[:th]CrCF Logo[:]
เด็กชายแดนใต้

โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ

Share

รายงานเกี่ยวกับการใช้ทหารเด็กในพื้นที่จชต.ที่เกี่ยวข้อง

  1. รายงานการใช้ทหารเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้ง JPF_Thailand_Report_Thai
  2. southern-thailand-report-thai-final-compressed-3-print

มีทหารเด็กในปาตานี จริงหรือไม่

โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องสิทธิเด็กเรื่องพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ “Optional Protocol on the Involvement of Children in Armed Conflict”
ห้องประชุม DSW มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

หลักการและเหตุผล

ในวันสิทธิเด็กสากลทั่วโลกจะมีการจัดกิจกรรมกันอย่างหลากหลายในเพื่อฉลองกันในหลายพื้นที่ รวมทั้งในประเทศไทยและในปีนี้มีการจัดงานวันสิทธิเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ด้วยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เด็กในจังหวัดชายแดนใต้ก็เหมือนกับเด็กในอีกหลายๆพื้นที่ในโลกที่ยังคงเผชิญกับการสู้รบทางอาวุธอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปีนี้พ.ศ. 2558 ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนใต้กำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 12

นับตั้งแต่ในเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2547 กลุ่มติดอาวุธได้โจมตีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงและเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นพลเรือน ประชาชนชาวพุทธ และชาวมุสลิมในท้องถิ่นที่สงสัยว่าให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ จากความขัดแย้งนี้จนถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 6,100 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 11,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นพลเรือนซึ่งรวมไปถึงผู้หญิงและเด็ก เด็กๆ ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอื่นๆ อีกมากมาย กว่า 10 ปีที่ความตึงเครียดทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และศาสนาระหว่างชาวมลายูมุสลิมซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในพื้นที่กับรัฐไทยได้ฝังรากลึกมานานนับศตวรรษประทุเป็นความรุนแรงทางอาวุธ ความรุนแรงนี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้ทุเลาเบาบางลงแต่ดูเหมือนกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น

ในขณะเดียวกันวุธ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจและสี่ยงที่มีต่อเด็กในพื้นที่ความขัดแย้งที่จะถูกชักชวนให้เข้าร่วมการใรัฐบาลไทยก็เป็นรัฐภาคีในพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาสิทธิเด็กว่าด้วยเรื่องเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือที่เรียกว่า the Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the involvement of children in armed conflict (OPAC) พิธีสารฯต้องการให้รัฐคุ้มครองไม่ให้เด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งตกอยู่ในอันตรายใดใด รวมทั้งสร้างมาตรการป้องกันทั้งทางนโยบายและกฎหมายให้สอดคล้องกับกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎหมายสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาสิทธิเด็ก ความล้มเหลวที่จะปกป้องเด็กจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธไม่ใช่แค่เพียงการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในทางกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นการทอดทิ้งให้เด็กในจังหวัดชายแดนใต้ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงโดยลำพัง

ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังว่ามีการใช้ทหารเด็กในการเข้าร่วมปฏิบัติการกับกลุ่มติดอาวุธมากน้อยเพียงใด รัฐบาลปฏิเสธว่าไม่มีการใช้ทหารเด็กทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐและกองกำลังติดอาวุธอื่นๆ องค์การสหประชาชาติเองก็ยังไม่มีแผนการที่ครอบคลุมถึงการแก้ไขปัญหานี้ในประเทศไทย ทั้งๆที่การรายงานเรื่องการใช้ทหารเด็กและการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ได้รายงานในการประชุมประจำปีของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเรื่องเด็กและสถานการณ์ความขัดแย้งแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 และในปีพ.ศ. 2554

ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงในพื้นที่จะตระหนักดีถึงสิ่งนี้ อันที่จริงแล้ว รัฐบาลไทยปฏิเสธมาโดยตลอดว่าสถานการณ์ในภาคใต้ถือเป็นสถานการณ์ของความขัดแย้งด้วยอาวุธตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งขัดแย้งกับสถานการณ์ในพื้นที่ซึ่งความขัดแย้งด้วยอาวุธที่ยืดเยื้อระหว่างรัฐไทยและกลุ่มกองกำลังติดอาวุธนับว่าเป็นสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยอาวุธที่มิใช่สถานการณ์ระหว่างประเทศ (non-international armed conflict) แต่เด็กเป็นอนาคตของชาติ การที่จะสร้างอนาคตของชาติให้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศได้นั้นยุทธศาสตร์การแก้ไขผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดกับเด็กในพื้นที่ความขัดแย้งอย่างในจังหวัดชายแดนใต้ต้องเป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วนที่ครอบคลุมหลายมิติที่จะยุติ ห้าม และป้องกันไม่ให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธใดใดอย่างเด็ดขาด

