เครดิต ภาพ The momentum
หมายเหตุ: วันที่25 มิถุนายน 2561 เวลา13.30 น. ผบ.ฉก.ปัตตานี ชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายเข้าทำการตรวจค้นที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมา
ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี แถลงข่าวชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายเข้าทำการตรวจค้นที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 พร้อมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขออภัยต่อผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว
อ่านรายละเอียดที่ https://issoc4news.blogspot.com/2018/06/3-22.html?m=1
ผบ.ฉก.ปัตตานี ชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายเข้าทำการตรวจค้นที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมา
ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี แถลงข่าวชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายเข้าทำการตรวจค้นที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 พร้อมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขออภัยต่อผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว
วันนี้ (25 มิถุนายน 2561) เวลา 13.30 น. ที่ห้องศรีนิลัม หอประชุมศูนย์ปฏิบัติการอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลตรี จตุพร กลัมพสุต ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี แถลงข่าวชี้แจงกรณีเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายเข้าทำการตรวจค้นที่พักอาศัยของ นางโซรยา จามจุรี นักวิชาการสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมาว่า หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขออภัยต่อผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวและขอชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบดังนี้
การดำเนินการดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก กรณีที่เจ้าหน้าที่ได้มีการจับกุมวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง จำนวน 40 ลูก และอุปกรณ์ในการจุดระเบิดจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีได้สั่งให้หน่วยในพื้นที่ ยกระดับการเฝ้าระวัง การก่อเหตุร้ายในพื้นที่อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมืองปัตตานี ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดงานกาชาด ที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษเพิ่มมากขึ้น หน่วยรับผิดชอบในพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25, ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอเมืองปัตตานี และสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี ได้ร่วมกันตรวจค้นพื้นที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นแหล่งซุกซ่อนของคนร้ายและอุปกรณ์การก่อเหตุร้ายในพื้นที่ ต้องสงสัยทุกแห่ง เพื่อทำลายความพยายามในการก่อเหตุ เพราะหากไม่ดำเนินการในการสกัดกั้นทำลายความพยายามในการก่อเหตุร้ายดังกล่าว คนร้ายอาจจะก่อเหตุได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างร้ายแรงได้ ประกอบกับก่อนหน้านี้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2561 ได้มีคนร้ายที่ก่อเหตุระเบิดตู้เบิกเงินสดของธนาคารหลายแห่งในอำเภอเมืองปัตตานีจากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดพบว่าคนร้ายส่วนหนึ่งหลบหนีเข้ามาหลบซ่อนในบริเวณชุมชนดังกล่าวเจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังในบริเวณชุมชนดังกล่าวแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นที่พักอาศัยของบุคคลใดที่ชัดเจน จึงมีความจำเป็น จะต้องทำการตรวจค้นบ้านเรือนหลายแห่ง ซึ่งในการเข้าตรวจค้นตรวจสอบเป็นการใช้อำนาจตาม พรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารของหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 เป็นหน่วยหลัก เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง เป็นหน่วยร่วมดำเนินการ มิได้ดำเนินการโดยใช้อำนาจตาม พรบ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด
ภาพ – รัติชัยฯ / ข่าว – พัชรีพรฯ
เผยแพร่วันที่ 25 มิถุนายน 2561
แถลงการณ์องค์กรภาคประชาสังคมชายแดนใต้
ยุติและสอบสวนการอ้างใช้อำนาจกฎหมายพิเศษค้นบ้านพัก
ของหญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
หนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (POAW)
