[:th]CrCF Logo[:]

#WithWiron

Share

Let Her Talk

ตอนที่ 3

“เธอชื่อ วิรอน”

 ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงอาจจะไม่ได้มาแค่ในคราบของรอยฝกช้ำ แต่สามารถมาในรูปแบบของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง การสร้างปัญหาสุขภาพ และผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
ถึงแม้ว่ากลุ่มผู้หญิงในตอนนี้จะลุกขึ้นมาและใช้เสียงตัวเองเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม แต่เสียงของพวกเธอกลับถูกกลบด้วยอำนาจอย่างอื่นและพื้นที่ของพวกเธอในการใช้เสียงก็ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ดังนั้น นอกจากพื้นที่เปิดและปลอดภัยสำหรับผู้หญิงในการใช้เสียงของตัวเอง มูลนิธิผสานวัฒนธรรมยังเห็นถึงช่องโหว่ในการปกป้องเสียงเหล่านั้น

24112017.aian-1

“ที่เราลุกขึ้นมาสู้ เราสู้เพื่อสิทธิชุมชนของเรา เพราะเรารู้ว่าเราพึ่งใครไม่ได้ นอกจากตัวเอง”

ถึงแม้ว่าปัญหาเรื่องสิทธิที่ดินทำกินและผลกระทบทางธรรมชาติจากสารพิษต่างๆ จะเกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่กว่า 10 ปีที่เสียงของชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน ในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ยังส่งไปไม่ถึงผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ ‘แม่ไม้ หรือ วิรอน รุจิไชยวัฒน์’ ตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จึงรู้ว่า หากไม่มีหน่วยงานรัฐช่วยเหลือ เธอและคนในหมู่บ้าน ก็จำเป็นต้องสู้ด้วยตัวเองให้ถึงที่สุด

เราอาจเคยเห็นข่าวการต่อสู้คัดค้านการสร้างเหมืองแร่ที่วังสะพุงอยู่หลายครั้งหลายครา แต่คดีดังกล่าวก็ยังคงไม่สิ้นสุด วิรอนเล่าว่า ชาวบ้านโดนฟ้องหลายคดี มีการเรียกร้องค่าเสียหายกับชาวบ้าน ทั้งจากผู้ประกอบการเอง และอบต.ท้องถิ่น เนื่องจากชาวบ้านคัดค้านการเปิดประชุมการทำเหมือง อบต.อ้างว่าพวกเขาคัดค้านการทำงานของเจ้าหน้าที่

นอกจากชาวบ้านในละแวกนั้นจะได้รับผลกระทบจากสารพิษที่ไหลลงแหล่งน้ำและแหล่งอาหารตามธรรมชาติ วิรอนยังบอกว่า มีผลกระทบต่อผู้หญิงเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ผลกระทบทางด้านความรุนแรงเช่นเดียวกับการโดนทำร้ายในครอบครัว แต่พวกเธอโดนละเมิดสิทธิ ทั้งยังถูกดำเนินคดี เพราะผู้หญิงออกหน้าเป็นแกนนำในการตั้งคำถาม เสนอแนะ ในที่ประชุม รวมถึงวิถีชีวิตของพวกเธอที่ต้องเปลี่ยนไป และในกรณีที่มีการดำเนินคดี พวกเธอต้องหาเงิน หาโฉนดที่ดินของครอบครัว หรือคนรู้จักมาใช้ในการประกันตัว การใช้เวลาคัดค้านดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านสูญเสียเวลาในการทำมาหากิน ดูแลครอบครัว เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางขึ้นโรงขึ้นศาล

7D1ADEF0-19CE-4D08-9603-E7E41369EB3A

เมื่อถามถึงผลกระทบส่วนตัวที่แม่ไม้ได้รับจากการละเมิดสิทธิหรือความรุนแรงในรูปแบบนี้ เธอกล่าวว่าก็ไม่ได้ต่างจากสิ่งที่เธอได้เล่าไปแล้วข้างต้น แต่เธอมีลูกเด็ก อายุเพียง 3 ปี ที่เธอต้องฝากสมาชิกคนอื่นๆของครอบครัวให้ดูแลในระหว่างที่เธอต้องออกเดินทางมาเรียกร้องสิทธิเพื่อ “บ้าน” ของเธอ อีกทั้งเธอยังมีลูกคนอื่นๆ ที่เธอต้องทำงานส่งเสีย เพื่อให้พวกเขาได้เข้ารับการศึกษา

ปัญหาความรุนแรงและการละเมิดสิทธิที่แม่ไม้และชาวบ้านผู้หญิงคนอื่นๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ไม่ได้ทำให้พวกเธอทอดถอนใจ แต่กลับเป็นแรงผลักดันให้พวกเธอตัดสินใจมุ่งมั่นลุกขึ้นต่อสู้ เพื่อหยุดผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน และลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป

TAG

RELATED ARTICLES