[:th]CrCF Logo[:]

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ร้องยูเอ็นให้คุ้มครองชนเผ่ามันนิ ติดตามจับกุมโดยพลการเนื่องจากการไร้สัญชาติ

Share

14079675_1106534886104226_2666773379555146947_n

2016 -08-25 กรณีคุกคามชาวมันนิ

เผยแพร่วันที่ 25 สิงหาคม 2559

ใบแจ้งข่าว

ร้องยูเอ็นให้คุ้มครองชนเผ่ามันนิ ติดตามจับกุมโดยพลการเนื่องจากการไร้สัญชาติ

 

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อชนเผ่าพื้นเมืองชาวมันนิ  โดยมีความพยายามจับกุมโดยพลการต่อชนเผ่ามันนิข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายขณะเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ   ทางเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ได้จัดส่งหนังสือร้องเรียนเร่งด่วนถึงผู้แทนพิเศษองค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ เพื่อทางองค์การสหประชาชาติหามาตรการฉุกเฉินที่จะช่วยยุติการคุกคามชนเผ่าพื้นเมืองชาวมันนิที่อ่อนไหวและต้องได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานรัฐทุกหน่วยรวมทั้งการติดตามจับกุมโดยพลการเนื่องจากการไร้สัญชาติ เนื่องจากประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและให้การรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง

 

เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่งในเครื่องแบบ 1 นาย อีก 4 นายไม่แต่งเครื่องแบบ เดินทางมาที่โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยมีนายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นประธาน ในขณะนั้นมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก  เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามจะจับกุมตัวนายปอย ไม่มีนามสกุล อายุ 27 ปี ชาวมันนิจากจังหวัดสตูลที่พาลูกๆมาร่วมงาน ได้บอกเล่าปัญหาชีวิตความเป็นอยู่และการไม่มีสถานะทางกฎหมาย เป็นบุคคลไร้สัญชาติและมักประสบกับความยากลำบากในการเดินทางนอกพื้นที่  โดยภายหลังที่ตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เจรจา และติดต่อประสานงานกับฝ่ายปกครองระดับสูงของจังหวัด ได้มีความพยายามในการนำนายปองขึ้นห้องพัก หลังการเจรจาเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 5 นายจึงเดินทางกลับไปแต่ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเฝ้าอยู่ด้านชั้นล่างของโรงแรม

นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ ระบุภาพรวมของปัญหาว่า ปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีชาวมันนิอาศัยอยู่ในป่าเทือกเขาบรรทัดประมาณ 300 กว่าคนในเขตจังหวัดพัทลุง ตรังและสตูล มีทั้งที่กลุ่มอยู่ในป่าลึก กลุ่มที่เข้าออกระหว่างชายป่าและกลุ่มที่เริ่มออกมาติดต่อกับคนภายนอก ปัญหาที่พบคือเรื่องการแหล่งอาหารที่ลดลง และปัญหาสถานะทางทะเบียน ซึ่งเมื่อไม่มีบัตรประชาชนจะทำให้ไม่มีสิทธิในด้านต่างๆ รวมทั้งการรักษาพยาบาล

นอกจากนี้ในระหว่างกลางเดือนสิงหาคม 2559 เด็กหญิง อายุ  5 เดือน ชื่อ น้ำฝน ศรีมะนัง ไม่สบายไปโรงพยาบาลอำเภอมะนัง จ.สตูล  คุณหมอได้ให้ยา แต่ยังไม่ดีขึ้น  พ่อและลุงคือนายปอยได้พาน้ำฝนไปโรงพยาบาลอีกครั้ง อาการก็ยังไม่ดีขึ้น  อยากจะพาไปโรงพยาบาลไปอีกรอบหนึ่ง อาการก็ยังไม่ดีขึ้นมีการพูดคุยกันว่าต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลสตูล แต่เนื่องจากไม่มีเงิน และเครื่องแต่งกายไม่ถูกสุขลักษณะ จึงมีการประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้านให้ช่วยเหลือให้สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลสตูลในวันที่ 14 สิงหาคม 2559  ต่อจากนั้นวันที่ 15 สิงหาคม 2559  ทางโรงพยาบาลได้อนุมัติให้น้ำฝนได้รับบริการฟรีกรณีหลังมีการเผยแพร่ข่าวในทางสาธารณะ  อย่างไรก็ดีปัญหาเรื่องการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของชาวมันนิ เนื่องจากไม่มีบัตรและไม่สามารถรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐได้เลย

อยากให้ทางยูเอ็นยุติการละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและให้สิทธิในการรักษาพยาบาลต่อกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านกลุ่มนี้ยังไม่สามารถได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่ เมื่อประสบกับการเจ็บป่วยก็ไม่สามารถรักษาตนเองและได้รับการบริการจากรัฐอย่างใดเลย

 

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม

นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้Tel. 0874641225

 

TAG

RELATED ARTICLES