[:th]CrCF Logo[:]

เปิดแบบสอบถามที่ใช้การสัมภาษณ์ ผู้เสียหายในรายงานทรมานปัตตานี

Share

no torture

Download ได้ที่ Proxy_Instrument-Thai-revised-FINAL-(Mar 2014)

จุดตั้งต้นของการจดบันทึกอย่างละเอียดจากการสัมภาษณ์ผู้เสียหายจากการทรมานโดยตรงก็เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมานในวาระที่ที่ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีจะพิจารณารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายน 2557

การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบฟอร์มที่มีมาตรฐาน ผู้สัมภาษณ์ได้รับการอบรมและทำความเข้าใจกับแบบฟอร์ม 34 หน้า มีการจัดอบรมทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและความเข้าใจเรื่องการทรมานและปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม รวมทั้งความรู้เรื่องนิติวิทยาศาสตร์และสุขภาพจิตของผู้เสียหายจากการทรมานตามลำดับเพื่อเพิ่มพูนทักษะของผู้ทำการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาหลักในการสัมภาษณ์รับฟัง ส่วนการจดบันทึกเนื่องจากจะต้องมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษดังนั้นจึงทำการจดบันทึกเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการใช้เพื่อการดำเนินคดี การร้องเรียนตามกลไกทางกฎหมายของไทย รวมทั้งการส่งต่อเพื่อให้มีการเยียวยาบำบัดรักษาผู้เสียหายจากการทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

อาสาสมัครจากกลุ่มด้วยใจและเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปัตตานีเป็นกำลังสำคัญในการเข้าถึงผู้เสียหายผ่านการทำงานทางสังคมในด้านอื่นๆ และการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้ผู้เสียหายกล้าที่จะพูดและเล่าเรื่องราวที่โหดร้ายทั้งในขั้นตอนการจับกุม การควบคุมตัว การถูกซักถาม สอบสวน การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมในหลายๆ รูปแบบ รวมทั้งการถูกคุมขังในกรณีถูกดำเนินคดี ซึ่งหลายกรณีกว่าที่ผู้เสียหายจะกล้าที่จะเล่าและระบายความรู้สึกเหล่านั้นออกมาเป็นภาษาพูดต่อหน้าบุคคลอื่นนั้นอาจใช้เวลานานเป็นปี  เชื่อว่ามีผู้เสียหายจากการทรมานอีกหลายรายที่อาจจะยังไม่เคยเล่าหรือบอกเรื่องราวทั้งหมดหรือเพียงแค่บางส่วนแม้แต่ต่อสมาชิกในครอบครัวตนเอง  แต่เรื่องราวความเลวร้ายทั้งหมดกลับวนเวียนอยู่ในความคิด จิตใต้สำนึก และในฝันร้าย ๆของพวกเขาตลอดเวลา

TAG

RELATED ARTICLES