[:th]CrCF Logo[:]

เปิดหนังสือจาก UN รัฐบาลไทยให้ชี้แจง ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการคุกคามชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจาน

Share

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 คณะทำงานว่าด้วยการสูญหายของบุคคลโดยถูกบังคับหรือโดยไม่สมัครใจผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด ถูกสุขลักษณะและยั่งยืน ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทยว่า ได้รับรายงานกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ไทย ได้โจมตี ทำร้ายและการคุกคามชาวกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่อาศัยในกลุ่มผืนป่าแก่งกระจานมาเป็นระยะนานนับร้อยปี

โดยในปี 2554 เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้กำลังเผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง  เรือกสวนไร่นาและบังคับพวกเขาให้โยกย้ายออกจากบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน การสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของชาวกะเหรียงในปีเดียวกัน กรณีการหายตัวไปในปี 2557 ของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี หลังจากถูกเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวจับกุม โดยรัฐบาลไทยล้มเหลวที่ไม่สามารถดำเนินการใดๆกับเจ้าหน้าที่และผู้ที่กระทำผิดได้ รวมทั้งกรณีที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าชุดปฏิบัติการได้ฟ้องร้องดำเนินคดีนายวุฒิ บุญเลิศ นักวิชาการอิสระเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ในข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากส่งต่อโดยโพสต์ข้อความในลักษณะให้มีการตรวจสอบไร่ชัยราชพฤกษ์ ในอำเภอแก่งกระจาน ซึ่งมีชื่อญาติพี่น้องของนายชัยวัฒน์ฯ เป็นเจ้าของ และมีข้อครหาว่าตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

หนังสือดังกล่าวของ 4 หน่วยงานองค์การสหประชาชาติ ส่งให้รัฐบาลไทยหลังจากที่รัฐบาลไทยได้หยิบยกเรื่องการเสนอขึ้นทะเบียนกลุ่มผืนป่าแก่งกระจานให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ตามประกาศขององค์การยูเนสโกในปี 2562 อีกครั้งหนึ่ง โดยหนังสือดังกล่าว นอกจากจะขอให้รัฐบาลไทยชี้แจงเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังท้วงติงการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ว่า ทางการไทยได้ดำเนินการโดยขาดการปรึกษาหารือกับชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้รับผลกระทบ และไม่มีการแสวงหาความยินยอมจากคนเหล่านั้นจากการตัดสินใจที่เสรี โดยได้รับข้อมูลที่เพียงพอเสียก่อน

หนังสือดังกล่าวยังเน้นย้ำให้รัฐบาลไทยตระหนักถึงสิทธิของชาวกะเหรี่ยงในฐานะเป็นชนเผ่าพื้นเมือง และหน้าที่ของรัฐไทยตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ที่ประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบด้วย โดยเฉพาะข้อบทที่ 10 ที่ว่า

“ชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องไม่ถูกบังคับให้ออกจากที่ดินหรือเขตแดนของตน ทั้งจะไม่มีการโยกย้ายถิ่นฐานโดยปราศจากความยินยอมของคนเหล่านั้น จากการตัดสินใจที่เสรี โดยได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เสียก่อน และหลังจากที่มีข้อตกลงในการชดเชยที่เป็นธรรมและเหมาะสมแล้ว และหากเป็นไปได้ โดยให้พวกเขามีทางเลือกในการกลับคืนถิ่นเดิมนั้นได้อีก”

จึงทำให้เกิดข้อกังวลว่าหากมีการให้สถานะมรดกโลกแก่กลุ่มผืนป่าแก่งกะจานโดยองค์การยูเนสโกแล้วอาจจะส่งผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวกะเหรี่ยงได้ อีกทั้งต้องการให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหาดังกล่าว และขอความร่วมมือให้รัฐบาลไทยชี้แจงและให้ข้อมูลเพิ่มเติมในคดีที่เกิดขึ้นรวมถึงในเหตุการณ์ที่ทำให้บุคคลเสียชีวิตและถูกบังคับให้สูญหายพร้อมทั้งให้มีมาตรการป้องกัน ชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยง และ นักปกป้องสิทธิด้วย

Link to English version at UN website

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [3.37 MB]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [245.51 KB]

RELATED ARTICLES