[:th]CrCF Logo[:]

ความทรงจำ ‘ชุมชนตลาดควาย’ ชีวิตเรียบง่ายในป่าดงใหญ่ ก่อนถูกบังคับไล่รื้อ-สิ้นไร้หนทางโดย ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Share

imageimage3

ความทรงจำ ‘ชุมชนตลาดควาย’ ชีวิตเรียบง่ายในป่าดงใหญ่ ก่อนถูกบังคับไล่รื้อ-สิ้นไร้หนทาง

โดย  ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

จากกรณีมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เสนอรายงานอย่างต่อเนื่องในประเด็นความเดือดร้อนของราษฎรจากป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์ ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกผลักดันให้ออกจากพื้นที่ป่าซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2557 และ 66/2557

ล่าสุด ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม นำเสนอรายงานเพิ่มเติม ว่าด้วยบทบันทึกข้อเท็จจริงจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ราษฎรป่าดงใหญ่ที่มีชื่อชุมชนว่าบ้าน “ตลาดควาย” ซึ่งภายหลังถูกไล่รื้อจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 64/2557 และ 66/2557 ในปี 2557 ราษฎรชุมชนบ้านตลาดควายกลุ่มนี้ ตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องแยกกันออกเป็นสองกลุ่ม ส่วนหนึ่งไปอาศัยอยู่สวนยางพารา ทางเข้าหมู่บ้านซับคะนิงจำนวน 19 ครัวเรือน บางส่วนอาศัยอยู่ที่พักสงฆ์นิมิตประทานพร และอีกส่วนหนึ่งต้องไปตั้งเพิงขายของบริเวณทางหลวงโนนดินแดง–ตาพระยาและอาศัยเพิงดังกล่าวเป็นที่พักพิง ก่อนทั่จจุบัน ชุมชนตลาดควายกลุ่มที่อยู่อาศัยในเพิงริมถนนทางหลวงได้ตัดสินใจขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินรายหนึ่งตั้งเพิงพักอาศัยในที่ดินสปก. เป็นการชั่วคราว ทว่า ยังมีราษฎรจากหมู่บ้านตลาดควายในป่าดงใหญ่ที่ถูกบังคับไล่รื้ออีกอย่างน้อย 20 กว่าครอบครัวที่ยังคงรอความช่วยเหลือหน่วยงานรัฐเพื่อสิทธิในการอยู่อาศัยที่มั่นคง ซึ่งถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พวกเขาพึงได้รับในฐานะราษฎรไทย

…บางส่วนจากบันทึกข้อเท็จจริง…

ราษฎรรายหนึ่งกล่าวว่า “ในวันที่เจ้าหน้าที่มาไล่ เจ้าหน้าที่เขาบอกว่า ไม่ต้องหว่านกล้าแล้ว ไม่ต้องทำ คือช่วงนั้น ตามปกติแล้วเป็นช่วงหว่านข้าว แต่เจ้าหน้าที่เขาบอกไม่ให้หว่านเราก็เชื่อ เพราะเขาบอกว่าถ้าใครไม่เชื่อ เขาจะยึดรถ แล้วก็มีคนโดนยึดรถไปด้วยจริงๆ  เพราะเขาไม่รู้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ ไม่มีใครรู้กฎหมายหรอก เขาพูดอะไรก็กลัว ก็เชื่อเขาหมด”

ราษฎรรายหนึ่งกล่าวว่า “เขาให้เรารื้อบ้านเองถ้ารื้อไม่ทัน เจ้าหน้าที่เขาก็จะรื้อ แต่ของครอบครัวเรารื้อทัน คือรื้อในวันที่17 มิ.ย.2557 พอเขาให้ชาวบ้านรื้อเอง ภายในวันที่17ด้วยความที่เราไม่รู้กฎหมาย เราก็รีบรื้อเลยสิ กลัวเขาจะจับ และเขามาแต่ละครั้งเขาก็ถือปืนมา ไม่มีลักษณะประนีประนอม ความรู้สึกตอนที่ต้องรื้อบ้านของเราเอง เราเสียใจมาก เพราะบ้านนี้แม้บางคนเห็นอาจจะดูว่าเป็นแค่เพิงพัก แต่เราก็อยู่มาตลอดในป่าดงใหญ่ มีที่คนละ 1 งาน บ้านเราไม่ได้สร้างใหญ่ แค่พอหลบฝนหลบแดด ไร่นาเราก็เช่าเขา ตอนนี้ก็ไม่มีอะไรเหลือแล้ว”

