[:th]CrCF Logo[:]

คำกล่าวเปิดงาน โดย ซินเทีย เวลิโก เนื่องในกิจกรรมสาธารณะวันรำลึกถึงเหยื่อของการสูญหายโดยถูกบังคับ 2017

Share

คำกล่าวเปิดงาน โดย ซินเทีย เวลิโก (Cynthia Veliko) ผู้แทนประจำภูมิภาคของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ สำนักงานระดับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องในกิจกรรมสาธารณะวันรำลึกถึงเหยื่อของการสูญหายโดยถูกบังคับ ในหัวข้อ “นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและการบังคับสูญหายความยุติธรรม” ณ อาคารอนุสรณ์ สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพฯ

เรียน คุณพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาคุณพอละจี หรือบิลลี รักจงเจริญ, คุณอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาคุณสมชาย นีละไพจิตร, แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ คณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติ แขกผู้มีเกียรติจากองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรทางการทูต และกระทรวงการต่างประเทศ

ท่านสุภาพสตรี และสุภาพบุรุษ ดิฉันใคร่ขอกล่าวต้อนรับทุกท่านเข้าสู่กิจกรรมที่สำคัญเพื่อระลึกถึงเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อจากการสูญหายโดยถูกบังคับ
เรามาอยู่ร่วมกันในวันนีเพื่อแสดงออกซึ่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการสนับสนุนเหยื่ออทุกคนและทุกครอบครัวของผู้สูญหายโดยถูกบังคับ

การสูญหายโดยถูกบังคับ ไม่ใช่เพียงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในอดีต อีกทั่งยังมิใช่ปรากฏการณ์ทีเกิดขึน’ เฉพาะประเทศใด หนึ่ง หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึงโดยเฉพาะ แต่การสูญหายโดยถูกบังคับเป็นปัญหาระดับโลก และเป็นทีน่าเสียใจที่การสูญหายโดยถูกบังคับยังคดำเนินอยู่ต่อไปด้วยการลอยนวลผู้กระทำความผิดอย่างสมบูรณ์แบบโดยรัฐบาลทุกภูมิภาคของโลก

ในปัจจุบัน การสูญหายโดยถูกบังคับมิได้ถูกนำมาใช้เฉพาะในช่วงระหว่างความขัดแย้ง หรือระหว่างการริเริ่มการต่อต้านการก่อการร้ายเท่านั้น แต่รูปแบบใหม่ (ของการสูญหายโดยถูกบังคับ) ชี้ให้เห็นว่า การสูญหายโดยถูกบังคับถูกนำมาใช้มากขึ้นกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และบุคคลผู้ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และนโยบายของรัฐบาล การสูญหายโดยถูกบังคับยังถูกนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความหวาดกลัว ไม่เพียงแต่เฉพาะกับครอบครัวของเหยื่อ เพื่อนพ้อง ผู้ร่วมงาน แต่กับสังคมวงกว้างทั้งหมดด้วย

อนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับของสหประชาชาติ เป็นกรอบกฎหมายทีมีความสำคัญยิ่งยวดในการต่อสู้เพื่อยุติการการสูญหายโดยถูกบังคับ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้มีเพียง 57 ประเทศเท่านั้นที่ลงนามให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ

ในวาระวันแห่งการรำลึกถึงเหยื่อของการสูญหายโดยถูกบังคับสากลของสหประชาชาติ สำนักงานฯ ของเราจึงได้เปิดตัวโครงการรณรงค์เพื่อเพิ่มจำนวนประเทศทีลงนามให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาฯ เป็นสองเท่าภายในปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) ดิฉันใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านสนับสนุนโครงการรณรงค์นี้ และเพื่อกระตุ้นให้ทุกรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงนามให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาฯ ฉบับนี้

ในประเทศไทย คณะทำงานว่าด้วยการบังคับสูญหาย หรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติ (The UN Working Group on Enforced Disappearances) ได้บันทึกกรณีการบังคับสูญหายในประเทศไทยไว้ถึง 82 กรณี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 (หรือ พ.ศ. 2523) ในจำนวนดังกล่าว รวมกรณีทนายความนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมชาย นีละไพจิตร สูญหายโดยถูกบังคับเมื่อปี พ.ศ. 2547 และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธ์ุกะเหรี่ยง พอละจี “บิลลี่” รักจงเจริญ สูญหาย โดยถูกบังคับเมื่อปี พ.ศ. 2557 ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นกรณีที่เป็นสัญลักษณ์ และต่างเป็นกรณีที่เน้นย้ำถึงความท้าทายที่เหยื่อ และครอบครัวของพวกเขาและรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องเผชิญ

ทั้งสองกรณีนี้ยังตอกย้ำถึงภาวะสูญญากาศทางกฎหมายซึ้งทั้งนโยบาย และกระบวนการยุติธรรมของไทยยังไม่สามารถที่จะสถาปนาความจริง และยังไม่สามารถนำความยุติธรรมมายังกรณีซึ่งเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ทั้งนี้ความท้าทายที่ต้องเผชิญในการสถาปนาความจริงและความยุติธรรมในกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับ ได้แก่

  1. กระบวนการสืบสวนสอบสวนตั้งแต่ขั้นแรกจนตลอดกระบวนการปราศจากความโปร่งใส
  2. การสูญหายโดยถูกบังคับไม่เป็นความผิดทางกฎหมายอาญาอันสร้างความยากลำบากให้แก่ครอบครัวของเหยือในการริเริ่มขั้นตอนตามกฎหมาย และยากลำบากสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการรับเรื่องร้องเรียนและการตั้งข้อกล่าวหา และ
  3. ครอบครัว (ของเหยื่อ) ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแทนในฐานะโจกท์ร่วมในกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับ ทำให้ไม่มีความเป็นไปได้เลยทีครอบครัวจะมีส่วนร่วมในกระบวนการตามกฎหมาย

