[:th]CrCF Logo[:]
ศาลจังหวัดเกาะสมุย

จำเลยคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่า และทีมทนายความ รอฟังคำพิพากษาของศาลจ.เกาะสมุย – 24 ธค. 2558

Share

แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน: 21 ธันวาคม 2558

จำเลยคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่าและทีมทนายความรอฟังคำพิพากษาของศาลจังหวัดเกาะสมุย วันที่ 24 ธันวาคม 2558

หากมีข้อที่ต้องการซักถามเพิ่มเติมนอกเหนือจากแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนฉบับนี้ โปรดติดต่อ:

ทีมทนายความอาสาช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสภาทนายความ ซึ่งทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่รับค่าตอบแทน ได้ให้ความช่วยเหลือแก่จำเลยที่เป็นแรงงานขามชาติชาวพม่าสองคน ในการทำหน้าที่ทนายความแก้ต่างให้ในคดีที่ถูกฟ้องว่า ข่มขืน และฆ่านักท่องเที่ยวหญิงชาวอังกฤษและฆ่านักท่องเที่ยวชายชาวอังกฤษ ที่เกาะเต่า เมื่อเดือนกันยายน 2557 พร้อมจำเลย ต่างรอฟังคำพิพากษาของศาลจังหวัดเกาะสมุย

ซึ่งผู้พิพากษานัดคู่ความมาฟังคำพิพากษา ในวันที่ 24 ธันวาคม 2558 เวลา 9.00 น. นับเป็นการทำหน้าที่ในศาลครั้งสุดท้าย หลังจากที่ทีมทนายความไทยจำนวน 7 คน ได้ร่วมกันต่อสู้คดีกันมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปี โดยได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านต่างๆ จากชาวพม่า ออสเตรเลียและอังกฤษ ทั้งในฐานะผู้ช่วย ล่าม และที่ปรึกษา เพื่อให้แน่ใจว่า จำเลยทั้งสองจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งคำให้การของพยานบุคคลในคดีและข้อมูลในการนำสืบ สื่อต่างๆ ได้นำเสนอต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง โดยการสืบพยานสิ้นสุดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2558 รวมพยานบุคคลจำนวน 34 ปาก ใช้เวลารวม 21 วัน พร้อมทั้งมีการนำเสนอพยานเอกสารจำนวนหลายพันหน้า เมื่อเดือนตุลาคม 2558 คาดว่า คำพิพากษาจะมีการอ่านเสร็จสิ้น ในวันที่ 24 ธันวาคม 2558

ฮันน่าห์ วิทเตอร์ริดจ์ (23) และเดวิด มิลเลอร์ (24) ถูกฆาตกรรม เมื่อเช้าวันที่ 15 กันยายน 2557 ที่เกาะเต่า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในอ่าวไทย การสืบสวนเหตุฆาตกรรมเพื่อหาฆาตกรของพนักงานสอบสวนไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งในและต่างประเทศ ในประเด็นเรื่องการเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ และข้อกล่าวหาในเรื่องการทรมานจำเลยทั้งสองคนระหว่างการสืบสวน ความท้าทายที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต้องเผชิญนั้น ทำให้เกิดความสั่นคลอนต่อความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ซอ ลิน และไว เพียว (วิน ซอ ตุน) แรงงานข้ามชาติ อายุ 22 ปี จากรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมาร์ ได้ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หลังจากนั้น จึงมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสองเพิ่มเติมในเรื่องการข่มขืน ฆาตกรรมและลักทรัพย์ ฮันน่าห์ วิเตอร์ริดจ์ และเดวิด มิลเลอร์ ซึ่งในช่วงแรกจำเลยทั้งสองคนให้การรับสารภาพในระหว่างการจับกุมและสอบสวน โดยมีการทำแผนประกอบคำรับสารภาพการฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราในสถานที่เกิดเหตุต่อหน้าสาธารณชน และมีการแสดงในสถานที่ทำการสอบสวน

