จงลงทุนเพื่อคุ้มครองป้องกันบุคคลจากการทรมาน
วันที่ 26 มิถุนายน 2560 (เจนีวา / ดีซี/ เวียนนา/ อัมเตอร์ดัม) วันนี้ เนื่องในโอกาสวันสนับสนุนเหยื่อจากการทรมาน เราขอแสดงความระลึกถึงและเชิดชูเกียรติให้แก่เหยื่อและผู้รอดชีวิตจากการทรมาน และยืนยันว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันและกับเครือข่ายของเราทั่วโลกต่อไป ในการต่อต้านการทรมานทุกรูปแบบและทุกหนแห่ง ในขณะเดียวกัน เราจะเฝ้าระวังการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้าย โดยตระหนักว่า การทรมานอาจเกิดขึ้นที่ใด เมื่อใด และกับใครก็ได้
เราจะทำอย่างไรให้หลุดพ้นจากบ่วงบาศก์แห่งการทรมานนี้ไปได้ ในการต่อต้านการทรมาน ก่อนอื่นเราต้องตรวจดูโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดการทรมาน แล้วหาทางที่จะลดหรือกำจัดให้หมดไปเสีย เป็นที่รู้กันว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายนั้น มักเกิดขึ้นระหว่างชั่วโมงแรกๆของการควบคุมตัวโดยตำรวจ ดังนั้นการที่จะป้องกันไม่ให้มีการทรมานในช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงที่สูงดังกล่าว เราต้องมีมาตรการต่างๆ เช่น การเข้าถึงทนายความ การแจ้งให้ญาติทราบ โดยต้องทำให้ได้จริงในทางปฏิบัติ งานวิจัยอิสระที่ชื่อว่า “การปัองกันการทรมานทำได้จริงหรือ?” (“Does Torture Prevention Work?”) ที่ศึกษามาตรการการป้องกันการทรมานใน 16 ประเทศในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาโดย The Association for the Prevention of Torture ( APT) พบว่า มาตรการป้องกันเช่นว่านั้น เมื่อได้นำมาใช้จริงในทางปฏิบัติ ได้มีผลอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันไม่ให้มีการทรมาน นอกจากนั้น ยังมีวิธีการที่เหมาะสมอีกมากมายที่รัฐต่างๆยังสามารถนำมาใช้ในการป้องกันไม่ให้มีการทรมานเกิดขึ้นได้
การป้องกันมิใช่แนวคิดใหม่ เมื่อสามสิบปีที่แล้ว ในวันที่ 26 มิถุนายน 2531 (1987) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการประติบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ได้มีผลใช้บังคับ โดยกำหนดให้รัฐภาคีต้องดำเนินการให้การทรมานเป็นความผิดทางอาญาและกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้มีการทรมานในประเทศของตน ในวันเดียวกันนั้น รัฐสภาแห่งยุโร (The Council of Europe) ก็ได้ให้การรับรอง อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานของสหภาพยุโรป (The European Convention for the Prevention of Torture) ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจเยี่ยมสถานที่ใดๆของประเทศสมาชิกที่ใช้ควบคุมตัวบุคคลในเวลาใดๆก็ได้ สำหรับประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ มีจำนวนครึ่งหนึ่งที่ได้ยอมรับระบบที่เป็นสากลในการตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังบุคคล ซึ่งเป็นไปตามพิธีสารเลือกรับแห่งอนุสัญญาต่อต้านการทรมานของสหประชาชาติ
การหันเหออกจากระบบการใช้คำสารภาพของจำเลยเป็นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นสิ่งงสำคัญประการหนึ่งในการการป้องกันไม่ให้มีการทรมาน ในเรื่องนี้ วิธีการสอบปากคำและการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ก็มีความสำคัญในการป้องกันไม่ให้มีการทรมานเช่นกัน ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้รัฐต่างๆรับรองและปรับปรุงวิธีการ จริยธรรม เทคนิคในการสอบสวนและการสอบปากคำบุคคลต่างๆ รวมทั้งผู้ต้องสงสัย เหยื่อ และพยาน โดยแบบวิธีการสอบปากคำในการสอบสวนจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการค้นหาความจริง การได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยการจะหันเหออกจากเทคนิควิธีการเชิงกล่าวหา การชักจูงใจหรือหลอกลวง หรือเทคนิคต่างๆ ที่กดดันให้รับสารภาพได้นั้น รัฐต่างๆ จะต้องไม่เพียงสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนในการสอบปากคำและสอบสวนเท่านั้น แต่ต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาอาชญกรรมและการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยให้แก่สังคมด้วย
วันนี้ เราในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ ขอเรียกร้องให้ทุกรัฐลงทุนในการสร้างมาตรการป้องกันไม่ให้มีการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้าย เหยื่อการทรมานที่เกิดขึ้นแต่ละราย คือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งของเหยื่อทรมานที่มีจำนวนอย่างมากมายอยู่แล้ว ในเวลานี้ ที่ผู้นำประเทศต่างๆ กำลังถูกท้าทายด้วยข้อห้ามเด็ดขาด ไม่ให้มีการทรมานอย่างนั้น วิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการสร้างสรรโลกที่ปราศจากการทรมานคือ การทำงานร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันไม่ให้มีการทรมานในทุกหนทุกแห่งในโลกใบนี้
UN Special Rapporteur on torture and other cruel, inhuman and degrading treatment or punishment
Professor Nils Melzer, (Switzerland), 2016-present
ผู้รานงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ ด้านการต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
ศาสตราจาย์ นิลส์ เมลเซอร์ (สวิสเซอร์แลนด์) ค.ศ. 2016-ปัจจุบัน
Former UN Special Rapporteurs on torture and other cruel, inhuman and degrading treatment or punishment:
อดีตผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านการต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
Professor Juan Méndez, (Argentina), 2010-2016
ศาสตราจารย์ ฮวน เม็นเดซ (อาเจนตินา) ค.ศ. 2010-2016
Professor Manfred Nowak, (Austria), 2004-2010
ศาตราจารย์ มานเฟรด โนวาค (ออสเตรีย) ค.ศ.2004-2010
Professor Theo van Boven, (Netherlands), 2001-2004
ศาสตราจารย์ ธีโอ วาน โบเวน (เนเธอร์แลนด์) ค.ศ. 2011-2004
การ์ตูนวันต่อต้านการซ้อมทรมานฉบับภาษาไทย