หากว่าเหยื่อ และครอบครัวของพวกเขารู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเพียงพอที่จะเปิดเผยชะตากรรมของผู้สูญหายโดยถูกบังคับ สิ่งนี้จะเป็นดั่งผลสะท้อนระบบยุติธรรมด้วย รัฐบาลไทยต้องจัดการปัญหานี้โดยเร่งด่วน และรีบรุดลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับของสหประชาชาติเป็นก้าวแรก

คณะทำ งานของสหประชาชาติว่าด้วยการสูญหายโดยถูกบังคับ (The UN Working Group on Enforced Disappearances) และข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้กระตุ้นให้รัฐบาลไทยพยายามอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเด็ดเดี่ยวในการสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับชะตากรรมของผู้สูญหายโดยถูกบังคับ เพื่อที่จะสถาปนาความจริงและนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติแข็งขันทีจะปกป้องสิทธิของของครอบครัวผู้สูญหายโดยถูกบังคับ นั้นก็คือสิทธิที่จะรับทราบความจริงเกี่ยวกับการสูญหายโดยถูกบังคับของเครือญาติ และรวมทั้งสิทธิในการรับทราบความก้าวหน้าและผลการสืบสวนสอบสวน ประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญาบนเวทีนานาชาติหลายต่อหลายครั้งว่าจะจัดการกับปัญหาการสูญหายโดยถูกบังคับเมื่อเดือนมีนาคม ศกนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติว่าจะให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับของสหประชาชาติ แต่สภานิติบัญญัติฯ กลับมีมติไม่รับร่างกฎหมายทีจะทำให้การบังคับสูญหายเป็นอาชญากรรม

ดิฉันยังคงมีความเชื่อมันว่า ประเทศไทยสามารถทำให้คำมั่นสัญญากลายเป็นการปฏิบัติจริงได้ ด้วยการดำเนินมาตรการเชิงรูปธรรมในการปกป้องสิทธิทีจะได้รับทราบความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยาในกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับในภูมิภาคนี้ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – โดยผู้แปล) ยังมีการลงนามให้สัตยาบันในอนุสัญญาฯ น้อยมาก ดังนั้นจึงเป็น
โอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะแสดงออกซึ่งจุดยืนเชิงศีลธรรมและกลายมาเป็นต้นแบบในประเด็นนี้ให้แก่รัฐอื่นๆ

มาตรการจำนวนหนึ่งที่ประเทศเทศไทยสามารถปฏิบัติได้ ได้แก่ ผ่านกฎหมายทีมีความสมบูรณ์เรืองการสูญหายโดยถูกบังคับตามมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน ส่งคำเชิญเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการไปยังคณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการสูญหายโดยถูกบังคับของสหประชาชาติ (The UN Working Group on Enforced
Disappearances) และตั้งคณะสืบสวนสอบสวนกรณีอย่างรอบด้านจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อให้ดำเนินการทบทวนอย่างสมบูรณ์ตามขั้นตอนสำหรับทุกกรณี มาตรการเหล่านี้จะช่วยเสริมความเข้มแข็งอย่างใหญ่หลวงให้กับกลไกภายในประเทศในการแก้ไขปัญหาการสูญหายโดยถูกบังคับอันสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน หากขั้นตอนรูปธรรมเหล่านี้ถูกนำมาปฏิบัติจริงย่อมถือได้ว่าเป็นความสำเร็จ

ทั้งนี้สำนักงานของเราขอแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนรัฐบาลในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ได้ริเริ่มขึ้น ในโอกาสที่เราร่วมกันแสดงความรำลึกถึงวันสำคัญวันนี้ดิฉันใคร่ขอกล่าวเน้นย้ำว่า สำนักงานฯ ของเราจะทำงานกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกับครอบครัวของผู้สูญหายโดยถูกบังคับเพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับชะตากรรมของบุคคลผู้เป็นที่รักของพวกเขา เราจะสนับสนุนครอบครัวและเพื่อนของผู้สูญหายโดยถูกบังคับอย่างต่อเนื่องบนหนทางอันเจ็บปวดเพื่อแสวงหาความจริง และความยุติธรรมให้แก่กรณีเหล่านี้

ทุกท่าน วันนี้ เราจะได้รับฟังผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนของรัฐบาล และรวมทั้งครอบครัวของผู้สูญหายโดยถูกบังคับเพื่อนำไปสู่การดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับ ดิฉันหวังว่าการพูดคุยในวันนี้จะนำทางเราทุกคนไปสู่การแสวงหาความจริงและความยุติธรรมในกรณีเหล่านี้

ดิฉันใคร่ขอถือโอกาสนี้ แสดงความทราบซึ้งอย่างจริงใจต่อกระทรวงยุติธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั้นแนล ประเทศไทย, คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมป้องกันการทรมาน, สมาคมทนายความสิทธิมนุษยชน และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินอีสาน สำหรับความร่วมไม้ร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมสำคัญนี้

เราทุกคนสามารถร่วมกันยุติการสูญหายโดยถูกบังคับในประเทศไทยได้ ดังเช่นที่ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวไว้ว่า “ไม่มีผู้หญิง ผู้ชาย หรือเด็กคนใดสมควรถูกลบออกไปจากหน้าแผ่นดิน”

ดิฉันขออวยพรให้การอภิปรายประสบความสำเร็จและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกท่าน
ขอบคุณมากค่ะ

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [80.50 KB]