การแถลงด้วยวาจาโดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล สมัยประชุมสามัญที่ 36 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

Share

การแถลงด้วยวาจาโดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) ใน Interactive Dialogue แก่คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับให้บุคคลสูญหายหรือโดย ไม่สมัครใจ (item ที่ 3) การบัญญัติให้การบังคับสูญหายเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาในภูมิภาคเอเชีย 11 กันยายน พ.ศ. 2560 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) สมัยประชุมสามัญที่ 36 ระหว่างวันที่ 11 ถึง 29 กันยายน พ.ศ. 2560

เรียน ท่านประธาน

ICJ ขอเน้นย้ำข้อแนะนำของคณะทำงาน ฯ ว่ารัฐควรจะบัญญัติให้การบังคับให้บุคคลสูญหายทั้งปวงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ซึ่งรวมไปถึงการบังคับให้ผู้ที่เดินทางโยกย้ายถิ่นฐานสูญหาย และบัญญัติให้มีบทลงโทษที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงความร้ายแรงของการกระทำผิดเช่นที่ได้กล่าวถึงในสิ่งพิมพ์ของ ICJ เรื่อง “ไม่มีอีกแล้ว ‘คนหาย’: การบัญญัติให้การบังคับสูญหาย เป็นความผิดตามกฎหมายอาญาในเอเชียใต้” (No more ‘missing persons’: the criminalization of enforced disappearance in South Asia) แม้ว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีรายงานตัวเลขของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายเป็นลำดับต้นๆ ของโลก การบังคับให้บุคคลสูญหายก็ยังไม่เป็นความผิดทางอาญาที่ชัดเจนใน ประเทศใดๆ เลยในเอเชียใต้ นี้ คืออุปสรรคที่สำคัญมากในการประกันความยุติธรรมกรณีของการบังคับให้บุคคลสูญหาย

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากการปราศจากกฎหมายภายในประเทศที่กำหนดให้การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดในกฎหมายอาญา ICJ ขอเน้นให้เห็นถึงความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการบังคับให้บุคคลสูญหายในกรณีที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรณีของนายสมบัด สมพอน ในประเทศสปป.ลาว กรณีของนายสมชาย นีละไพจิตร และนายพอละจี“บิลลี่” รักจงเจริญ ในประเทศไทย

เมื่อไม่มีกรอบของกฎหมายภายในประเทศที่ชัดเจนที่กำหนดให้การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญาโดยเฉพาะเจาะจง บ่อยครั งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐพิจารณาว่าการคุมขังในที่ที่ไม่ได้รับการรับรองให้เป็นที่คุมขังโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเป็นกรณี“คนหาย”และแม้การรับแจ้งความเพื่อด าเนินคดีอาญากับ ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้บังคับให้บุคคลสูญหายจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่เมื่อมีการดำเนินคดีเหล่านี้แล้ว การอธิบายคำฟ้องขอดำเนินคดีกลับถูกจำกัดให้อธิบายลักษณะความผิดว่าเป็นการ “ลักพาตัว” “การจับกุมตัวเรียกค่าไถ่” หรือ “กักขังหน่วงเหนี่ยวโดยผิดกฎหมาย” เท่านั้น

ข้อหาเหล่านี้ล้วนมิได้สะท้อนถึงความร้ายแรงหรือความซับซ้อนของการบังคับให้บุคคลสูญหาย อีกทั้งการกำหนดโทษยังไม่มีความเหมาะสมกับความร้ายแรงของความผิดนอกจากนี้ข้อหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นยังไม่รับรองสถานะความเป็นผู้เสียหายของครอบครัว หรือญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย รวมถึงผู้อื่นที่ได้รับความเสียหายอันเป็นผลมาจากการบังคับให้บุคคลสูญหายตามมาตรฐานที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนด

สุดท้ายนี้ ICJ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีการศึกษาเรื่องผู้ที่เดินทางโยกย้ายถิ่นฐานโดยคณะทำงานฯ ICJ ขอแจ้งว่า ICJ ได้มีสิ่งพิมพ์ เรื่อง หลักของบทบาทของผู้พิพากษาและทนายความในกรณีที่มีความ

เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยและผู้ที่เดินทางโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเพิ่งถูกตีพิมพ์ในปีนี และมีมาตรการการป้องกันที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันมิให้มีการบังคับมิให้บุคคลสูญหายในกรณีที่กล่าวมานี้

ขอขอบพระคุณ

United Nations Human Rights Council
36th Regular Session
11 to 29 September 2017

Oral Statement on Enforced Disappearances by the International Commission of Jurists (ICJ) at 36th UN HR council, Sep 2017

Oral Statement by the International Commission of Jurists
in the Interactive Dialogue with the Working Group on Enforced or Involuntary
Disappearances (item 3)
CRIMINALIZATION OF ENFORCED DISAPPEARANCES IN ASIA

11 September 2017

Mr President,
The ICJ echoes the Working Group’s recommendation that States should criminalize all
acts of enforced disappearance, including enforced disappearances of migrants, which
should be punished by appropriate penalties, taking into account their extreme seriousness.

As noted in the recent ICJ publication, “No more ‘missing persons’: the criminalization of
enforced disappearance in South Asia”, despite the region having some of the highest
numbers of reported cases of disappearances in the world, enforced disappearance is not
presently a distinct crime in any South Asian country.
This is a major obstacle to ensuring justice in cases of enforced disappearance.
In Southeast Asia, the ICJ has highlighted the failure of authorities to effectively
investigate cases of alleged enforced disappearance in the absence of national laws
criminalizing enforced disappearance, for example with respect to emblematic cases
of Sombath Somphone in Lao PDR and Somchai Neelapaijit and Porlajee “Billy”
Rakchongcharoen in Thailand. Where there is no clear national legal framework specifically criminalizing enforced disappearance, unacknowledged detentions by law enforcement agencies are often treated by national authorities as “missing persons” cases. On rare occasions where criminal complaints are registered against alleged perpetrators, complainants are forced to categorize the crime as “abduction”, “kidnapping” or “unlawful confinement”.

These categories do not recognize the complexity and the particularly serious nature of
enforced disappearance, and often do not provide for penalties commensurate to the
gravity of the crime. They also fail to recognize as victims relatives of the “disappeared” person and others suffering harm as a result of the enforced disappearance, as required under international law.

Finally, the ICJ welcomes the Working Group’s migration study; we note that the
ICJ Principles on the Role of Judges & Lawyers in relation to Refugees and Migrants,
published earlier this year, includes key safeguards that could help prevent disppearances in this context.
Thank you.”

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [560.32 KB]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [199.47 KB]

See: https://www.icj.org/un-statement-enforced-disappearances-in-asia/

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading