[:th]
ที่มา
เมื่อมีความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ต่างๆนั้นย่อมส่งผลกระทบกับทุกคนในสังคม สิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องดำเนินการคือ การค้นหาความจริงเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา ซึ่งการค้นหาความจริงนี้ก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเก็บข้อมูลไปเพื่ออะไร เช่นเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดนั้น เพื่อชดเชยเยียวยาให้กับผู้เสียหายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนเเรงนั้น หรือเพื่อนำไปประเมินว่าองค์กรใดเป็นต้นเหตุเเห่งความรุนแรงและควรได้รับการปฏิรูป ทั้งนี้เราก็พอที่จะอนุมานได้ว่าการเก็บข้อมูลก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงซ้ำอีกนั่นเอง
ในการค้นหาความจริงนั้นมีข้อควรคำนึ่งถึงคือเมื่อมีการละเมิดรุนแรงกว้างขวาง ยาวนาน ซ้ำซ้อน ไม่มีองค์กรใดที่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนถูกต้องทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากศักยภาพของผู้เก็บข้อมูล ด้านความรู้ ภาษาเทคโนโลยี ความมีอคติ สภาพเเวดล้อม หรือสภาพของสถานที่เกิดเหตุ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้มานั้นแม้จะไม่ครบถ้วน ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ถูกต้อง และแม้ข้อมูลของสององค์กรไม่ตรงกันก็ไม่ใช่ว่าองค์กรใดองค์กรหนึ่งผิด ทั้งนี้ต้องพิจารณาองค์ประกอบในการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่นในมุมของผู้เก็บข้อมูลและวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลไปใช้ จะพบว่าข้อมูลที่เก็บจึงอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปด้วย
ดังนั้น ทุกกลุ่มที่ทำงานเก็บข้อมูลควรมีการบันทึกฐานข้อมูลของตัวเองไว้อย่างละเอียด เช่น รายละเอียดผู้เก็บข้อมูล วันเวลา ที่เก็บ วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ สถานที่เกิดเหตุ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทั้งนี้เเม้ข้อมูลที่เราเก็บมานั้นจะไม่เหมือนขององค์กรอื่นก็ไม่ได้หมายความว่าขอมูลของเราผิด หรือข้อมูลขององค์กรอื่นนั้นผิดแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้เราควรที่จะตรวจสอบว่าจุดที่แตกต่างกัน หรือเหมือนกันนั้นคือจุดไหน และทำไม่ และการเเชร์ข้อมูลระหว่างองค์กรที่ทำงานในพื้นที่เดียวกันก็จะช่วยให้ฐานข้อมูลเรากว้างและสามารถตรวจสอบความครบถ้วนข้อมูลของเราได้ด้วย
[:]