แม้ว่าสถานการณ์ความไม่สงบจะเป็นอุปสรรคในการทำงานแต่ภาคประชาสังคมยังคงทำงานเพื่อตรวจสอบติดตามการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กโดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายพิเศษกับเด็กเยาวชน อย่างไรก็ตามภาคประชาสังคมยังคงต้องการการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศในการให้ทุนสนับสนุนการทำงานเพื่อตรวจตรา รายงาน สร้างความเข้าใจให้สังคมในเรื่องสิทธิเด็ก รวมทั้งการทำความเข้าใจเรื่องประเด็นความเสี่ยงที่มีต่อเด็กในพื้นที่ความขัดแย้งที่จะถูกชักชวนให้เข้าร่วมการใช้อาวุธ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจและชายด์ โซวเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลได้จัดเวทีให้ความรู้เรื่องโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องสิทธิเด็กเรื่องพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เน้นพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ ในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ห้องประชุม Deep South Watch มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี เวลา 9.00-15.00 น.

ผู้เข้าร่วม

  1. ผู้ปฎิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน
  2. นักกิจกรรมด้านเด็กและเยาวชน
  3. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและที่สนใจ
  4. สื่อมวลชน

ผู้ประสานงานโครงการ

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Tel. 086-7093000

อัญชนา หีมมีนะ กลุ่มด้วยใจ Tel. 081-8098609

องค์กรร่วมจัด

  • กลุ่มด้วยใจ ก่อตั้งขึ้นปี 2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการทรมาน กลุ่มด้วยใจทำงานกับภาคส่วนอื่นทั้งในและระดับประเทศ และองค์กรอื่นๆในระดับท้องถิ่น ทั้งการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนและสำหรับสิทธิเด็กในจังหวัดชายแดนใต้
  • มูลนิธิผสานวัฒนธรรมก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยทำงานเกี่ยวกับความ ยุติธรรมและการป้องกัน ส่งเสริม และตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีหลักปรัชญาและกิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้าง สิทธิมนุษยชนให้เข้มแข็งและปฏิรูประบบยุติธรรมอย่างยั่งยืนทุกภาคส่วนของสังคม โดยร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง ภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ เน้นให้ความสำคัญกับคนชายขอบ เช่น ชนกลุ่มน้อย คนไร้รัฐ แรงงานต่างด้าว และผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง
  • ชายด์ โซวเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Child Soldiers International) ชื่อเดิม คือพันธมิตรเพื่อยุติการใช้ทหารเด็ก (Coalition to Stop the use of Child Soldiers) ชายด์ โซวเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นองค์กรสากลเพื่อการวิจัย และสนับสนุนสิทธิมนุษยชน โดยมีเป้าหมายที่จะหยุดยั้งและป้องกันการเกณฑ์เด็กเป็นทหารและใช้เด็กเข้าร่วมสงคราม (เด็กชายและเด็กหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี) รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมกลุ่มหรือกองกำลังติดอาวุธ องค์กรมีจุดประสงค์เพื่อการปลดปล่อยทหารเด็กจากกลุ่มหรือกองกำลังติดอาวุธ และช่วยให้เด็กเหล่านี้สามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบพลเรือนตามเดิม รวมถึงเอาผิดผู้ที่เกณฑ์และใช้เด็กทางทหาร ชายด์ โซวเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลสนันสนุนการยึดมั่นต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเรื่องความเกี่ยวพันของเด็ก ในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ (OPAC) ในระดับสากล สัญลักษณ์ของชายด์ โซวเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

กำหนดการ กิจกรรม การเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องสิทธิเด็ก

“Optional Protocol on the Involvement of Children in Armed Conflict” พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ

ห้องประชุม DSW มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558

08:30 – 09:00 น ลงทะเบียน
09:00 – 09:15 กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและแนะนำวิทยากรจาก Child soldier international
09:15 – 10:45 พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยกำลังอาวุธ
10:45 – 11:00 coffee break
11:00 – 12:00 บทบาท ของ Child soldier international และ ประสบการณ์จากต่างประเทศเรื่อง ทหารเด็ก
12:00 – 13:30 รับประทานอาหารและปฏิบัติศาสนกิจ
13:30 – 14:45 แลกเปลี่ยน มีทหารเด็กในปาตานี จริงหรือไม่14:45 – 15:00 ถามตอบ และ ปิดการประชุม 

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [143.23 KB]