[:th]CrCF Logo[:]

สรุปคำบรรยาย : บทบาททนายความในการสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน โดย นายสมชาย หอมลออ

Share

12729042_1153992354612064_859019386572058565_n

สรุปคำบรรยาย : บทบาททนายความในการสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน

โดย นายสมชาย หอมลออ

ในเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทนายความ นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เรื่อง ยุทธศาสตร์ในงานคดีที่ดินและป่าไม้

คำถามแรกของผมวันนี้คือจะทำอย่างไรจึงจะให้ในระบบกฎหมายไทยมีพื้นที่ในเรื่องกฎหมายสิทธิมนุษยชนบ้าง  เพราะระบบไทยถูกครอบงำทางความคิดที่ว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นใหญ่ แต่หลังจากรัฐธรรมนูญปีพ.ศ ๒๕๔๐ เป็นการเปิดประตูทำให้มีแนวคิดเรื่องระบบสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างมากขึ้นในสังคม   รัฐธรรมนูญยอมรับ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  และมีหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนปรากฎอยู่หลายด้านร่วมทั้งหลักการไม่เลือกปฏิบัติ หรือความเท่าเทียม  และรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ยังเปิดพื้นที่พอสมควรแต่ปัจจุบันอาจถูกตัดตอนออกไปหมดแล้ว

ยกตัวอย่าง การที่รัฐไล่คนออกจากป่าจากอุทยานแห่งชาติดงใหญ่ ชาวบ้านโนนดินแดงกลุ่มหนึ่งที่รัฐมีการขับไล่จากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง  กลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัย  การต้องอพยพจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยทำให้พวกเขาไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รูปแบบหนึ่ง

กฎหมายธรรมชาติหรือหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หลักการไม่เลือกปฏิบัติ มีความเป็นสากลได้ถูกนำไปใช้ในทางสากลแล้วเช่นในกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน   กฎหมายระหว่างประเทศ และรวมทั้งกฎหมายในประเทศ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ  ๒๕๔๐, ๒๕๕๐ หรือแม้แต่ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี ๒๕๕๘ ที่ปรากฏในมาตรา ๔ ดังนั้นรัฐมีหน้าที่ที่ต้องดำรงตามหลักสิทธิมนุษยชน

และเราก็ต้องเข้าใจด้วยว่ารัฐทำหน้าที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ถ้าไม่ทำมีเหตุผลเพียงสองประการคือรัฐไม่เต็มใจ หรือ รัฐไม่สามารถ เป็นรัฐที่ล้มเหลว  เราในฐานะทนายความจึงต้องทำหน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือการตรวจสอบและการแทรกแซงซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนโดยอาศัย กลไกของสนธิสัญญาในแต่ละฉบับ เช่น คณะกรรมตามกติกาสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติด้านต่างๆ กลไกขององค์การสหประชาติ มีผลไม่เด็ดขาดแต่ก็มีผลในการเปลี่ยนแปลงพอสมควร

เราในฐานะทนายความ  อยากให้มองบทบาทตนเองมากขึ้นในมุมด้านสิทธิมนุษยชนไม่ใช่แค่ในกระบวนการยุติธรรมของศาล  เช่น    บทบาทส่งเสริมการต่อสู้และสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม          งานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย  การให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชน  การเผยแพร่และฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย และ  Paralegal   การจัดทำ/ตรวจสอบเอกสาร หนังสือรับเรื่องร้องทุกข์ แถลงการณ์  การเป็นตัวแทนในการร้องเรียน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ เจรจาต่อรองต่างๆ  การให้ความช่วยเหลือทางคดีในชั้นศาล  รวมทั้งงานส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวบ้าน ชุมชน และขบวนการคนจน    การทำงานก็ต้องดำเนินการทั้งงานเชิงรับและเชิงรุก  อีกทั้งยังต้องทำงานโดยใช้เทคนิคและความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น จารีตประเพณี  อ่านเอกสารใหม่ๆ และยึดฐานสิทธิและแนวทางสิทธิ  ( Right Based Approach) ในการทำงานด้านกฎหมาย

