ทนายสมชาย นีละไพจิตร พื้นเพเป็นคนจังหวัดกรุงเทพมหานคร การที่เขาเกิดในครอบครัวชาวนา ทำให้รับรู้รับทราบความยากลำบากที่คนจนจะต้องเผชิญในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างดี สมชายจึงมีความตั้งใจ และบากบั่น เรียนหนังสือเพื่อประกอบอาชีพทนายความ เนื่องจากว่าเขาอยากว่าความให้ชาวนา และคนยากจน
ตลอดระยะเวลา 20 ปีของการประกอบอาชีพทนายความ สมชายได้ทำหน้าที่ว่าความให้แก่ลูกความหลากหลาย ไม่เลือกเฉพาะเจาะจงเชื้อชาติ และศาสนาใด เขามีความสนใจทำคดีด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษ
ทนายสมชาย ได้รับเลือกเป็นรองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสภาทนายความ และต่อมาได้รับเลือกเป็นประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิมแห่งประเทศไทย
สมชาย มักประสบความสำเร็จในคดีที่เขาอาสาเข้าไปทำ จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เขาสร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
สมชายเริ่มหันไปทำคดีอาสาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ ทศวรรษ 2530 สมชายเริ่มมองเห็นว่า กฎอัยการศึก ที่บังคับใช้อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีช่องว่างที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น เขาจึงเริ่มรณรงค์ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าว

ก่อนหน้าที่เขาถูกบังคับสูญหายไปในวันที่ 12 มีนาคม 2547 เขาได้ส่งจดหมายร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการซ้อมทรมานผู้ต้องหา ซึ่งเป็นลูกความของเขา 5 ราย โดยเจ้าหน้าตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม และสืบสวนสอบสวนในคดีดังกล่าว จวบจนกระทั่งปัจจุบัน สมชายหายตัวไป โดยมีพยานผู้หนึ่งยืนยันว่าเห็นเขาถูกผลักเข้าไปในรถยนตร์ที่มีผู้ขับออกไป ส่วนรถยนตร์ของเขาถูกพบ หลังจากนั้นไม่นาน
ครอบครัวของนาย สมชาย นีละไพจิตร เป็นครอบครัวแรก ในประเทศไทยที่ตัดสินใจใช้กลไกตามกระบวนการยุติธรรมในคดีการบังคับ บุคคลสูญหายซึ่งยังไม่ถือเป็นอาชญากรรม
ในประเทศไทย ครอบครัวของเขา ใช้เวลากว่าทศวรรษในกระบวนการได้มาซึ่งความจริงและความยุติธรรม
กระทั่งปลายปี 2558 ศาลฎีกาตัดสินยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งหมดในคดี และรวมทั้งตัดสิทธิ์ของครอบครัวในการฟ้องดำเนินคดีแทนนายสมชาย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชะตากรรม
ปี 2561 การดำเนินการสอบสวนโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งดำเนินการมา ตั้งแต่ปี 2548 ยุติลง โดยเหตุไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังให้ความคุ้มครอง นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชายในฐานะพยานในคดีดังกล่าว
โดยไม่มีข่าวคราวว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการ หรือกำลังดำเนินการ สืบสวนสอบสวนเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางคดีหรือไม่ประการใด คงเป็นอีกคดีหนึ่งของผู้สูญหาย
ที่กำลังสูญหายไปจากกระบวนการยุติธรรมไทย
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม