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  8. มูฮัมหมัดรุสดี เชคฮารูณ พรรคประชาชาติ
  9. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  10. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการอิสระ
  11. สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
  12. อรยา ไกรนิรากุล ประชาชนไม่เอาความรุนแรง
  13. อัดนันต์ อาแว ประธานกลุ่ม The Melayu Movement
  14. พีระพงค์ อมรพิชญ์
  15. นายทวีศักดิ์ ปิ
  16. โยฮัน สาตออุมา
  17. อิมรอน​ ซา​เหาะ​
  18. รุสนา ดาหมิ
  19. ฟิรดาวส์ แสงอรุณ
  20. ภัควดี วีระภาสพงษ์
  21. กดาเรีย เหมมินทร์
  22. นันท์ศิริ เอี่ยมสุข
  23. ศรันย์ สมันตรัฐ
  24. รอซีดะห์ ปูซู
  25. นูรไลลา เบ็ญฮาวัน

 

 

 

 

TAG

RELATED ARTICLES

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading