[:th]CrCF Logo[:]

[:th]แถลงการณ์ เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา Private Islamic Schools Association of Songkhla Province(PISA) :ยืนยันตรวจสอบคอรัปชั่นได้ แต่ต้องโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ แนะให้หน่วยงานพลเรือนดำเนินการ ลดอคติและภาพลักษณ์ทางลบ[:]

Share

[:th]10401107_1516194355376120_4806141738663675423_n

แถลงการณ์

เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา

Private Islamic Schools Association of Songkhla Province(PISA)

(ภายใต้สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา)

ยืนยันตรวจสอบคอรัปชั่นได้ แต่ต้องโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ

แนะให้หน่วยงานพลเรือนดำเนินการ ลดอคติและภาพลักษณ์ทางลบ
…………………………………………………………………………….
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 เวลา 9:07-13:40 น โดยประมาณ    มีเจ้าหน้าที่นำโดย ร.ท.ชัยยันต์  อำพันแดง  ฝ่ายข่าว ฉก. ปัตตานี ร่วมกับ พ.ต.ต.พิทักษ์  ใจสมุทร รอง หน. บก. ฉก. พร้อมเจ้าหน้าที่แต่งกายชุดสีดำ (ตามภาพจำนวน 15 – 20 คน) และมีอักษรเขียนว่า CSI ที่เสื้อ มาที่โรงเรียนอนุสรณ์เตรียมปัญญา  ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียนจำนวนมาก (มีนักเรียนอนุบาล และนักเรียนประถมปีที่ 6) มีบุคคากรครูส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและครูผู้ชาย 4 คน เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึงนายอับดลเลาะ  แมเราะในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเชิญเข้าไปในห้องประชุม ได้กล่าวตอนรับตามธรรมเนียมเจ้าของบ้าน หลังจากนั้นก็ให้หัวหน้าคณะที่มาได้บอกถึงวัตถุประสงค์การเข้ามาในครั้งนี้ (หลังจากนั้นนายอับดลเลาะ  แมเราะขอดูคำสั่งในการเข้ามาตรวจในครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ตอบว่าคำสั่งผู้ว่ายังไม่ได้เซ็นต์) เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไปเจอใบเสร็จชื่อโรงเรียนไปซื้อของร้านเจ๊ะกูฟาตอนี นายอับดลเลาะ  แมเราะก็ตอบว่าไม่เคยไปเอาและไม่รู้จักร้านเจ๊ะกูฟาตอนี เจ้าหน้าที่จึงตรวจเอกสารทั้งหมดของโรงเรียน เอกสารการเงิน การเรียนฟรีของนักเรียนอาหารกลางวันและอื่นๆ (สำหรับกรณีใบเสร็จนั้น ผมได้ถามเจ้าหน้าที่ไปว่าใบเสร็จที่พบซื้อของกับร้านเจ๊ะกูฟาตอนี นายอับดลเลาะ  แมเราะไปเอาอุปกรณ์อะไร ราคาเท่าไร ขอดูหน่อยได้ไหม ทางเจ้าหน้าที่ตอบว่าไม่มี และได้บอกว่านายอับดลเลาะ  แมเราะเป็นหุ้นส่วน นายอับดลเลาะ  แมเราะตอบว่าผมจะเป็นหุ้นส่วนได้ไง เพราะผมไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้โรงเรียนเสียหายและกลายเป็นโรงเรียนเป้าหมายในด้านความมั่งคง ทำให้บุคลากรทุกคนกลัวและไม่สบายใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว)

จากผลการตรวจค้นโรงเรียนในลักษณะดังกล่าว  ทำให้โรงเรียนและบุคคลกรตกเป็นผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีกระบวนการที่ถูกต้อง  ส่งผลให้ทางโรงเรียนถูกมองจากผู้ปกครองว่ามีการกระทำผิด ผู้ปกครองโทรมาสอบถามทุกวันและไม่มีความมั่นใจในโรงเรียน เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงในข้อกล่าวหาทำให้ทางโรงเรียนไม่สามารถอธิบายทำความเข้าใจให้กับผู้ปกครองให้กระจ่างได้  เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาไม่สามารถแสดงหลักฐาน หนังสือหรือทำให้ผู้บริหารโรงเรียนมั่นใจว่าจะถูกดำเนินการจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเป็นธรรมและปราศจากอคติ   การตรวจค้นดังกล่าวอาจเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของโรงเรียน  ขณะเดียวกันนั้นครูและนักเรียนมีความหวาดกลัว เสียขวัญ ครูผู้ชายกังวลถึงความปลอดภัยของตนเอง

จากเหตุการณ์ดังกล่าว  รวมทั้งเหตุการณ์ตรวจค้นโรงเรียนบากงวิทยาและโรงเรียนประสานวิทยา จังหวัดปัตตานีตามที่เป็นข่าวในสื่อไทยและในสื่อต่างประเทศโดยในบันทึกหลังการตรวจค้นว่าพบว่าใช้อำนาจมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร(ฉบับชั่วคราว)และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่3/2558 ลง วันที่1 เมษายน 2558ไทย ทำการตรวจค้น/ตรวจยึด เอกกสารเพื่อ สอบการทุจริตโรงเรียน โดยอ้างว่าเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในจังหวัดชายแดนใต้นั้น  ทางเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสี่อำเภอของจังหวัดสงขลาคือ จะนะ นาทวี  เทพาและสะบ้าย้อย ซึ่งอยู่ภายใต้สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา ขอแสดงจุดยืนและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