เมื่อวันศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน 2561 มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสนธิกำลังค้นบ้านพักนางโซรยา จามจุรี หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นนักวิชาการในสังกัดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักกิจกรรมด้านสิทธิสตรีคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (POAW) รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มในการเสนอให้คู่ขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) สร้างและพัฒนาพื้นที่ปลอดภัย โดยให้ตกลงกันบนโต๊ะพูดคุยสันติภาพในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้
เหตุเกิดขึ้นในเวลาประมาณ 15.30 น. ได้มีกลุ่มเจ้าหน้าที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารจำนวน 2 คันรถ มาตรวจค้นบริเวณชุมชนและที่บ้านของนางโซรยา จามจุรี โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าอาจจะมีคนร้ายหลบซ่อนอยู่จากเหตุการณ์ที่มีคนร้ายวางระเบิดตู้เอทีเอมในช่วงเดือนรอมฏอนที่ผ่านมา โดยมีการตรวจค้นบ้านในบริเวณดังกล่าวประมาณสามหลัง
ทั้งนี้บ้านพักของหญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 ตามอำนาจพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (2548) และพื้นที่ตามอำนาจพรบ.กฎอัยการศึก (2457) นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2547
ตามอำนาจพรก.ฉุกเฉิน มาตรา 11 (4) ซึ่งให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาตามคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว และหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
ในการตรวจค้นเนื่องจากเป็นการค้นบ้านที่อยู่อาศัย เมื่อหญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนท่านนี้ ขอดูหมายค้นที่ออกโดยศาล ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่นเดียวกับตามหลักการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือต้องมีหมายค้นจากศาลในท้องที่ เช่นเดียวกับที่เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการจับกุมบุคคลก็ต้องขอให้ศาลออกหมายควบคุมตัวที่เรียกกันว่า หมายฉฉ. เป็นต้น แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาแสดงตนขอค้นเคหสถานไม่สามารถแสดงหมายค้นของศาลตามที่หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนขอให้แสดงได้ แทนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะกลับไปขอหมายศาล เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับอ้างใหม่ว่าใช้อำนาจเพื่อค้นตาม พรบ.กฎอัยการศึก ซีงหลังจากตรวจค้นแล้วก็ไม่พบคนร้ายหรือสิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพิเศษฉบับต่างๆที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ จชต. อย่างสับสนตลอดมาดังนี้
- กฎหมายพิเศษในพื้นที่ควรใช้อย่างระมัดระวังและให้ส่งผลกระทบถึงประชาชนน้อยที่สุด รวมทั้งยึดมั่นถึงเจตนารมณ์ โดยเฉพาะพรก.ฉุกเฉินมีเจตนารมณ์เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติ ไม่ใช่การติดตามค้นหาผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างสุ่มเสียงที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งสิทธิในเคหสถานโดยไม่จำเป็น
- การอ้างอำนาจตามกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่รัฐต้องเป็นไปอย่างชัดเจนถูกต้องชอบธรรม เมื่ออ้างว่าต้องการค้นตามอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อถูกโต้แย้งว่าไม่มีหมายค้นจาก เจ้าหน้าที่กลับอ้างการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษอีกฉบับหนึ่งคือกฎอัยการศึก อันเป็นการใช้อำนาจอย่างสับสน และอาจมีลักษณะตามอำเภอใจ ทำให้ประชาชนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจซี่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย
นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิง อาจเข้าข่ายการข่มขู่คุกคามและสร้างความหวาดกลัวนักกิจกรรมหญิงท่านนี้และครอบครัว บุคคลใกล้ชิด ชุมชน
โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม ปีพ.ศ.2560 คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี องค์การสหประชาชาติต่อประเทศไทย ในการรายงานสถานการณ์สิทธิสตรีตามวาระของประเทศไทยที่รวมรายงานครั้งที่ 6 และครั้งที่ 7 เมื่อปีพ.ศ.2560 ในย่อหน้าที่ 30 ว่า คณะกรรมการฯ แสดงความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิง ที่ทำงานรณรงค์โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในที่ดิน การปกป้องสิ่งแวดล้อม สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิของคนชนบท เลสเบียน ไบเซ็กชัล หญิงข้ามเพศ และหญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องตกเป็นเป้าหมายการฟ้องร้องดำเนินคดี การคุกคาม การใช้ความรุนแรงและการข่มขู่ที่เป็นผลจากการทำงานของพวกเธอโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรธุรกิจ โดยมีข้อเสนอว่า ให้มีในข้อ (b) ระบุว่าให้มีการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินคดีและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษอย่างเหมาะสมทุกกรณีที่มีการคุกคาม การใช้ความรุนแรงและการข่มขู่ หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และให้มีการเยียวยาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงด้วย
