[:th]CrCF Logo[:]

[:th]แนะนำน้องฝึกงาน “น้องแฟท” จาก ม. ราชภัฏเชียงราย คณะนิเทศฯ ที่มีความสนใจด้านสิทธิมนุษยชน[:]

Share

[:th]แนะนำตัว
สวัสดี ชื่อแฟท นลิกาล แซ่เติ้น เรียนนิเทศศาสตร์ การสื่อสารสื่อใหม่ที่ราชภัฏเชียงราย เลือกมาฝึกงานกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน การซ้อมทรมาน หรือประเด็นด้านชาติพันธุ์ เราผ่าเหล่าออกมา ในขณะที่เพื่อนหลายคนฝึกงานด้านประชาสัมพันธ์บ้าง อีเว้นท์บ้าง เราเริ่มสนใจประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนจากการที่เพื่อนแนะนำให้รู้จักกับพี่ ๆ นักกิจกรรมเชียงราย ความคิดความเชื่อที่ว่าการเมืองและการถูกละเมิดสิทธิเป็นเรื่องไกลตัวเริ่มสั่นคลอน ความสงสัยทำให้เราเริ่มศึกษาประเด็นพวกนี้มากขึ้น ด้วยความที่เรียนสื่อทำให้เรารู้ว่าเราไม่สามารถเชื่อข่าวที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การฝึกงานกับองค์กรที่ทำงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมกับการฝึกงานวันแรก ๆ
7
มกราคม 2562 เราเริ่มฝึกงานวันแรก เจอเคสด่วนแต่เช้า กรณีสาวซาอุฯ ถูกกักตัวที่โรงแรมในสนามบินเล่นเอาเราเอ๋อ หัวหมุน ตามไม่ทันไปพักใหญ่ ด้วยความที่เราตามสถานการณ์ไม่ทัน เลยทำได้เพียงนั่งเก็บรายละเอียดข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ระหว่างที่พี่ ๆ กำลังทำงาน พอสถานการณ์เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ เราได้รู้จักพี่ ๆ รวมถึงเพื่อนจากสถาบันอื่นที่มาฝึกงานที่นี่เหมือนกัน บรรยากาศในองค์กรเป็นไปอย่างสบาย ๆ เหมือนอยู่บ้าน มีระดับความเป็นกันเองสูง ทำให้ความกลัวเกร็งที่พกมาจากบ้านถูกดีดออกนอกสำนักงานแทบไม่เหลือติดตัว เนื่องจากพรุ่งนี้จะมีการจัดงานเสวนาวิชาการโดยทางมูลนิธิเป็นผู้จัด บ่ายวันนั้นเลยจบลงที่การประชุมเตรียมงาน และแบ่งหน้าที่สำหรับงานเสวนา

ประเด็นสำหรับงานเสวนาที่จัดขึ้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิทธิชุมชนดั้งเดิมของชาวชาวกระเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดิน กับคำพิพากษาศาลสูงสุด เป็นประเด็นที่เนื้อหาอัดแน่นและหนักเอาการ เราเคยติดตามข่าวสารของเหตุการณ์นี้ระยะหนึ่งในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ใหม่ ๆ แต่หลังจากคำพิพากษาออกมาประกอบกับการไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านสื่อ ทำให้ความสนใจในประเด็นลดน้อยลง วงเสวนานี้เหมือนรื้อความสนใจของเราขึ้นมาใหม่ ความน่าตื่นเต้นอยู่ที่การตีความและวิพากษ์คำพิพากษาของศาลแบบที่หาไม่ได้จากข่าวสารที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ  เราที่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของกฎหมายเลย รู้สึกสนุก เข้าใจในคำพิพากษามากขึ้นจากการตีความของนักวิชาการ คิดว่าถ้าอยากทำให้คนมองเรื่องของสิทธิ กฎหมายให้เป็นเรื่องใกล้ตัว ก็ควรเริ่มจากการเขียนกฎหมายแบบแนบคำตีความมาด้วยให้อ่านง่ายยิ่งขึ้น ไม่ขีดเส้นแบ่งแยกด้วยระดับภาษา คงทำให้คนสนใจ เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทีนี้ความตระหนักรู้ก็จะเกิดขึ้นด้วยตัวบุคคลเอง หวังว่าระหว่างฝึกงานนี้เราจะรักษาความกระตือรือร้นที่มีในตอนนี้ไว้ได้ และเรียนรู้ให้มากขึ้น[:]

RELATED ARTICLES