Thai version is below:
Unofficial Translation
ISOC addressing the report on torture and other cruel, inhuman or degrading treatment in the Deep South
Today (11 Feb 16), the spokesperson of the Internal Security Operations Command (ISOC), Maj. Gen. Banpot Poonpien, revealed that regarding the torture and other cruel, inhuman or degrading treatment in the Deep South, the security agencies have been well aware of it and have taken precaution to prevent such practice and to avoid any act that would become a problem from a human rights perspective. But even though the environment in the Deep South has changed, some civil society organizations continue to resort to the same old tactic to mobilize their cause without adjusting their roles. He also shared four observations regarding the torture report.
It has been reported that the Cross Cultural Foundation (CrCF) and alliances have launched the report on torture and other cruel, inhuman or degrading treatment in the Deep South for 2014-2015 on 10 Feb 16 claiming the invocation of special laws has created obstacles to review from independent and outside organizations. Also, the report only contains one-sided information from the accounts of those making the complaints from 2004 until now, 54 cases altogether, including the description of the infliction of psychological and physical torture and the definition based on international law which is confined to simply the act of the officers or a person acting in behalf of the state.
Regarding this, ISOC would like to explain that there has been constant progress as to the attempt to address problems in the Deep South over the past 12 years based on the policies and strategies developed by the government. It has helped transform the unrest in the Deep South paving the way toward a resolution of the conflicts based on peaceful means and based on good cooperation from all concerned parties. This is attested to by the fact that the number of violent incidences has markedly deceased. It could be said that the environment has changed. All sectors have started to realize the signal of the changes. Even most of the civil society organizations have started to organize brainstorming in response to the changing situation. Still, some civil society organizations continue to employ the same old tactics to mobilize their cause without heeding to the will of local people. Even the names of the organizations are in conflict with their own objectives.
From my understanding, the report has been written because the organizations want to solicit funding support from abroad. So even though the number of violence incidence has deceased, they need to evoke old information using it as a pretext in order to make themselves worth receiving funding support. It is also worrying that once this report gets distributed abroad, it would have created misunderstanding.
Previously, there has been an instruction by the Prime Minister/Director of ISOC on 10 Feb 16 referring to the fact that international organizations have received misinformation deviated from what really happens in the Deep South and ISOC has been urged to address the situation. What is particularly concerning is the ranking of countries under terrorist threat and statistics of insurgencies in the Deep South have been interpreted as a risk from terrorism.
Until now, security agencies have conducted training every year for raise the awareness among security forces and all attempts have been made to prevent any act that would become a problem from a human rights perspective. We rely on cooperation from religious leaders, community leaders, kinships, and credible outside organizations to bear witness all the processes concerning the enforcement of the law. And after any operation, should there be any doubt, the local agencies would be more than happy to help with an inquiry into the actions.
There are four observations ISOC wants to make.
First, all the organizations involved with writing the report, are they independent organizations with the mandate to review the performance of state officers or not. If so, from which laws they invoke their power?
Second, during the documentation in 2014 and 2015, have they stumbled on any government officer involved in the act of torture and other cruel, inhuman or degrading treatment or not.
Third, the information presented is based on old information and one-sided accounts. Has not this information been verified independently?
And fourth, why invoking just the international laws while forsaking the methods of inquiry provided for by domestic law since such an act could possibly amount to a defamatory offence.
