มูลนิธิผสานวัฒนธรรมริเริ่มโครงการ “ส่งเสริมความเข็มแข็งภาคประชาชนในเรื่องสิทธิที่ดินและป่าไม้” ขึ้นโดยดำเนินงานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย คือศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR), โครงการสถานะบุคคล และสิทธิพลเมือง องค์การแพลนประเทศไทย และโครงการพัฒนาพื้นที่สูง (UHDP) สืบเนื่องจากปัญหาการประกาศเขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ ทำให้กลุ่มชนเผ่าพ้นเมือง และชาติพันธุ์จำนวนมากในภาคเหนือของไทย กลายเป็นผู้ละเมิดกฎหมาย และต้องเผชิญกับการสูญเสียที่ดิน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเนื่องจากกฎหมายป่าไม้ และที่ดินซึ่งมีความซับซ้อนของไทย นับเป็นปัญหาท้าทายที่สาคัญต่อชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์ ในการดำรงชีวิตตามจารีตประเพณี ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ
ซึ่งจะส่งผลให้มีการคุ้มครองในเบื้องต้นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรในท้องถิ่น อาทิ การจัดเวทีเสริมสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้แก่ชุมชน โดยศูนย์พิทักษ์ และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถจัดการกับคดีความได้ด้วยตนเองในอนาคต และเพื่อลดความขัดแย้ง เนื่องจากข้อพิพาทในที่ดินระหว่างการจัดการของรัฐกับการจัดการของชุมชนในลักษณะที่มีความสร้างสรรค์มากขึ้นภายใต้ระเบียบที่เข้มงวด และนโยบายของทหาร และการปฏิบัติที่เป็นอยู่
เรื่องและภาพโดย: ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมความเข็มแข็งภาคประชาชนในเรื่องสิทธิที่ดินและป่าไม้” ขึ้นโดยดำเนินงานร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย คือ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR)
กรณีศึกษา: ชะตากรรมพี่น้องดาระอั้งที่บ้านนอแล ตะเข็บชายแดนไทย-พม่า
บทสัมภาษณ์ แนวทางการทำงาน
– พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ: ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม
– นราพร สงปรางค์: ทนายของศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (CPCR)
– สุมิตร วอพะพอ: ผู้จัดการโครงการสถานะบุคคลและสิทธิพลเมือง องค์การแพลนประเทศไทย
– อัตลักษณ์ จิตรจริยวัตร: เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูง ( UHDP )