[:th]CrCF Logo[:]

[:th]”ผมนี่แหละเหยื่อ” เสียงจากผู้เสียหายคดีอาชญกรรมร้ายแรง ในวันยุติโทษประหารชีีวิตสากล 10 ตุลาคมของทุกปี โดย อจ.ชำนาญ จันทร์เรือง[:]

Share

[:th]22289779_2006422796308325_1417784000634151541_o

“ผมนี่แหละเหยื่อ” เสียงจากผู้เสียหายในวันยุติ โทษประหารชีีวิตสากล 10 ตุลาคมของทุกปี

เรืื่อง นายชำนาญ จันทร์เรือง  นักวิชาการอิสระ  อดีตประธานองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล ประเทศไทย

เผยแพร่ครั้งแรก https://www.facebook.com/bkkhumans/

“ทุกๆ ครั้งที่มีอาชญากรรมรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ทำร้ายคนพิการจนเสียชีวิต ฆ่าข่มขืน กระแสสังคมมักต้องการให้ลงโทษผู้กระทำผิดด้วยการประหารชีวิต เพื่อไม่ให้ความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีก แต่จากงานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรม ผมเคยเข้าไปในคุกบางขวาง คุยกับนักโทษที่โดนตัดสินประหารชีวิต เขาไม่เคยคิดเรื่องโทษเลย สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ชั่ววูบ ขณะเดียวกัน กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความเสี่ยงที่จะตัดสินผิดพลาด คนถูกลงโทษอาจไม่ใช่คนทำผิด แม้ภายหลังจะสอบสวนจนพบว่าผู้ถูกประหารชีวิตเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่เราเรียกชีวิตที่เสียไปกลับมาไม่ได้แล้ว นักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่คือคนยากจน ไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้ความรู้และแก้ต่างให้กับตนเอง ในฐานะนักสิทธิมนุษยชนที่รณรงค์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตมาตลอด ผมมองว่าไม่มีใครสมควรถูกประหารชีวิต ซึ่งปัจจุบันมากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายแล้ว และโดยภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ

“เวลาผมพูดแบบนี้ เคยมีคนหาว่า ‘คุณเป็นพวกโลกสวย ไม่เคยโดนด้วยตัวเอง จะไปเข้าใจเหยื่อได้ยังไง’ ผมนี่แหละเหยื่อ ตอนผมเรียนอยู่ปีหนึ่ง ที่รัฐศาสตร์ จุฬาฯ พ่อที่เป็นตำรวจตระเวนชายแดนถูกพ่อค้ายาเสพติดยิงเสียชีวิต ตอนเห็นศพถูกยิงที่หัว เสียใจมาก ทำไมต้องทำกันแบบนี้ พ่อเป็นเสาหลักของครอบครัว เราเคว้งคว้างว่าจะเรียนจบหรือเปล่า ตอนนั้นโกรธแค้น แต่ไม่ได้อยากแก้แค้นนะ เราเริ่มศึกษามากขึ้น สิทธิในการมีชีวิตอยู่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ไม่ว่าคนนั้นจะดีหรือเลวก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องลงโทษผู้กระทำผิด ต้องลงโทษ แต่ไม่ใช่การประหารชีวิต ประหารไปคนตายก็ไม่ฟื้น เรายังมีการจำคุก ซึ่งการถูกจำกัดเสรีภาพเป็นทุกข์อย่างที่สุดของมนุษย์ การลงโทษต้องไม่เป็นไปเพื่อการแก้แค้นทดแทน แต่ต้องเป็นไปเพื่อการแก้ไขเยียวยา แล้วที่พวกเขาทำความผิด อาจเพราะบางสิ่งบางอย่างในสังคมทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การกำจัดพวกเขา แต่ควรหาต้นตอของปัญหาเพื่อหาวิธีการแก้ไข เมื่อเราโกรธและเกลียดในสิ่งที่พวกเขากระทำ เราก็ไม่ควรทำแบบเดียวกัน ถ้าทำ เราก็ไม่ต่างไปจากพวกเขา คือการเป็นอาชญากร เพียงแค่มอบหน้าที่นั้นให้เพชฌฆาตเป็นผู้ลงมือ”

10 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันยุติโทษประหารชีวิตสากล

[:]

TAG

RELATED ARTICLES