[:th]
จากรายงานของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้และกลุ่มด้วยใจพบว่า ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีเด็กเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบจำนวน 82 รายและได้รับบาดเจ็บ จำนวน 446 ราย โดยในปี 2558 พบว่ามีเด็กที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดคือมีจำนวน 5 ราย และได้รับบาดเจ็บจำนวน 20 ราย ซึ่งเป็นการลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดยมีหลายปัจจัยคือ มีความพยายามในการทำงานเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิเด็กในจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น รวมไปถึงการเคารพในหลักสิทธิเด็กของผู้มีอาวุธทั้งสองฝ่าย แต่ปรากฏการณ์ที่น่ากังวลใจต่อการละเมิดสิทธิเด็กในปี 2558 คือ1. การควบคุมตัวเด็กด้วยกฎหมายพิเศษ
เมื่อวันที่ 2 เดือนมิถุนายน 2558 เมื่อเวลา 05:00 น เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาตรวจค้นพร้อมอาวุธประมาณ 7-8 คน นอกบ้านมีเจ้าหน้าที่มาด้วยรถกะบะสีดำ สีเทา และรถอาสาสมัครรักษาดินแดงรวม 4-5 คัน พร้อมปืนยาว เจ้าหน้าที่ได้บอกให้ทุกคนแสดงบัตรประชาชน ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เก็บ DNA จากกระพุ้งแก้ม ตรวจลายนิ้วมือ และนำโทรศัพท์ไปและดำเนินการส่งตัวไปที่ ฉก 41 ค่ายวังพญา อ.รามันจังหวัดยะลาและเดินทางไปถึงที่นั่นในเวลา 19:30 น แต่เจ้าหน้าที่ให้รออยู่ในรถ ซึ่งทุกคนก็เห็นรุ่นพี่ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ หน่วยเฉพาะกิจที่ 41 ต่อมาเจ้าหน้าที่ก็พากลับมาที่ ศูนย์ปฏิบัติการ ตำรวจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ถ่ายรูป ตรวจร่างกาย เก็บทรัพย์สิน และเปลี่ยนชุด ที่นี้ทุกคนถูกนำตัวไปยังห้องขนาด 2×4 เมตร อยู่ห้องละ 1 คน ในห้องจะประกอบไปด้วย เตียงนอน ห้องน้ำและห้องอาบน้ำซึ่งมีพนังที่มีความสูงระดับอกเป็นที่กั้นระหว่างที่นอนและสุขา ที่ห้องจะไม่สามารถปิดไฟได้พวกเขาต้องอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างตลอดเวลา และเด็กจำนวน 3 คนถูกควบคุมตัว 4 วัน และอีกหนึ่งคน ถูกควบคุมตัว 6 วัน และได้ถูกส่งตัวไปที่หน่วยเฉพาะกิจที่ 41 เจ้าหน้าที่ให้พักที่ห้องที่ผู้ใหญ่ถูกควบคุมตัวเพราะเขากลัวการอยู่คนเดียว ห้องที่พักเป็นห้องที่มีขนาดเล็กฝาพนังเป็นเหล็กจนเมื่อเวลา 16 : 00 น ก็มีการซักถาม โดยสอบถามถึงประวัติส่วนตัว ที่อยู่ ครอบครัว จนถึงเวลาละหมาดมักริบก็ได้ให้พักผ่อนและมีการซักถามอีกครั้งในเวลา 20 น จนถึงเวลาเที่ยงคืน ต่อมาในวันที่ 7 ก็ได้รับการปล่อยตัวโดยได้ถูกส่งไปทำบันทึกที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ทั้งนี้ได้มีการเผยแพร่ชื่อในโลกออนไลน์ ทั้ง FACEBOOK และ LINE ตอนนี้เด็กบอกว่า รู้สึกเศร้า ทุกคนมีความรู้สึกชีวิตไม่เหมือนเดิม และรู้สึกว่าไม่มีความปลอดภัยกลัวว่าจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น กังวลว่าจะกระทบกับการเข้ามหาวิทยาลัย กังวลกับอนาคต เมื่อก่อนก็มีความคิดว่า สักวันคงต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้แน่เพราะญาติๆ ก็เคยถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ และรู้สึกว่ารัฐไม่ยุติธรรม ไม่มีเหตุผล
จะเห็นได้ว่าการดำเนินการปกป้องและคุ้มครองเด็กในพื้นที่ขัดแย้งไม่เพียงแต่จะหยุดความรุนแรงที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเพียงอย่างเดียว การปกป้องและคุ้มครองเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาก็มีความจำเป็นที่จะป้องกันมิให้วงจรของความรุนแรงหมุนไปไม่สิ้นสุด เพราะเมื่อเด็กได้เข้าไปในวงจรของการใช้กฎหมายพิเศษนั้น หากเด็กเห็นหรือประสบการกระทำที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เข้าใจการกระทำของเจ้าหน้าที่ ก็อาจทำให้เด็กปฏิเสธกลไกของรัฐได้ และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือเด็กอาจใช้ความรุนแรงต่อไปได้ในอนาคต
2. การดำเนินคดีความมั่นคงกับเด็ก
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. ๑๙๘๙
ข้อ ๓
1. ในการกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะกระทำโดยสถาบันสังคมสงเคราะห์ของรัฐหรือเอกชน ศาลยุติธรรม หน่วยงานฝ่ายบริหาร หรือองค์กรนิติบัญญัติ ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก แต่ในกรณี จังหวัดชายแดนใต้พบว่า ที่ศาลเยาวชนจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ศาล ได้มีการไต่สวนนัดพร้อมในคดีที่อัยการเป็นผู้สั่งฟ้องผู้ต้องหานามสมมุติว่านาย อ. ซึ่งขณะถูกจับยังเป็นเยาวชนด้วยข้อหาว่า กระทำการซ่องสุม อั้งยี่ซ่องโจร ก่อการร้าย ยั่วยุปลุกปั่นให้มีการกระทำอันเป็นการแบ่งแยกราชอาณาจักร ซึ่งโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต โดย นายอ. เป็นชาวยะลาเคยบวชเป็นสามเณรอยู่ในวัดในพื้นที่ สาเหตุที่ถูกจับกุม รายงานข่าวระบุว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 ได้มีเหตุปะทะและเจ้าหน้าที่ได้เข้ากวาดล้างพื้นที่ที่เชื่อว่าเป็นฐานของฝ่ายแนวร่วมที่บริเวณภูเขาใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ในการเข้าตรวจค้นเจ้าหน้าที่ยึดได้ของกลางเป็นจำนวนมากกว่า 90 รายการ ในจำนวนนั้นพบว่ามีกางเกงและผ้าขาวม้าที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากดีเอ็นเอแล้วพบว่าตรงกันกับของ นายอ. ซึ่งเจ้าหน้าทีได้เก็บไว้ในระบบของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ส่วนนายอ.เองปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวข้องและไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด และยังมีกลุ่มบุคคลที่ถูกดำเนินคดีอันเป็นผลจากเหตุการณ์เดียวกันคือเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 อีก 11 คนที่ถูกฟ้องในคดีความมั่นคงด้วยข้อหาใกล้เคียงกันกับของนายอ. แต่พวกเขาถูกฟ้องร้องในศาลจังหวัดนราธิวาส นายอ.เป็นเพียงคนเดียวที่เป็นไทยพุทธและถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชน
3. การตรวจดีเอ็นเอเด็ก
ดังที่กล่าวถึงในข้อ 1 เรื่องการควบคุมตัวเด็กด้วยกฎหมายพิเศษ และมีการตรวจ ดีเอ็นเอเด็กทั้ง 4 คน นอกจากนี้ยังมีการตรวจดีเอ็นเอเด็กในกรณีที่มีการตรวจค้นสำนักงาน BUMI ที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2558 จำนวน 8 คน และล่าสุด มีการตรวจดีเอ็นเออายุเพียง 5 เดือน เพื่อเก็บเป็นตัวอย่างในการพิสูจน์การกระทำผิดของพ่อ
4. การใช้เด็กเป็นโล่
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2558 เวลา 18:20 น มีการตรวจค้นบ้านในซอยมาแล้ว 3 หลัง เจ้าหน้าที่ใส่ชุดสีดำ เป็นชุดคอมมานโด มีโล่ป้องกันตัวเองและอาวุธปืน เจ้าหน้าที่ได้ไปขออนุญาตเจ้าของบ้านเพื่อขอตรวจค้น เมื่อเจ้าของบ้านอนุญาตจึงได้เข้าตรวจหลังแรกเป็นบ้านที่อาศัยเป็นครอบครัว บ้านหลังที่ 2และ 3 เป็นวัยรุ่นที่ทำงานแล้ว หลังที่ 4 เป็นบ้านหลังที่มีนักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามุลนิธิอาศัยอยู่จำนวน 8 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป มีช่วงอายุ 18-23 ปี กำลังเรียนศาสนาในชั้น 8-10 หรือที่เรียกว่าชั้นซานาวีย์ เจ้าหน้าที่มาตรวจในเวลา 18 :00 น มีรถมา 15 คัน เป็นรถกะบะ 4 ประตู สีขาวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมอาวุธปืนยาว และปืนสั้น เจ้าหน้าที่ได้ล้อมที่บ้านประมาณ 30 คน และมีเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งที่กระจายอยู่ทั่วซอย บ้านที่ตรวจค้นเป็นบ้าน 2 ชั้น เจ้าหน้าที่ให้เด็กผู้หญิงที่เรียนชั้นประถมที่อยู่ข้างบ้านมาเรียกให้พวกเราออกไป “แบแบ ตำรวจมา ให้ออกมา “เจ้าหน้าที่ได้ให้เด็กที่เรียนชั้นประถมมาเรียกว่า แบ แบ เปิดประตู ตำรวจมา เมื่อเปิดประตูเจ้าหน้าที่จึงเข้าไปตรวจค้น
ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย
1. เจ้าหน้าที่รัฐควรดำเนินการและแสวงหามาตรการที่เหมาะสมในการปกป้องการละเมิดต่อชีวิตประชาชนโดยเฉพาะเด็ก
2. การปฏิบัติการและการทำงานของเจ้าหน้าที่ควรระมัดระวังและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเด็กโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆโดยเฉพาะในสิทธิและเสรีภาพของเด็กภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย
3 กลุ่มที่ใช้อาวุธทุกฝ่ายจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
หลักคิดและกระทำที่สำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลัก[:]