สถานการณ์ของสิทธิที่จะมีชีวิตรอดและข้อห้ามต่อ
การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
ข้อ 2 (3), 6 และ 7 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)
เสนอต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สมัยประชุมที่ 119 วันที่ 6-29 มีนาคม 2560
จัดส่งรายงานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560
จัดทำโดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจและเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี
รายงานฉบับนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน website ของข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ http://tbinternet.ohchr.org/Treaties/CCPR/Shared%20Documents/THA/INT_CCPR_CSS_THA_26528_E.pdf
สรุปย่อ
1) ตั้งแต่ปี 2555 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจและเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี ได้จัดให้มีการบันทึกข้อเท็จจริงเรื่องการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้ายในประเทศไทย โดยการใช้แนวคำสัมภาษณ์จากหลักการ Istanbul Protocol นับจากเหตุการณ์ปี 2547 เราได้บันทึกข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเรียนจำนวน 167 ราย ก่อนหน้านี้เราก็ได้ร่วมกันส่งรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต่อองค์การสหประชาชาติในหลายๆ ครั้ง ได้แก่ UPR 2011, CRC 2011 CERD 2012 รวมทั้งอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน 2557 และต่อกลไกผู้แทนพิเศษทั้งเรื่องการทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย
2) จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่ลงนามในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และยังมีรายงานเรื่องการทรมาน การเสียชีวิตในการควบคุมตัว การควบคุมตัวไม่ชอบ การบังคับบุคคลให้สูญหาย และยังคงไม่มีกลไกในการติดตามการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะสนับสนุนให้ผู้เสียหายร้องเรียนและเรื่องร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการตรวจสอบ เราพบว่ายังคงมีการทรมานและการปฏิบัติอย่างโหดร้ายเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและเป็นระบบในบริบทการปราบปรามการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ การสืบสวนสอบสวนที่อาจเกิดขึ้นก็ยังไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษ ญาติและผู้เสียหายก็มักถูกข่มขู่คุกคามรวมทั้งการฟ้องร้องคดีกลับ มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องหน้าที่ของรัฐในหลักการห้ามการทรมานโดยเด็ดขาดและการปกป้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง ทนายความ บุคคลกรทางด้านตุลาการ แพทย์ แพทย์นิติเวช เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณะสุข นักจิตวิทยา เพื่อให้เกิดการจดบันทึก การรายงานและกลไกในการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพต่อผู้เสียหายและครอบครัว
อ่านต่อที่ Thailand_ ICCPR- shadow final_ CrCF, Duayjai and HAP 2017. Thai version_public
English version: Thailand_ ICCPR- shadow final_ CrCF, Duayjai and HAP submitted on 6 Feb 2017.new