[:th]CrCF Logo[:]

[:th]จดหมายเปิดผนึกจากนักโทษคดีทางความคิดปาตานีและครอบครัว วันสิทธิมนุษยชนสากล[:]

Share

[:th]วันที่ 10 ธันวาคม 2558เรื่อง​​ร้องเรียนการจับกุมโดยพลการจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในชั้นซักถามและการจำกัดสิทธิในการแสดงออกทางความคิดที่แตกต่าง

เรียน​ผู้แทนองค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศและระหว่างปนะเทศ

​​เนื่องในวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนสากล เราในนามผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องขัง จำเลยนักโทษคดีความมั่นคง(ต่อจากนี้ไปขอเรียก : คดีทางความคิด) และครอบครัว เราขอร้องเรียนมายังองค์กรของท่าน ถึงการกะทำจากหน่วยความมั่นคงของรัฐไทยที่มีต่อชาวเอมลายูปาตานี จากกรณีการเสียชีวิตในขณะที่ถูกคุมขังภายใต้กฎหมายพิเศษของนายอับดุลลายิ ดอเลาะ อายุ 42 ปี ชาวอำเภอยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 58 ที่ศูนย์ซักถาม ค่ายอิงยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อคนในพื้นที่ และเกิดข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยความมั่นคงรัฐไทย

​​ย่างเข้าปีที่ 12 ของเหตุการณ์ความรุนแรงในปาตานี ที่มีต้นเหตุจากการไม่ยอมรับในความต่างในหลายๆ ด้าน และความพยายามกลมกลืนทางด้านชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ของรัฐไทยที่ผ่านๆ มา ปัจจุบันผลกระทบเริ่มเห็นผลชัดเจนต่อทรัพย์สิน และชีวิต โดยเฉพาะจากกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลลายิ เราในฐานะที่ต้องตกเป็นผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องขัง จำเลย นักโทษคดีทางความคิด และครอบครัว ขอยื่นหนังสือฉบับนี้ เพื่อเรียกร้องมายังองค์กรของท่านให้พิจารณาดำเนินการต่อรัฐบาลไทย ดังนี้ 

1. ชั้นจับกุม สอบสวน ควบคุมตัว

​​ในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยแต่ละครั้งของกองกำลังผสมหน่วยความมั่นคงไทยต่อชาวเมอลายูปาตานีเป็นไปอย่างมิชอบธรรม และจับกุมโดยพลการ ตลอดจนนำไปสู่การซ้อมทรมาน การบังคับ และการใช้สารเคมีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล และการรับสารภาพจากผู้ต้องสงสัย จนเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย และระบบประสาท ซึ่งเกิดมาแล้วหลายราย แต่ไม่ได้มีการฟ้องร้องต่อการกระทำเหล่านี้ต่อเจ้าหน้าที่รัฐไทยแต่ประการใด  

2. ชั้นศาล

​​ในกระบวนการยุติธรรม การฟ้องร้องของเจ้าหน้าที่ต่อชาวเมอลายูปาตานี หลายกรณีขาดพยานหลักฐานที่ชัดเจน ทำให้การไต่สวนคดีในชั้นศาลเป็นการเสียเวลาต่อผู้ต้องหา เนื่องจากไม่สามารถประกันตัวได้ และบางกรณี เจ้าหน้าที่กล่าวว่า “กว่าจะจับตัวมันได้ เหนื่อยมาก แม้ไม่มีหลักฐาน แต่ก็ขอให้ขังมันไว้ก่อน” ผู้ต้องหาหรือจำเลย ต้องใช้ชีวิตในเรือนจำเป็นเวลาหลายปีกว่าจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ 

​​และหลังพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้แล้ว หรือถึงเวลาที่จะได้รับอิสรภาพ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็แจ้งว่ายังมีคดีที่ต้องฟ้องอีกหลายคดี เป็นการอายัตคดีเพิ่มเติม การกระทำเช่นนี้ เราถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐไทย

​​ขอให้องค์กรระหว่างประเทศ ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ปาตานี ติดตามและประเมินการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักกฎหมายสากล เพื่อลดการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนเป็นการลดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การสร้างความขัดแย้งอันรุนแรงระยะยาว

3. สิทธิการแสดงออกทางความคิด

​​ประชาชนชาวเมอลายูปาตานีมีวัฒนธรรม ภาษา ประเพณีที่ต่างจากผู้ปกครองรัฐไทย ย่อมมีผลต่อความคิด แสดงความต้องการที่แตกต่างกัน การแสดงออกทางความคิดของชาวเมอลายูปาตานีต่อรูปแบบการเมืองการปกครองของรัฐไทยต่อคนในพื้นที่ การเสนอรูปแบบที่เหมาะสมต่อคนในพื้นที และการแสดงออกทางวัฒนธรรม ภาษา อัตลักษณ์ความเป็นเมอลายูปาตานี ควรให้สิทธิและเสรีภาพเต็มที่ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของไทย และเราย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเต็มที่ที่จะแสดงออกทางความคิดตามประเด็นเหล่านี้ภายใต้กฎหมายากล 

​​เราในนามผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องขัง จำเลย และครอบครัว นักโทษทางความคิดปาตานี ขอยื่นหนังสือฉบับนี้เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากลต่อองค์กรระหว่างประเทศ ให้สร้างความตระหนักในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐผู้ปกครองต่อผู้ใต้การปกครอง และให้องค์กรระหว่างประเทศเฝ้าติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่รัฐไทยได้เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาต่างๆ อย่าเคร่งครัด และให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน และเหมาะสมตามความต้องการของคนในพื้นที่เมอลายูปาตานี

นักโทษคดีทางความคิดปาตานีและครอบครัว

นางสาวรอมือละห์ แซเยะ ครอบครัวผู้ต้องขังคดีความมั่นคงปาตานีชายแดนใต้ ผู้บันทึก[:]

TAG

RELATED ARTICLES