องค์กรภาคประชาสังคมและบุคคลตามรายนามด้านล่างนี้ข้อเสนอให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคสี่ ส่วนหน้าดำเนินการดังนี้อย่างเร่งด่วน
- ขอให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระต่อการปฏิบัติงานครั้งนี้ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงกลุ่มดังกล่าว และแสดงความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมต่อกรณีที่มีการคุกคามหญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบ ใช้อำนาจสมควรแก่เหตุหรือสุจริตหรือไม่
- หากพบว่าเป็นการข่มขู่หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เกิดผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต่อการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษในการข่มขู่ลักษณะเช่นนี้
รายชื่อองค์กรและบุคคลที่ลงนาม
- มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
- กลุ่มด้วยใจ
- ศูนย์อัลกุรอ่านและภาษา QICC
- มูลนิธิดารุสลามเพื่อเด็กกำพร้าจังหวัดปัตตานี
- เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- มูลนิธิศักยภาพชุมชน
- เครือข่ายชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา
- มูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้า(FECO)
- มูลนิธินูซันตารอเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
- ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
- เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ PERMATAMAS
- มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
- องค์กรสันติภาพและเพื่อสิทธิมนุษย์ชน OPHR
- เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสี่อำเภอจังหวัดสงขลา(จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย)
- มาเรียม ชัยสันทนะ สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กเยาวชนชายแดนใต้
- แวอิสมาแอล แนแซ
- รอฮานี จือนารา
- ทวีศักดิ์ ปิ
- แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา
- ฟารีดา ปันจอร์
- พาฮีสะห์ ท้วมงาม
- รอมฎอน ปันจอร์
- สมัชชา นิลปัทม์
- นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
- มูฮำหมัด ดือราแม
- อิมรอน ซาเหาะ
- ไฟซอล ดาโอ๊ะ อาจารย์คณะรัฐศาสต์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- อลิสา บินดุส๊ะ
- ชลธิชา แจ้งเร็ว
- ดร.ฟารีดา สุไลมาน
- ฮุสนี เบ็นหะยีคอเนาะ ผู้จัดการรร.ศาสนบำรุง
- อิมรอน โสะสัน นักศึกษาปริญญาเอกด้านนโยบายสาธารณะ AUT University, New Zealand
- อิสมาเเอล หมัดอาดัม. สภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
- อับดุลอาซิส ตาเดอินทร์
- ศิริพร ฉายเพ็ชร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
- อันธิฌา แสงชัย ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู
- อับดุลเราะมัน มอลอ รัฐศาสตร์ ม.หาดใหญ่/ สถาบันปาตานีเพื่อการวิจัยและพัฒนามนุษย์
- เอกราช ซาบูร์ เครือข่ายมุสลิมแห่งเอเชีย
- สุไลมาน เจ๊ะแม
- ทัศนียา หะยีโซะ
- ดาราณี ทองศิริ
- ดันย้าล อับดุลเลาะ นักศึกษาปริญญาโทสาขาพัฒนาสังคม
- รอดียะห์ บินติ อาลี สาลี นักวิชาการศึกษา
- ซาหดัม. แวยูโซ๊ะ
- นาดา ไชยจิตต์
- Subaky Binkamit
- วาสนา สาเมาะ
- หวันมูหัมหมัด ฟาอิส เสมอภาพ
- ฐิตินบ โกมลนิมิ
- นารึรัตน์ สาเม๊าะ สมาคมสตรีมุสลิม สงขลา
- รอดียะห์ บินติ อาลี สาลี นักวิชาการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนอิสลามศึกษา อ.แม่สอด
- ดร.ฆอซอลี เบ็ญหมัด
- สถาบันปอเนาะบัยตุลอิฮซาน
- ดุลยรัตน์ บูยูโส๊ะ
- เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง
- ซิตีมาเรียม บินเย๊าะ
- แยน๊ะ สะแลแม
- คนึงนิจ มากชูชิต
- มารีก๊ะ หวังจิ
- บุษบา ฉิมพลิกานนท์
- ฉายา ยะภา
- มายีดะ สะกะแย
- เครือข่ายสานใจคนไร้ที่พึ่ง
- รอบียะ บาแล๊ะ
- อาอีซะฮ์ ตีมุง
- ไลลา หมูดเส็ม
- ปาหนัน หีมมิน๊ะ
- วัลลภ หมัดโส๊ะ
- กมลวรรณ หนิมุสา
- ซุลกิฟลี มามะ
- อดินันต์ ฮะซานี ชุมชนประชารัฐ
- นิรันดร เลาะนะ Fatoni Freedom Film
statement-WHRD-soraya-jamjuree_final_ 56names (final)