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 พนักงานอัยการขอศาลสืบพยานล่วงหน้าก่อนฟ้องคดี จำเลยทั้งสองเมื่อเห็นว่าอยู่ในศาล จึงแจ้งแก่ทนายความที่มาจากสภาทนายความว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ภายหลังทนายความได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากจำเลยทั้งสองอีกว่า เหตุที่รับสารภาพเพราะถูกทรมานและทำร้ายร่างกายในระหว่างถูกควบคุมตัวก่อนที่จะถูกนำตัวไปให้พนักงานสอบสวนซักถาม เพื่อให้มีการบันทึกคำรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (Migrant Worker Rights Network – MWRN) และกลุ่มรณรงค์เพื่อปกป้องสิทธิ จึงได้ร้องเรียนต่อสภาทนายความให้ช่วยจัดหาทนายความช่วยเหลือจำเลยทั้งสอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า พวกเขาจะสามารถต่อสู้คดีตามข้อกล่าวหาได้อย่างเต็มที่และได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความอยุติธรรมในคดีที่มีความร้ายแรง ซึ่งมีการถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง

ในการฟ้องคดีนี้ ใช้เวลานานถึงสองเดือน นับแต่ที่มีการจับกุมจำเลยทั้งสอง อันเป็นผลมาจากการที่สื่อมวลชนและนักการทูตให้ความสนใจคดีนี้เป็นอย่างมาก นอกเหนือไปจากการเรียกร้องขอความเป็นธรรมของจำเลยกับครอบครัวและสาธารณชน จนมีการสอบสวนจำเลยทั้งสองเพิ่มเติม โดยต่างยืนยันว่า พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่เต็มใจในการรับสารภาพ อย่างไรก็ตาม พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องอาญาทั้งซอ ลิน และ ไว เพียว หลายข้อหาต่อศาลจังหวัดเกาะสมุย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 หลังจากการนัดตรวจพยานหลักฐานหลายครั้ง ผู้พิพากษาเห็นชอบที่จะให้เวลาที่เพียงพอแก่จำเลยเพื่อเตรียมการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ จึงกำหนดให้มีการพิจารณาคดีเป็นเวลา 21 วัน โดยเริ่มสืบพยานโจทก์ก่อนนัดแรก ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 แต่ต่อมา มีการเพิ่มให้อีก 3 วัน

คำแถลงการณ์ปิดคดีที่มีการยื่นต่อศาลจังหวัดเกาะสมุยเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ได้นำเสนอรายละเอียดและข้อสรุปประเด็นสำคัญในการต่อสู้คดีของฝ่ายจำเลยจากการสืบพยานจำเลย13 ปาก ในศาล เพื่อแสดงให้เห็นว่า มีเหตุที่ควรเชื่อถือพยานจำเลยมากน้อยเพียงใด รวมทั้งนำเสนอการสืบพยานของฝ่ายอัยการด้วย เช่นกัน เพื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของพยานโจทก์ให้ศาลพิจารณา โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

(1) การดำเนินคดีกับจำเลยก่อนฟ้องคดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกระบวนการสอบสวนหลังการจับกุมและแจ้งข้อหาไม่ถูกต้อง มีการสอบสวนในฐานะพยาน แต่กลับมีคำรับสารภาพคดีฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราในคำให้การนั้น โดยไม่มีทนายความหรือบุคคลที่จำเลยไว้ใจร่วมอยู่ในการสอบสวนด้วยและไม่มีการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือการอธิบายลักษณะของข้อหาอันเป็นเหตุในการจับกุมให้พวกเขาฟัง อีกทั้ง ไม่มีการจัดล่ามแปลภาษาและตัวแทนผู้ต้องหาเพื่อปกป้องสิทธิทางกฎหมายให้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และระบุถึงการนำตัวอย่างดีเอ็นเอไปโดยไม่สมัครใจ แล้วจึงเสนอว่า พยานหลักฐานในชั้นนี้ ศาลไม่ควรรับฟัง