  1. 1.ขอแสดงจุดยืนเรื่องการต่อต้านการคอรัปชั่นและเชื่อมั่นว่าการบริหารจัดการการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการบริหารกิจการที่สำคัญต่อการพัฒนาชีวิตของเด็กและเยาวชน  การคอรัปชั่นทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพและเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
  2. 2.กรณีตรวจค้นโรงเรียนอนุสรณ์เตรียมปัญญา นั้นใช้อำนาจใดและมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่อย่างไร หากผลการดำเนินของเจ้าหน้าที่มีผลกระทบต่อโรงเรียนซึ่งอาจเป็นการกระทำทางปกครอง  ที่ส่งผลให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร การกระทำที่เกินกว่าอำนาจ ดังนั้นขอให้หน่วยงานที่รับผิด  แสดงความรับผิดชอบผ่านผ่านสื่อ พร้อมทั้งตั้งกรรมการสอบสวนทั้งทางวินัยและอาญา อีกทั้งคืนเอกสารสำคัญของโรงเรียนทั้งหมดทันที
  3. การใช้อำนาจมาตรา44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร(ฉบับชั่วคราว)และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่3/2558 ลง วันที่1 เมษายน 2558ไทย  หรือแม้กระทั่งคำสั่งที่ 35/2561 ของหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ตามคำสั่ง กอ.รมน. ที่236/2561 ถือเป็นคำสั่งที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียน  โดยเป็นการเลือกตรวจสอบแต่เฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยการนำกำลังทหารที่อาจติดอาวุธเข้าไปในสถานศึกษาโดยมีการขอตรวจค้นเอกสาร ในลักษณะจู่โจม ใช้กำลังคนจำนวนมาก  ทำให้สถานศึกษาเสียภาพลักษณ์  บุคคลกรทางการศึกษาและนักเรียนมีหวาดกลัวและรบกวนการเรียนการสอน อาจถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  4. การตรวจสอบการคอรัปชั่นในกิจการของโรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นหน้าที่และบทบาทของหน่วยงานพลเรือนมาโดยตลอด แต่การนำกองกำลังทหารเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวอาจเป็นการทำให้โรงเรียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเกินความจำเป็นเพราะหน่วยงานพลเรือนย่อมมีความเข้าใจในการบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ การใช้การทหารนำกิจการพลเรือนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ส่งผลให้เกิดความรุนแรงยืดเยื้อยาวนาน
  5. เครือข่ายมีความยินดีในการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบโรงเรียนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลแต่ขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการโดยยึดหลักในนิติธรรม  นิติรัฐ  ไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและศาสนา และเครือข่ายขอแสดงเจตจำนงในการปกป้องสิทธิความเป็นพลเมืองไทย

 

ข้อเสนอแนะ

  1. ขอให้ตรวจสอบจากต้นสังกัดโดยตรงและมีการพิจารณาร่วมกัน กับต้นสังกัด กรณีมีข้อมูลหลักฐานที่เชื่อได้ว่ามีการคอรัปชั่น โดยจัดให้มีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการที่จัดขึ้นร่วมกันและให้หน่วยงานพลเรือนเป็นผู้กำกับดูแล
  2. ขอให้มาตรการดังกล่าวดำเนินการโดยโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติต่อโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเท่านั้น การดำเนินการตรวจสอบตามข้อสงสัยของทางทหารมักขาดซึ่งการตรวจสอบถ่วงดุลจากหน่วยงานอื่นๆ มักเป็นการพิจารณาเป็นการภายในหรือเป็นในทางลับ หากแต่การดำเนินการต่อสถานศึกษานั้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของโรงเรียน ต่อครู ต่อผู้ปกครองและนักเรียน และชุมชนสังคมในวงกว้าง  การกระทำโดยฝ่ายทหารนำโดยไม่โปร่งใส่และเลือกปฏิบัติเพราะอาจทำประชาชนท้องถิ่นเข้าใจไปได้ว่า ทางทหารโดย  กอ.รมน.เลือกปฏิบัติและยังผลต่อความรู้สึกไม่เชื่อมั่นต่อการตรวจสอบดังกล่าว
  3. 3.รัฐควรตรวจสอบจากเงินอุดหนุนนักเรียนทุกสังกัดด้วยการใช้โปรแกรมนักเรียนเดียวที่สามารถเชื่อมและตัดยอดได้ทุกเดือนของทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาของรัฐให้การสนับสนุน
    4. แต่งตั้งคณะทำงานพิเศษเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนศาสนา  สามัญ  การบรรจุบุคลากรศาสนา สามัญ การพิจารณาเงินอุดหนุน  ตามความเป็นจริงและเหมาะต่อพื้นที่และลักษณะพิเศษของโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาด้านนิตินัยและพฤตินัยและอื่นๆ
    5. การใช้อำนาจ กฎหมาย พิเศษ เช่น ตามกฎอัยการศึก น่าจะใช้ในสถานการณ์ที่จำเป็น สำหรับพื้นที่เป็นพื้นที่การประกาศกฎอัยการศึก ก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกในทุกเรื่อง ถ้าเป็นกรณี การแก้ปัญหาเรื่องทุจริตในสถานศึกษาควรจะใช้กฎหมายปกติ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรง และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ก็น่าจะ สนับสนุนให้ใช้หมายค้น  และขอให้มีการปรับเปลี่ยนท่าทีและทัศนคติที่ดูเหมือนกับ การข่มขู่คุกคาม
    6. จัดตั้งสภาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่และมีมาตรฐานสากล

 

ลงชื่อ     เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา

คือ จะนะ นาทวี  เทพาและสะบ้าย้อย

(ซึ่งอยู่ภายใต้สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา )

28 รอมฎอน ฮ.ศ. 1439

วันที่ 13 มิถุนายน 2561

lettet-pisa การตรวจโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

 [:]

TAG

RELATED ARTICLES