Source: ISOC
http://nwnt.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5902110010007
กอ.รมน. ชี้แจงกรณีรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันนี้ (11 ก.พ.59) พล.ต.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงได้ตระหนักและระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนเสมอมา ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่องค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรยังคงใช้ลักษณะการขับเคลื่อนองค์กรแบบเดิมๆ โดยไม่มีท่าทีในการปรับบทบาท พร้อมกันนี้ได้ตั้งข้อสังเกต 4 ประการ ต่อรายงานสถานการณ์ทรมานฯ
ตามที่ปรากฏข่าวมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่าย ได้เปิดเผยรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2557-2558 เมื่อวันที่ 10 ก.พ.59 โดยอ้างการใช้กฎหมายพิเศษทำให้เกิดอุปสรรคในการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกที่เป็นอิสระ และนำข้อมูลจากคำบอกเล่าฝ่ายเดียวของผู้ร้องเรียนระหว่างปี 2547 จนถึงปัจจุบัน รวมจำนวน 54 ราย ประกอบด้วยการกระทำทรมานทางจิตใจและทางร่างกาย พร้อมนำนิยามศัพท์ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จำกัดเฉพาะเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่ใช้อำนาจรัฐมาอ้างอิงในรายงานนั้น
กรณีนี้ กอ.รมน. ขอชี้แจงว่า การแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ห้วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ อันเป็นผลทำให้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันมีแนวโน้มคลี่คลายไปสู่การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งร่วมกันตามแนวทางสันติวิธี โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน สังเกตได้จากเหตุการณ์ความรุนแรงเริ่มบรรเทาเบาบางลงไปอย่างเห็นได้ชัด จนอาจกล่าวได้ว่า สภาพแวดล้อมในพื้นที่ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว ทุกภาคส่วนได้ตระหนักรู้ถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเครือข่ายภาคประชาสังคมส่วนใหญ่ตื่นตัวจัดการระดมความคิดเห็นเตรียมการรองรับในหลากหลายรูปแบบ แต่ขณะเดียวกันองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรยังคงใช้ลักษณะการขับเคลื่อนองค์กรด้วยวิธีการแบบเดิมๆ โดยไม่มีท่าทีในการปรับบทบาทตามเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ แม้แต่การกำหนดชื่อองค์กรหรือวัตถุประสงค์ที่ยังขัดแย้งกันในตัวเอง ในรายงานข้างต้นนี้อาจเข้าใจได้ว่า องค์กรฯ เขียนโครงการไปขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากต่างประเทศ แต่เมื่อเหตุรุนแรงลดลงจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเก่านำมารายงานใหม่ให้สมกับเงินทุนที่ได้รับมา และที่น่ากังวลคือ รายงานฉบับดังกล่าวเมื่อถูกเผยแพร่ออกไปต่างประเทศอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงได้ สอดคล้องกับข้อสั่งการของ นรม./ผอ.รมน. เมื่อวันที่ 10 ก.พ.59 ถึงรายงานข้อมูลเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่องค์กรระหว่างประเทศได้รับ ไม่ตรงตามสถานการณ์ที่เป็นจริง และขอให้ช่วยกันชี้แจงแก้ไข โดยเฉพาะการจัดอันดับประเทศที่มีภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ด้วยการนำสถิติเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปเหมารวมเป็นความเสี่ยงของภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในภาพรวมของประเทศ
การปฏิบัติงานที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงได้จัดการอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจ รวมทั้งความพยายามทั้งปวงในการระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนเสมอมา ทั้งนี้ ได้อาศัยความร่วมมือของผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เครือญาติ และหน่วยงานภายนอกต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับ มาร่วมกันเป็นสักขีพยานในทุกขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมาย หรือในภายหลังหากมีข้อสงสัยประการใดหน่วยงานในพื้นที่ก็พร้อมตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกัน ในโอกาสนี้ กอ.รมน. มีข้อสังเกต 4 ประการ ประการแรกคือ บรรดาองค์กรที่จัดทำรายงานฉบับนี้มีสถานะเป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ และถ้าหากมีอำนาจหน้าที่แล้ว องค์กรมีสถานะตามข้อกฎหมายภายในประเทศฉบับใด ประการที่สองคือ การจัดทำรายงานห้วงระหว่างปี 2557-2558 ปรากฏมีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือไม่ ประการที่สามคือ ข้อมูลที่นำมาเปิดเผยเป็นเรื่องเก่าจากคำบอกเล่าเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงใช่หรือไม่ ประการที่สี่คือ เหตุใดจึงอ้างข้อกฎหมายระหว่างประเทศโดยละเลยต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยกลไกตามกฎหมายพื้นฐานภายในประเทศ จึงอาจสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทต่อหน่วยงานของรัฐได้
แหล่งข้อมูล ISOC