Thailand: Reprisals against human rights defenders have no place in a peaceful society
คำแปล แถลงการณ์ สมาคมป้องกันการทรมาน (Association for Prevention of Torture- APT)
การโต้ตอบนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนไม่เกิดขึ้นในสังคมที่สันติ
วันที่ 3 ตุลาคม 2559
เมื่อรัฐบาลไทยตัดสินใจยุติการเปิดตัวรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นรายงานการใช้การทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมที่ส่งเสียงปลุกอีกครั้งว่าใครก็ตามที่รายงานเรื่องการทรมานหรือจดบันทึกข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานนั้นจะเสี่ยงกับการโต้ตอบโดยรัฐอย่างหนักหน่วง
ขณะที่รัฐบาลไทยกำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยการร่างกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดให้การทรมานเป็นความผิด พร้อมกันนั้นได้เตรียมการที่จะร่วมให้สัตยาบันในพิธีสารเลือกรับว่าด้วยการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานหรือที่เรียกว่าOPCAT การไม่อนุญาตให้มีการเปิดตัวรายงานการทรมานนั้นไม่เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็น การแสดงเจตนารมณ์ว่าจะลงนามในพิธีสารเลือกรับ (OPCAT) นั้น หมายความว่าประเทศไทยจะต้องเตรียมการให้แน่ใจว่าสถานที่ควบคุมตัวทุกแห่งที่ใช้สำหรับจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในประเทศของตนนั้นจะเปิดให้มีการตรวจตราโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระ วิธีการการป้องกันการทรมานนี้จะใช้ไม่ได้ผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้สืบสวนสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานที่ได้รับเมื่อมีการร้องเรียนเกิดขึ้น และไม่มีการนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
APT ทำงานร่วมกับกระทรวงยุติธรรมและนักต่อสู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนกระบวนการที่จะให้มีการให้สัตยาบันในพิธีสารเลือกรับ OPCAT ในปี 2556 เราได้ทำงานร่วมกับผู้ร่วมงานจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายที่สำคัญในประเทศไทย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติและองค์กรของเธอได้ให้ความช่วยเหลือ APT ในการทำงานด้านการป้องกันการทรมานและได้รณรงค์ให้มีการกำหนดให้ทรมานเป็นความผิดอาญาในประเทศไทย ในเดือนมกราคมปี 2559 พรเพ็ญและเพื่อนนักกิจกรรมได้นำเสนอรายงานการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองทัพบกได้ตอบโต้ ไม่ใช่โดยการสืบสวนสอบสวนแต่เป็นการแจ้งความร้องทุกข์ว่าบรรณาธิการทั้งสามคนหมิ่นประมาทซึ่งเป็นความผิดทางอาญา เราตกใจกับการโต้ตอบนักต่อสู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยการฟ้องคดี และเรียกร้องให้มีการยุติการดำเนินคดีต่อพรเพ็ญ คงขจรเกียรติและเพื่อนๆนักกิจกรรมอีกสองคน
การทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมไม่มีพื้นที่ยืนในสังคมที่ก้าวหน้าและสันติ การที่ประเทศไทยให้คำมั่นว่าจะปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและในพิธีสารเลือกรับ OPCAT นั้นแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังประณามและรังเกียจการกระทำดังกล่าว แต่สิ่งนั้นอาจไม่มีความหมายเลยถ้าเราไม่ได้แปลงให้เป็นนโยบายและการปฏิบัติที่สร้างให้เกิดบรรยากาศที่การต่อต้านการทรมานเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด การโต้ตอบผู้รายงานเรื่องการทรมานและผู้บันทึกข้อร้องเรียนเรื่องการทรมานนั้นทำให้สาธารณะชนสูญเสียความมั่นใจว่ารัฐบาลจะรักษาคำมั่นว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชนได้จริงหรือไม่
APT จะขอย้ำว่าการที่รัฐบาลมีความมุ่งมั่นทางการเมืองในการนำผู้กระทำการทรมานและปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมมาลงโทษตามกฎหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการห้ามและป้องกันการทรมาน และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อรัฐต้องพร้อมที่จะสนับสนุนและคุ้มครองปกป้องเสียงของตัวเล็กตัวน้อยที่เผยแพร่รายงานการละเมิดสิทธิเหล่านั้น
The Thai Government’s decision to stop the public launchof an Amnesty International report on the use of torture and other ill-treatment sends out an alarming message: those who report or document allegations of torture risk serious reprisals from the State.
While the Thai Government has taken positive steps in drafting a law to criminalise torture, as well as in preparing to join the torture prevention system under the Optional Protocol to the Convention against Torture (OPCAT), this incident is not a step in that direction. The expressed intention to ratify OPCAT means that Thailand is prepared to ensure that all places where persons are deprived of their liberty in the country are open to independent oversight. These efforts will likely be much less effective in changing bad practices and behaviour of staff if the relevant authorities are not equally committed to investigate allegations of torture where they are reported, and to bring perpetrators to justice.
The Association for the Prevention of Torture (APT) has an ongoing engagement with the Ministry of Justice in Thailand and human rights defenders to support the process towards ratification of the OPCAT. In 2013 we hosted our first Asia Pacific Fellow, Pornpen Khongkachonkiet, director of the Cross Cultural Foundation. As a major partner in Thailand, Ms Khongkachonkiet and her organisation have assisted the APT in advocacy for torture prevention and in our contributions to the criminalisation of torture in the country. In January 2016, Ms Khongkachonkiet and other activists presented a thorough report documenting torture and ill-treatment in the Southern Border Provinces. The Thai Army responded – not by investigating the allegations, but by filing a complaint against the authors for “criminal defamation”. We are appalled by the reprisals against these leading human rights defenders and urge that the legal action against Ms Pornpen Khongkachonkiet and her colleagues be withdrawn.
Torture and ill-treatment have no place in a progressive and peaceful society. The expressed interest and commitment by Thailand to implement the UN Convention against Torture and its Optional Protocol, demonstrates a national acknowledgement that torture and ill-treatment is an abhorrent practice. But such pledges have no true meaning if they are not translated into policies and practices that create an environment where torture is absolutely prohibited. Reprisals against those who report or document allegations of torture will undeniably lessen public confidence in the Government’s commitment to respect human rights.
The APT would like to reiterate that a government’s political will to bring perpetrators of torture and ill-treatment to justice is at the core of all efforts to prohibit and prevent torture. This can only be effectively done if States are ready to support and protect the small voices that are bringing to light such abuses.