[:th]
เสียงของเขาที่อยากให้ค่ายอิงคยุทธได้ยิน
นายอับดุลเลาะ (นามสมมุติ) เป็นผู้เสียหายจากการทรมานที่เราได้จดบันทึกไว้อย่างเป็นระบบเมื่อปี 2558 ถ้าให้ชัดก็คือมีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการได้ทำงานร่วมกันในกิจกรรมช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมาน พบว่าเมื่อตกเป็นผู้เสียหายจากการทรมานแต่ได้ก้าวพ้นความเป็นผู้เสียหาย กลับมาทำงานช่วยเหลือผู้เสียหายรายอื่นๆ และรวมกิจกรรมเพื่อให้ตนเองและผู้อื่นกลับมามีที่ยืนในสังคม เราทำงานร่วมกันตั้งแต่ปี 2556
นายอับดุลเลาะมีพื้นเพอยู่ที่ตำบลเมาะมาวี อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี เราได้พบกับครั้งแรกเมื่อปี 2550 ที่พื้นที่ควบคุมตัวพิเศษ พล.ร. 15 ฝั่งตรงข้ามค่ายอิงคยุทธ ขณะนั้นน่าจะถูกใช้เป็นศูนย์ซักถามอีกแห่งหนึ่งด้วย
นายอับดุลเลาะถูกจับกุมควบคุมตัวครั้งแรก ปี 2550 เนื่องจากมีเหตุระเบิดที่หัวโค้งบ้านต้นมะขาม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี วันที่ 17 ม.ค. 50 เวลาประมาณ 9 โมงเช้ากำลังหาเต้นท์เพื่อมาใช้ที่โรงเรียนตาดีกา ก็มีทหารมาจับกุมตัว มีคนถูกจับ 2 คนพร้อมกับนายอับดุลเลาะ ทหารกลุ่มนั้นพาบุคคลทั้งสามไปบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจและก็ส่งตัวไปที่ ฉก.21 แล้วก็ถูกส่งตัวต่อไปที่ถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร ประมาณประมาณบ่ายสองหรือบ่ายสามโมง ต่อมาก็ถูกย้ายไปขังไว้ 1 คืน 1 วัน ที่ฝั่งสนามบินตรงที่มีบาลาเศาะและอยู่ที่นั่นจนใกล้สว่าง แล้วทหารนายหนึ่งก็พาตัวไปที่บ้านพักด้านใน ขณะนั้นมีทหารมีมีอาการมึนเมามาต่อยท้องหลายครั้ง จนรู้สึกเจ็บตรงบริเวณท้อง ทหารคนนั้นส่งปืนเพื่อให้เรายิง รวมทั้งสอนวิธีการยิง สั่งให้วิดพื้น 20 ครั้ง เมื่อนายอับดุลเลาะฯ บอกไปว่าทำไม่เป็น ทหารนายนั้นก็บอกว่าทำเป็นโง่ ตอนนี้โดนตบหัวจนสลบ มีตอนหนึ่งให้ใส่กางเกงในตัวเดียวอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ ควบคุมตัวที่ห้องเย็น สอบสวนไม่นานเพราะเจ้าหน้าที่ที่สอบสวนบอกว่านายอับดุลเลาะพูดกวน แค่หมั่นไส้แต่ไม่ได้ทำร้าย
เมื่อมีการเยี่ยมญาตินายอับดุลเลาะเปิดบริเวณท้องให้ญาติดูพบมีรอยช้ำ ก็เกิดมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรม พอตอนกลางคืนมีการตั้งกรรมการสอบสวนการทำร้ายร่างกาย มีการเรียกตัวให้นายอับดุลเลาะไปเพื่อชี้ตัวคนทำร้าย 3 คน ก็มีการมาขอขมา กราบเท้า แล้วก็ไม่ได้ทำเรื่องอะไรต่อ เจ้าหน้าที่สอบสวนเวลา 8 โมงเช้าถึง 10 โมงเช้า กลางคืน 2 ครั้ง กลางวัน 1 ครั้ง จากนั้นก็ไม่สอบสวนอะไร อยู่เฉยๆ อยู่ที่ค่ายอิงคยุทธ 19 วัน รวมทั้งหมดก็ 21 วัน
เราพบกับครั้งแรกในปี 2550 ในค่ายทหารที่มีการขอโทษขอขมาโดยเจ้าหน้าที่ที่ยอมรับว่าทำร้ายนายอับดุลเลาะจริง ต้องขอขอบคุณนายทหารผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ปัจจุบันยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่สามจังหวัดชายแดนใต้
นายอับดุลเลาะถูกควบคุมตัวครั้งที่สองปี 2556 มีการล้อมหมู่บ้านและมาเชิญตัวนายอับดุลเลาะ ประมาณ 6 โมงเช้า ทหารพรานมา 1 คันรถ พาไปที่ ฉก.22 (ชลประทาน) ถึงประมาณ 06.10 น. ก็นั่งอยู่บนแคร่ในเดือนถือศิลอด ไม่มีการทำร้ายร่างกายดูเหมือนว่าทหารจะรู้จักแล้ว ครั้งนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธ 28 วัน ครั้งที่สาม ปี 2557 ก่อนรายอ 10 วัน มีการระเบิดทีเขื่อนชลประธานครั้งที่ 2 เจ้าหน้าที่ก็มาเชิญตัวไปที่ ฉก.22 ไม่ได้โดนอะไร อยู่ไม่ถึง 1 วัน ก็พาไปค่ายอิงคยุทธ ก็ไม่ได้ถูกทำร้ายร่างกาย
เราพบกันครั้งสุดท้ายครั้งที่ทีมงานไปเยี่ยมบ้านนายอับดุลเลาะเมื่อราวเดือนตุลาคม 2559 มีคำถามว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารมาพบที่บ้านบ่อยไหม เขาตอบว่าบ่อยมากแต่ไม่สามารถระบุได้ดูจะเป็นอารมณ์ความรู้สึก เราจึงเขาแนะนำว่าให้ทำสมุดเยี่ยมเพื่อบันทึกว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารมาหาเดือนละกี่ครั้ง พบว่า นับแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2559 จนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2560 มีการเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 12 ครั้ง จนกระทั้งนายอับดุลเลาะถูกจับกุมครั้งล่าสุด เมื่อ วันที่12 มิถุนายน 2560 เมื่อเวลา 02:00 น เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีคนร้ายมาหลบหนีที่บ้านของนายอับดุลเลาะ เจ้าหน้าที่จากกอรมน ตำรวจ และ ฉก ในพื้นที่รวม 12 คันรถมาล้อมและเข้าตรวจค้นที่บ้านไม่พบสิ่งของต้องสงสัยและบุคคลต้องสงสัย หลังจากนั้นจึงได้แจ้งว่าจะนำตัวไปซักถามที่ ฉก 43 ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตั้งแต่วันที่ 12 – วันที่ 30 มิถุนายน นายอับดุลเลาะยังอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหารที่อิงคยุทธบริหาร
นายอับดุลเลาะมีลูกสามคนและภรรยาท้อง 8 เดือน
[:]