บางรายกล่าวว่า สิ่งที่นำติดตัวมาได้ ในวันที่ถูกบังคับไล่รื้อ คือเครื่องครัวเล็กๆ น้อยๆ

ทั้งนี้ ราษฎรบ้านตลาดควาย ระบุตรงกันว่า วันที่มีเจ้าหน้าที่ทหารมาไล่นั้น เจ้าหน้าที่มาตั้งแต่เวลาประมาณ 07:00 น. เมื่อมาถึง เจ้าหน้าที่ทำการประกาศและสั่งให้ชาวบ้านช่วยกันรื้อสิ่งปลูกสร้างและเก็บข้าวของต่างๆ

ในวันบังคับไล่รื้อ ที่เริ่มตั้งแต่ 07:00 น. กว่าที่ราษฎรคนสุดท้ายจะรื้อสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายข้าวของออกจากป่าดงใหญ่ ก็เป็นเวลาใกล้ค่ำ ตะวันใกล้ลับขอบฟ้า

“คนสุดท้ายที่ออกจากป่า คือยายสาที่อยู่ อ.พิบูลมังสาหาร ที่จ.อุบลราชธานี วันนั้น ใกล้ค่ำแล้ว  ยายสายังไม่ออกมาจากป่าเพราะยายแกหารถไม่ได้ เพราะยายสาไม่มีเงินไปเหมารถที่ไหน พวกเราอยู่ข้างนอกก็เป็นห่วง เราจะเข้าไปดู ทหารเขาก็ไม่ให้เข้า ตอนแรกทหารบอกจะเอารถมาช่วย ยายสา แล้วจะพาแกไปส่งบ้านที่พิบูลมังสาหารที่อุบลฯ นู่น แต่แล้วเขาก็ให้ยายรอ จนถึงใกล้ค่ำ เราก็ทั้งห่วงยายสา ทั้งห่วงตัวเอง สรุปก็มีคนใจบุญไปช่วย แล้วเขาก็พาแกไปส่งถึงบ้านที่พิบูลมังสาหาร ตอนนี้เราก็ไม่รู้ข่าวคราวว่ายายสาเป็นอย่างไร แต่จำได้ว่ายายสาแกขอเสาป้ายหมู่บ้าน ที่เขียนว่า “หมู่บ้านตลาดควาย” ยายสาแกบอกว่ายังเอาไปทำประโยชน์ได้

หลายคนกล่าวตรงกันว่าไม่รู้ชะตากรรมยายสา ว่าตอนนี้เป็นอย่างไร ยายถูกนำไปส่งถึงบ้านที่พิบูลมังสาหาร ที่ จ.อุบลราชธานีจริงหรือไม่ และอยู่ที่นั่นเป็นอย่างไร ป้ายหมู่บ้านชุมชนตลาดควายนั้น เขาให้ยายนำติดตัวไปหรือไม่ ยายได้นำไปใช้ประโยชน์ไหม ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดีใจกับยายแต่บางคนก็เชื่อว่า ยายอาจต้องการป้ายดังกล่าวติดตัวไปเพื่อรำลึกถึงความทรงจำที่เคยอยู่ร่วมกันที่หมู่บ้านตลาดควายในผืนป่าที่มีชื่อว่า “ป่าดงใหญ่” ที่พวกเขาใช้ชีวิตร่วมกันมานานเกือบสิบปี

ชาวบ้านกลุ่มตลาดควายที่ปักหลักกันที่บ้านซับคะนิง บอกว่าพวกเขาปักหลักที่นี่ตั้งแต่วันที่ถูกไล่ออกจากป่าดงใหญ่ โดยที่ป่ายางพาราที่บ้านซับคะนิงแห่งนี้นี่ อยู่ห่างจากบ้านตลาดควายในป่าดงใหญ่ประมาณ 7 ก.ม. แต่สำหรับยายสา ที่ถูกผลักดันกลับภูมิลำเนาที่ อ.พิบูลมังสาหาร ต้องจากไปไกลกว่าที่ที่พวกเขาอยู่ในตอนนี้มากนัก

นอกจากชะตากรรมที่น่ากังขาของยายสาแล้ว ราษฎรหลายรายยังระบุด้วยว่า ในเหตุการณ์ที่ถูกบังคับไล่รื้อออกจากบ้านตลาดควายในป่าดงใหญ่ ในเดือน มิ.ย.2557

อ่านต่อ รายงานฉบับเต็ม 15 หน้า รายงานข้อเท็จจริง ตลาดควาย

TAG

RELATED ARTICLES