มากล่าวถึงการดำเนินคดีสิทธิมนุษยชน ยังคงมีปัญหาหลายประการ เช่นปัญหาแนวคิดทางกฎหมายในประเทศไทย    ที่ศาลจะหยิบประเด็นสิทธิมนุษยชนและกำบัตรต่างมาในคำพิพากษาได้นั้น ส่วนใหญ่มาจากการที่ทนายนำสืบเข้ามาเป็นสืบ แต่ซึ่งความจริงศาลสามารถนำสืบเองได้เพราะข้อกฎหมาย  หรือการไม่มีกฎหมายใด เราก็ต้องใช้กฎหมายจารีตประเพณี เช่นแม้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี ๒๕๕๘ ก็ต้องใช้มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชน ยอมรับหลักสากล และอนุสัญญา ที่รัฐเป็นภาคี แต่ไม่มีใครใช้   หรือมาตรา ๕ ให้วินิจฉัย จารีตประเพณี  ในวาระที่ไม่มีการรับรองสิทธิชุมชน ประชาชนยังมีสิทธิชุมชน ตามสิทธิชุมชน รธน .๔๐ และ๕๐ เพราะมีการยอมรับและปฏิบัติกันเป็นประเพณีนิยมแล้ว

คดียุทธศาสตร์ คืออะไร  คดียุทธศาสตร์เป็นคดีที่เกี่ยวกับประเด็นกฎหมายและประเด็นข้อกฎหมาย  เมื่อมีการฟ้องศาลแล้วมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงกฎหมาย และนโยบาย อย่างกว้างขว้าง  เป็นคดีในเชิงรุก ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องรัฐ ที่รัฐละเลยไม่ทำ  ตัวอย่างคดียุทธศาสตร์  ที่ศาลวางบรรทัดฐานไว้ เช่น          คดีโคบอลส์ ๖๐ , คดีสิ่งแวดล้อม  คิตตี้ล่าง  คดีแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คดีมาบตาพุด คดีแม่เมาะ  คดีแคดเมียม เหมืองทองแดง อ. แม่สอด จ.แม่ฮ่องสอน  ซึ่งแต่ละคดีใช้นักวิชาการเป็นจำนวนมาก เพื่อสนับสนุนคดี หรือกรณีคดีแรงงานข้ามชาติ การเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนโดยแรงงานข้ามชาติ ใช้เวลา ๔ ปี

หรือกรณีที่รัฐต้องการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อื่นรัฐต้องหาที่ๆเหมาะสมให้แก่ชาวบ้าน  เจ้าหน้าที่ต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดการ เพราะถ้าขาดการมีส่วนร่วม เป็นการขัดหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่เช่น การยึดที่ดินหรือทรัพยากรใช้ร่วมกัน เช่นที่ริมตลิ่ง แม่น้ำ บึงชุมชน ลำธาร เป็นต้น  อีกทั้งรัฐต้องรับผิดในทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น ในเรื่องสิ่งแวดล้อม การเยียวยา และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เช่น กรณีแม่เมาะ  จากความเสียหายจากผลกระทบของโรงไฟฟ้า ประเด็นที่น่าสนใจ  บางครั้งกรณีที่ดินป่าไม้ศาลจะช่วยเรื่อง เจตนา เพราะชาวบ้านอยู่มาก่อน  ไม่มีเจตนา คดีตัวอย่าง คดีแม่อมกิ โดยนำเสนอ พยานผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ การทำไร่หมุนเวียน ซึ่งศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลง ขณะนี้อยู่ศาลฎีกา  หรือมีคดีที่ชาวบ้านได้ทำโฮมสเตย์ในพื้นที่ป่าสงวนเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายเปลี่ยนก็ถูกดำเนินคดีหรือกดดันที่ไม่ให้รับซื้อสินค้าที่ปลูกในที่ป่าสงวน   หากเกิดประเด็นพิพาทลักษณะเหล่านี้ทนายความจะมีบทบาทอย่างไรได้บ้างเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาชน

———————

 

 

 

 

 

 

TAG

RELATED ARTICLES