[:th]CrCF Logo[:]

คำกล่าว งานวันสนันสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล มิย.2559 : OHCHR แนะให้รัฐบาลไทยใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งปวงเพื่อยุติการคุกคามและการทำร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันที

Share

%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%94-1

160629-closing-remarks-for-shivani-29-june-2016_complete-version

คำกล่าวปิดของคุณชีวานี เวอร์มา (Shivani Verma)

เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Office of the High Commissioner for Human Rights – UNOHCHR)

สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

การสัมมนาในโอกาสวันต่อต้านการทรมานสากลเพื่อสนับสนุนเหยื่อการซ้อมทรมาน

29 มิถุนายน 2559

โรงแรมสุโกศล

ในนามของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนอื่นดิฉันต้องขอบคุณผู้จัดที่เชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมที่สำคัญเช่นนี้ ซึ่งสะท้อนพันธกิจของรัฐบาลที่จะเอาผิดทางอาญากับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายในไทย และการให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน การแสดงพันธกิจเช่นนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือกันของทั้งรัฐบาลไทย ภาคประชาสังคม รวมทั้งเหยื่อการซ้อมทรมานและครอบครัว ซึ่งมักมีบทบาทที่สนับสนุนความพยายามเช่นนี้มาตลอด

การทรมานเป็นความผิดอาญาร้ายแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นการปฏิเสธศักดิ์ศรีที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละคนแต่กำเนิด ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานร้ายแรงต่อครอบครัว และทำให้ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อรัฐลดลง ตามกฎบัตรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การทรมานเป็นข้อห้ามอย่างเบ็ดเสร็จ ไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรมไม่ว่าในสภาพการณ์ใดที่จะปล่อยให้มีการทรมาน ทั้งในช่วงที่เกิดสงครามความขัดแย้ง หรือแม้ในช่วงที่มีการคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐ

ดังที่ท่านตระหนักดีว่า ที่ผ่านมาในประเทศไทยมีการอภิปรายถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของรัฐ นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่วิทยากรในรายการนี้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและความสงบสุขที่ยั่งยืนในไทย

 

เพื่อนร่วมงานทุกท่าน,

เราอยู่ร่วมกันในวันนี้เพื่อแสดงความสนับสนุนต่อวันรำลึกเหยื่อการซ้อมทรมานสากลแห่งสหประชาชาติ ในวันที่สำคัญเช่นนี้ เราต่างส่งกำลังใจเพื่อสนับสนุนเหยื่อการซ้อมทรมานทุกคนและสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาทั่วโลก ดังที่ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวไว้ว่า “ผู้เสียหายทุกคนมีความสำคัญ” กองทุนสหประชาชาติเพื่อเหยื่อการซ้อมทรมานซึ่งอยู่ใต้การบริหารงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีอายุครบ 35 ปีในปีนี้ ได้ทำงานช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้รับศักดิ์ศรีกลับคืนมา ทางกองทุนได้ให้ความช่วยเหลือกับผู้เสียหายด้านการฟื้นฟูและเยียวยากรณีที่รัฐไม่ให้การดูแลกับพวกเขาอย่างมากเพียงพอ

ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีข้อเสนอแนะที่สำคัญหลายประการต่อรัฐบาลที่จะตอบสนองตามข้อกังวลเกี่ยวกับการกล่าวหาอย่างต่อเนื่องว่า มีการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายระหว่างการควบคุมตัว ทั้งของตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ในเรือนจำทั่วประเทศ มีข้อกังวลเกี่ยวกับความรับผิดเนื่องจากไม่มีกรอบกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิ เป็นเหตุให้ในช่วงที่ผ่านมาทั้งเหยื่อและครอบครัวต้องประสบความยากลำบากในการเข้าสู่กระบวนการเยียวยาตามกฎหมาย นอกจากนั้น ที่ผ่านมาผู้กระทำความผิดร้ายแรงเช่นนี้ยังไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี

ในปี 2557 คณะกรรมการต่อต้านการทรมานมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลออกกฎหมายเอาผิดทางอาญากับการทรมาน และใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งปวงเพื่อประกันให้มีการสอบสวนตามข้อกล่าวหาว่ามีการซ้อมทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย โดยทันที อย่างรอบด้าน และอย่างไม่ลำเอียง และให้มีการไต่สวนคดีต่อผู้กระทำตามกระบวนการอันควร ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ซึ่งเป็นการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามวาระเป็นครั้งที่สองกรณีประเทศไทย (Universal Periodic Review (UPR) ภาคีสมาชิกหลายประเทศต่างเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อขจัดการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอย่างไม่ชักช้า

คณะกรรมการต่อต้านการทรมานยังได้แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับ “ข้อกล่าวหาหลายประการและต่อเนื่องกันว่า มีการตอบโต้และการข่มขู่อย่างร้ายแรงต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้สื่อข่าว ผู้นำชุมชนและครอบครัว มีทั้งการโจมตีด้วยคำพูดและการทำร้ายร่างกาย การบังคับบุคคลให้สูญหาย และการทำวิสามัญฆาตกรรม และที่ผ่านมายังไม่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสอบสวนตามข้อกล่าวหาเหล่านั้นเลย” ในปี 2557 คณะกรรมการมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งปวงเพื่อยุติการคุกคามและการทำร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันที มีการเน้นย้ำข้อเสนอแนะดังกล่าวอีกครั้งในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามวาระเป็นครั้งที่สองกรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในทุกวันนี้สำหรับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยที่ทำงานร่วมกับกองทุนสหประชาชาติเพื่อเหยื่อการซ้อมทรมาน พวกเขาหลายคนถูกฟ้องคดีอาญาโดยเป็นผลมาจากการจัดทำรายงานเปิดเผยข้อมูลว่ามีการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย

 

เพื่อนร่วมงานทุกท่าน

ข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากกลไกสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้แนวทางอย่างรอบด้านเพื่อคุ้มครองและป้องกันบุคคลทุกคนจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ซึ่งหมายถึงว่ารัฐบาลไทยต้องร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกภาคส่วนในประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ทั้งแพทย์นิติวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ในสถานที่กักตัวบุคคลและเรือนจำ นอกจากนั้น การดำเนินคดีกับผู้กระทำความรุนแรงและการเยียวยาผู้เสียหายอาจยังไม่เพียงพอ รัฐยังจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เสียหายและครอบครัวด้วย

อีกครั้งหนึ่ง ดิฉันอยากแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมทุกท่านที่ได้ให้ความเห็นจนทำให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ดิฉันอยากใช้โอกาสนี้ขอบคุณและแสดงความยินดีกับกระทรวงยุติธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurist) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิความยุติธรรมและสันติภาพ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานที่สำคัญของตัวผู้เสียหายและครอบครัว หากร่วมมือกัน เราจะสามารถยุติการซ้อมทรมานในไทยได้

ขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง

 

TAG

RELATED ARTICLES