[:th]CrCF Logo[:]

เมื่อการทรมานในไทยมักไม่มีการสอบสวบ: ชวนอ่านข้อเสนอแนะการจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนการทรมานในประเทศของผูู้แทนพิเศษว่าด้วยการทรมานของยูเอ็น

Share

 

torture-e-book-1รายงานฉบับนี้มีสาระสำคัญคือเป็นข้อเสนอแนะที่ผู้รายงานพิเศษให้ภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินงานในวาระการรายงานเกี่ยวกับการเข้าเยี่ยมประเทศ คำขอเข้าเยี่ยมประเทศที่อยู่ระหว่างการพิจารณา การเสนอข้อมูล การปรึกษาหารือ ข้อมูล (communications) และการแถลงข่าว

ประเด็นหลักของรายงานคือคณะกรรมการไต่สวน ได้รับการคัดเลือกจากผู้รายงานพิเศษเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นในบรรดาประชาคมระหว่างประเทศว่า เมื่อใดที่รัฐควรจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและเป็นแบบแผน นอกจากนั้น รายงานนี้ยังมีเป้าประสงค์เพื่อสนับสนุนการอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานที่สามารถนำมาใช้ในการจัดตั้งและคณะกรรมการไต่สวน และความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการดังกล่าวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐ เมื่อคำนึงถึงประเด็นการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ

ผู้รายงานพิเศษได้พิจารณาขอบเขตและบทบาทของคณะกรรมการไต่สวนในบริบทสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และได้เท้าความถึงการดำเนินงานก่อนหน้านี้ในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิภาพกรณีการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (พิธีสารอีสตันบูล Istanbul Protocol) และชุดหลักการสำหรับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนฉบับปรับปรุงใหม่ ในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาการลอยนวลพ้นผิด ผู้รายงานพิเศษได้ประเมินวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการไต่สวนและมูลค่าเพิ่มของกลไกเหล่านั้น

ในรายงานนี้ ผู้รายงานพิเศษยังให้ภาพรวมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในปัจจุบันของคณะกรรมการไต่สวนในระดับระหว่างประเทศ ภูมิภาค และระดับประเทศ และมีข้อสังเกตว่าหากเป็นไปได้ ควรมีคณะกรรมการไต่สวนระดับประเทศ ก่อนจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับระหว่างประเทศ ผู้รายงานพิเศษวิเคราะห์ถึงบทบาทหนุนเสริมที่เป็นไปได้ของคณะกรรมการเหล่านี้ แต่เน้นว่าการจัดตั้งกลไกดังกล่าวไม่มีส่วนช่วยให้รัฐพ้นจากพันธกรณีตามกฎหมาย ที่จะต้องดำเนินการสอบสวนและฟ้องคดีการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่น ๆ และให้การเยียวยาอย่างเป็นผลต่อผู้เสียหายจากการละเมิดที่เคยเกิดขึ้น รวมทั้งการเยียวยาต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นและการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ คณะกรรมการไต่สวนจึงควรถูกมองว่าเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อช่วยให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้นอย่างเต็มที่ได้อย่างเป็นผลมากขึ้น

ผู้รายงานพิเศษ ได้จำแนกแนวปฏิบัติที่ดีสุด และได้อภิปรายถึงมาตรฐานต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้เพื่อจำแนกได้ว่า ควรจะมีคณะกรรมการไต่สวนในช่วงเวลาใดและอย่างไร เพื่อเป็นการสนับสนุนหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ และช่วยให้รัฐและประชาคมระหว่างประเทศสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ ยังมีการจำแนกถึงปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เกิดทรัพยากรสำหรับคณะกรรมการไต่สวน ซึ่งมีความเป็นธรรม เป็นผลและรอบด้าน เป็นทางเลือกระหว่างองค์ประกอบของกรรมการทั้งในระดับนานาประเทศและระดับประเทศ อำนาจหน้าที่และการได้รับมอบหมายหน้าที่ วิธีวิทยา การประเมินหลักฐาน ความสัมพันธ์กับหน่วยงานฟ้องคดีและรายงานนี้

ผู้รายงานพิเศษมีข้อสรุปว่า คณะกรรมการไต่สวนจะเป็นกลไกที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้เกิดผลประโยชน์อย่างสำคัญต่อรัฐบาล ชุมชนผู้เสียหาย และสาธารณชนในวงกว้าง ทั้งยังสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากคณะกรรมการไต่สวน พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องที่ต้องหลีกเลี่ยง

 

ศึกษาได้จากฉบับเต็มที่จัดแปลโดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่

SR Torture Commission of Inquiry Thai

ฉบับภาษาอังกฤษ

SR Torture Commission of Inquiry eng

 

TAG

RELATED ARTICLES