(2) คำรับสารภาพที่โจทก์อ้างต่อศาลในชั้นสอบสวน ถูกทำขึ้นโดยไม่สมัครใจ เพราะเหตุที่จำเลยถูกทรมานและข่มขู่จนทำให้เกรงกลัวอันตรายต่อชีวิตและความปลอดภัย โดยมักมีแรงงานขามชาติบนเกาะเต่ารายงานว่า ถูกกระทำทารุณอยู่เสมอ คำสารภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษร แม้มีการลงชื่อไว้ ก็ไม่อาจรับฟังได้ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่ถูกบังคับให้ลงชื่อ โดยไม่ทราบถึงผลที่เกิดขึ้น คำสารภาพหรือการจำลองเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกวิดีโอส่งศาลในคดีนี้ จึงมีขึ้นโดยจำเลยไม่สมัครใจ กระทำไปเพราะถูกข่มขู่ว่าจะมีการใช้ความรุนแรง แล้วจึงเสนอว่า พยานหลักฐานเหล่านี้ ศาลไม่ควรรับฟังและเป็นหลักฐานที่ไม่อาจรับฟังได้

(3) จำเลยไม่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่ใช้ก่อเหตุฆาตกรรม (จอบ) เพราะไม่ปรากฏดีเอ็นเอที่จอบ แต่ปรากฏข้อมูลดีเอ็นเอของบุคคลอื่นแทน

(4) หลักฐานดีเอ็นเอที่อ้างว่า เชื่อมโยงจำเลย พยานวัตถุหรือหลักฐานแวดล้อมทั้งหมดที่สามารถจะยืนยันความผิดจำเลย ขาดความน่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังได้ เพราะกระบวนการจัดเก็บ การทดสอบ หรือการวิเคราะห์ตามหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ เช่น มาตรฐาน ISO 17025 ทำให้หลักฐานนี้ไม่อาจนำมายืนยันความผิดจำเลยโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่า กระทำการข่มขืนชำเราผู้ตาย เพศหญิง หรือฆ่าผู้ตายเพศหญิงและผู้ตายเพศชายได้ ซึ่งรวมทั้งหลักฐานทางวัตถุที่จะเชื่อมโยงจำเลยเข้ากับสถานที่เกิดเหตุ เช่น ก้นบุหรี่ การลักโทรศัพท์มือถือและแว่นกันแดดของผู้ตายเพศชาย รวมถึง “ชายที่กำลังวิ่ง” ที่ถูกจับภาพได้ในกล้องวงจรปิด

(1) สำนวนของโจทก์ขาดหลักฐานชิ้นสำคัญที่จำเป็นในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ รายงานการชันสูตรพลิกศพ และขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในความควบคุม และบันทึกห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดีเอ็นเออย่างละเอียด นอกจากนี้ เสื้อผ้าและผิวตามร่างกายของผู้ตายเพศหญิงซึ่งคาดว่าจะมีร่องรอยดีเอ็นเอที่สำคัญของผู้กระทำผิด ยังคงไม่ถูกตรวจสอบ หรืออาจมีการตรวจสอบ แต่กลับไม่นำมารวมอยู่ในสำนวนคดีของโจทก์หรืออ้างในบัญชีระบุพยาน ซึ่งดูน่าสงสัย ภาพที่ตัดจากกล้องวงจรปิดที่โจทก์นำเสนอ ไม่สมบูรณ์และไม่มีการเสนอหลักฐานรอยพิมพ์ลายนิ้วมือหรือรอยเท้า แต่อย่างใด

บทสรุปของคำแถลงการณ์ปิดคดี จึงเป็นความเห็นของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองเสีย ในวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ด้วยเหตุผลดังกล่าว

93/206 หมู่ 7 ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง สมุทรสาคร ประเทศไทย 74000
อาคาร 18R, ห้อง 24, ซอย มา ตา ลี, การเคหะเขตแหล่ง มิน โม, ตำบลแหล่ง, ย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์
mwrnorg@gmail.com

1. นายนคร ชมพูชาติ (หัวหน้าทีมทนายความจำเลย) nakhonct@gmail.com +66(0)818 473086)
1. นายอานดี้ ฮอลล์ (ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ – MWRN) andyjhall1979@gmail.com +66(0)846 119209)
2. โก เส่ง เต (ประธานเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ – MWRN) kzlinn.sein@gmail.com +66(0)946 792478)