[:th]CrCF Logo[:]

[:th]เปิดตัว ชุดความรู้เรื่องความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน วีดีโอ 6 ชุดโดย Asia Justice and Rights (AJAR) เครือข่ายเอเซียเพื่อความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มีคำบรรยายไทย)[:]

Share

[:th]

 

34411591_10217069972525363_592061181624057856_n

ที่มาของโครงการ

Asia Justice and Rights (AJAR)

เครือข่ายเอเซียเพื่อความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

เครือข่ายเอเซียเพื่อความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านส่งเสริมความริเริ่มในการเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านในภูมิภาคเอเซีย

 

AJAR เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชน มีสำนักงานที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำงานเพื่อเสริมศักยภาพขององค์กรในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติในการต่อต้านการลอยนวลพ้นผิดและเสริมสร้างวัฒนธรรมที่เป็นพื้นฐานของความรับผิด ความยุติธรรม และความเต็มใจที่จะเรียนรู้จากสาเหตุอันเป็นรากเหง้าของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรได้ที่ http://www.asia-ajar.org.

 

ในประเทศไทยAJAR ทำงานร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม    มูลนิธิฯก่อตั้งขึ้นในปี  2545 ทำงานส่งเสริมและปกป้องความยุติธรรม และติดตามสอดส่องสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยมีหลักปรัชญาและกิจกรรมมุ่งที่การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สิทธิมนุษยชนและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในสังคมอย่างยั่งยืน โดยเน้นกลุ่มคนชายขอบ รวมทั้งชนกลุ่มน้อย คนไร้รัฐ แรงงานข้ามชาติและเหยื่อของความขัดแย้ง โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://voicefromthais.wordpress.com

AJAR’s YouTube channel ทั้งหมดนี้มี คลิปบรรยายไทย
ความรู้ทั่วไปเรื่องหลักการความเป็นธรรมทางสังคม
Truth ความจริง
การฟ้องร้องคดี Prosecution
การเยียวยา Raparation
การปฏิรูปสถาบัน Institution Reform
Gender Justice

Fact sheet on TRANSITIONAL JUSTICE

ความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

ในช่วงที่ประเทศต้องตกอยู่ในความมืดมิดภายใต้เผด็จการและความขัดแย้ง การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงกว้างขวาง โดยที่ความจริงจะถูกปิดบังซ่อนเร้นและถูกบิดเบือน  แม้หลังจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยผู้กระทำความผิดจำนวนมากยังมักได้รับการปกป้องให้ลอยนวลพ้นผิด  ในหลายกรณีพวกเขายังคงอยู่ในอำนาจและใช้อำนาจในการบิดเบือนเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

สถาบันที่มีอำนาจหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็อ่อนแอหรือพิกลพิการ ดังนั้นเพื่อที่จะสร้างประชาธิปไตยที่เสรีและมีความรับผิดชอบจะต้องมีการสอบสวนและเผยแพร่ความจริงว่าได้เกิดอะไรขึ้นและต้องนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ผู้เสียหายต้องได้รับการช่วยเหลือและเชิดชู  ทั้งต้องมีการปฏิรูปกฎหมายและสถาบันต่างๆ เพื่อว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงกว้างขวางจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก

 

กรอบความคิดเรื่องความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการจัดทำและนำยุทธศาสตร์ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพกับประวัติศาสตร์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงกกว้างขวาง  โดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้านคือ  การค้นหาความจริง    การนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ     การช่วยซ่อมสร้างชีวิตและศักดิศรีของผู้เสียหาย (การชดใช้เยียวยา)  และการสร้างหลักประกันว่าการละเมิดสิทธิ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก (การปฏิรูปเชิงสถาบัน) ปัจจัยต่างๆเหล่านั้นต่างเชื่อมโยงและส่งผลต่อกันและกัน ดังนั้นวิธีการที่มีประสิทธิภาพประการหนึ่งคือ การพิจารณาจากองค์รวมแล้วตามมาด้วยการพิจารณาจากด้านต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบริบท   เช่นการพิจารณาถึงความอ่อนไหวทางเพศสภาวะ (Gender) มีความจำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจว่าการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนนั้นส่งผลที่แตกต่างกันอย่างไรต่อผู้หญิงและผู้ชาย และทำให้แน่ใจถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่ด้อยโอกาสและคนชายขอบด้วยเป็นต้น

อ่านต่อที่ Transitional Justice – THAI3[:]

TAG

RELATED ARTICLES