[:th]CrCF Logo[:]

[:th]The Civil Society for Peace and Network statement: 26 June is international day in support of victim of torture, Thailand still have torture[:]

Share

[:th]12299330_968834096472749_6450505987139612618_n

ที่หน้าอาคาร UNESCAP ถนนราชดำเนินนอก ในวันที่ 29  มิถุนายน 2559   เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา  เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.) และภาคีร่วมจะอ่านจดหมายเปิดผนึกด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ  และจากนั้นจะเข้าไปยื่นหนังสือต่อ Mr. Laurant Meillan รักษาการผู้แทนข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษชน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   โดยจะยื่นหนังสือเปิดผนึกเรื่อง การต่อต้านการทรมานในประเทศไทย เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีทางองค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานและรณรงค์ให้มีการต่อต้านการทรมานทั่วโลก) โดยจะมีครอบครัวของผู้เสียหายจากการทรมานจากจังหวัดอื่นๆจำนวนหนึ่งร่วมกิจกรรมด้วย

English version is below:

จดหมายเปิดผนึก

ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2559

เรื่อง    26 มิถุนายน วันต่อต้านการทรมานสากล ประเทศไทยยังมีการทรมาน

เรียน   เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ  ผ่าน Mr. Laurant Meillan รักษาการผู้แทนข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย

สืบเนื่องจากวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านการทรมานสากล อนึ่งประเทศไทยนั้น เป็นภาคีกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ตั้งแต่ปี 2550 ทว่าการทรมานยังคงมีอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานีนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงมีการกระทำการซ้อมทรมานประชาชนที่ต้องสงสัยโดยเจ้าหน้าที่รัฐว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์สู้รบจากขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีเรื่อยมา แม้ว่าจะมีการทำรายงานโดยกลุ่มภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชนไปยังกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ จนหลายประเทศสมาชิกของสหประชาชาติให้การท้วงติงมายังประเทศไทยก็ตาม และจากรายงานที่น่าเชื่อถือได้นั้นสะท้อนว่า หลายครั้งของการซ้อมทรมานนั้น เป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือภายใต้การรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเท่ากับว่ารัฐไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาเฉกเช่นที่ควรจะเป็น สาเหตุหลักสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติตามพันธะกรณีของประเทศไทยต่อสหประชาชาติ(UN)เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพนั้นคือในระบบของกฎหมายไทยไม่รองรับปัญหาการซ้อมทรมานที่ได้เกิดขึ้นหรืออีกนัยยะหนึ่ง

สามารถกล่าวได้ว่า คำว่า “การทรมาน” ไม่มีตัวตนอยู่ในระบบกฎหมายไทย แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานกับสหประชาชาติ(UN)แล้วก็ตาม แต่ในระบบกฎหมายไทยกลับไม่มีการให้คำนิยามของการทรมานไว้ ซึ่งโดยสรุปแล้วสถานะของการทรมานในกฎหมายไทยนั้น ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา จึงไม่สามารถจะเอาโทษกับผู้กระทำการทรมานผู้เสียหายได้ อย่างไรก็ตาม บุคคลที่เป็นเหยื่อของการทรมานไม่ได้มีเพียงแค่คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานีเท่านั้น ยังมีผู้มีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของการทรมานยังมีอีกหลายกลุ่ม เช่น ชาวโรฮิงญาที่ถูกควบคุมตัวอยู่ตามสถานกักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการทำร้ายร่างกายโดยตรง แต่สภาพที่ชาวโรฮิงญาจำนวนมากถูกกักตัวรวมกันไว้ในพื้นที่แคบๆ และประสบความยากลำบากในการเข้าถึงน้ำสะอาดและอาหารก็อาจถือเป็นการทรมานรูปแบบหนึ่งเช่นกัน  อีกทั้งการทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมก็มีรายงานด้วยว่าเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ

ในวาระโอกาสวันนี้ซึ่งเป็นวันต่อต้านการทรมานสากลนั้น ทางเครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.) และองค์กรภาคี จึงขอเรียกร้องให้ทางสหประชาชาติ(UN) ได้รับพิจารณาปัญหาการทรมานประชาชนในบริบทของประเทศไทย สู่การหามาตรการในการให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของมนุษยธรรมอย่างแท้จริงในเร็ววัน

ด้วยจิตรักสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ

เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ(คปส.) และภาคีร่วม 29/6/2559

 

June 29, 2016

OPEN LETTER

SECRETARY-GENERAL

UNITED NATION

BANGKOK, THAILAND

 

 

26 June is international day in support of victim of torture, Thailand still have torture.

 

June 26 of every year is the international day in support of victim of torture, since 2007 Thailand is a part of convention against torture and other cruel, inhuman or degrading. But the torture remains available in the Thai society, especially in the southern border provinces in the south (Patani). It is undeniable that there are still continuously acts of torture by state officials to those who suspect was involved in Patani independence movement.

 

Although there have been reports by a group of civil society on human rights to the human rights mechanisms of the United Nations till many member states of the United Nations criticize Thailand and credible reports have reflected on many of tortured action by government authorities or under the perception of government official, which means government of Thailand has failed to fulfill its obligations in the pact as it should be.

 

The main reason of inefficient the compliance obligations of the United Nations (UN) in Thailand because Thailand’s legal system does not support the torture issues or it can be said that the term “torture” does not exist in the legal system in Thailand.

 

Even though Thailand is a part in pact against torture with the United Nations (UN), but in the legal system of Thailand does not provide a definition of torture, which in summary, the status of the torture in Thai law is not a criminal law, it is impossible to condemn the acts of torture victim.

 

However, victims of tortures are not only just the people in the southern border provinces of Thailand (Patani)but also many groups risk of becoming a victim of torture such as Rohingya were detained in the detention at Immigration office. Although not a direct harmful but the condition of the Rohingya were detained together in a small space and difficulties in used a clean water and food, it may be considered as a form of torture as well.

 

With this opportunity in the international day in support of victim of torture, the Civil Society for Peace and Network Urges the United Nations (UN) to considering the issue of torture in the context of Thailand to measures in the protection of rights and liberties of the people based on the principle of humanity as soon as possible.

 

With the mind love human rights and peace.

The Civil Society for Peace and Network[:]

TAG

RELATED ARTICLES